Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9594
Title: การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้แนวคิดหมวกคิดหกใบของเดอโบโน
Other Titles: A development of a program for enhancing critical thinking ability for prathom suksa six stuents by using de Bono's six thinking hats approach
Authors: ประภาศรี รอดสมจิตร์
Advisors: จีระพันธุ์ พูลพัฒน์
อลิศรา ชูชาติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Cheerapan.B@Chula.ac.th
Alisara.C@chula.ac.th
Subjects: ความคิดอย่างมีวิจารณญาณ
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: พัฒนาโปรแกรมส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้แนวคิดหมวกคิดหกใบของเดอ โบโน การดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การศึกษาขั้นมูลพื้นฐาน 2) การสร้างโปรแกรมส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 3) การทดลองใช้โปรแกรม 4) การปรับปรุงโปรแกรม ตัวอย่างประชากรคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2542 โรงเรียนกฤษณา จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 30 คน ข้อมูลที่ได้จากการดำเนินการวิจัยในขั้นตอนที่ 3 นำมาวิเคราะห์โดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการทดลองใช้โปรแกรมพบว่า 1. ค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถ ในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนหลังเข้าร่วมโปรแกรม สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2.ค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนหลังเข้าร่วมโปรแกรม สูงกว่าเกณฑ์การประเมินหลังเข้าร่วมโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3.นักเรียนที่เข้าร่วมโปรแกรมบางส่วน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมในโปรแกรมอยู่ในระดับเหมาะสมปานกลาง และบางส่วนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมในโปรแกรม อยู่ในระดับเหมาะสมมาก ข้อมูลที่ได้จากการดำเนินการวิจัยในขั้นตอนที่ 3 นำมาปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องได้ เป็นโปรแกรมส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้แนวคิดหมวกคิดหกใบของเดอ โบโน
Other Abstract: To develop a program for enhancing critical thinking ability for prathom suksa six students by using De Bono's six thinking hats approach. Four stages of a program in this study were : 1) to study baseline date, 2) to develop a program for enhancing critical thinking ability, 3) to try out a program, and 4) to improve a program. The subjects were 30 students of prathom suksa six in the academic year 1999 of Krissana school, Changwat suphanburi. The data from the third stage of this study were analyzed by using arithmetic mean, standard deviation and t-test. The findings were as follows: 1. The post-test arithmetic mean score of the critical thinking ability of the students participated in the program was higher than the pre-test at the .01 level of significance. 2. The post-test arithmetic mean score of the critical thinking ability of the students participated in the program was higher than the stipulated criterion score at the .01 level of significance. 3. Some students' perceived that program's arrangement was appropriate at the moderately level and some students' perceived that program's arrangement was appropriate at the high level. The data abtained from the third stage of the study were used to correct the deficiency of the program in order to get the completed program for enhancing critical thinking ability for prathom suksa six students by using De Bono's six thinking hats approach.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประถมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9594
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1999.405
ISBN: 9743340491
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1999.405
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Prapasri_Ra_front.pdf765.15 kBAdobe PDFView/Open
Prapasri_Ra_ch1.pdf770.69 kBAdobe PDFView/Open
Prapasri_Ra_ch2.pdf952.54 kBAdobe PDFView/Open
Prapasri_Ra_ch3.pdf806.53 kBAdobe PDFView/Open
Prapasri_Ra_ch4.pdf724.46 kBAdobe PDFView/Open
Prapasri_Ra_ch5.pdf821.12 kBAdobe PDFView/Open
Prapasri_Ra_back.pdf1.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.