Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9603
Title: | ความเป็นเมืองกับการเปิดรับสื่อมวลชน : ศึกษาเฉพาะกรณีประชาชนในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดลำปาง |
Other Titles: | Urbanization and mass media exposure : a case study of the people in Lampang Municipal, Lampang province |
Authors: | ชลลดา วงศ์วิชัย |
Advisors: | เสถียร เชยประทับ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Satien.C@Chula.ac.th |
Subjects: | สื่อมวลชน การเกิดเป็นเมือง สื่อมวลชนกับการพัฒนาชนบท การพัฒนาประเทศ เมือง -- การเจริญเติบโต |
Issue Date: | 2526 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นเมืองกับการเปิดรับสื่อมวลชน ซึ่งทำการศึกษาหัวหน้าครัวเรือนในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดลำปาง โดยทำการสุ่มตัวอย่างมาศึกษาจำนวน 191 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ (Percentage) ผลต่างของคะแนนเฉลี่ย (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way analysis of variance) ซึ่งประมวลผลโดยใช้คอมพิวเตอร์ในโปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ (Statistical Package for the Social Science = SPSS) ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตที่มีความเป็นเมืองมากกว่า ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในเรื่องการเปิดรับสื่อมวลชน กับผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตที่มีความเป็นเมืองน้อยกว่า 2. ผู้ที่มีระดับการศึกษา อาชีพและรายได้แตกต่างกัน มีการเปิดรับสื่อมวลชนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3. ผู้ที่มีการเลื่อนชั้นทางสังคม และผู้ที่อาศัยอยู่ในแบบของครอบครัวที่แตกต่างกัน ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในเรื่องการเปิดรับสื่อมวลชน 4. ผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตที่มีความเป็นเมืองมากกว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในเรื่องการเปิดรับข่าวจากสื่อหนังสือพิมพ์กับผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตที่มีความเป็นเมืองน้อยกว่า 5. 5. ผู้ที่มีระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้แตกต่างกัน มีการเปิดรับข่าวหนักจากสื่อหนังสือพิมพ์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 6. ผู้ที่มีการเลื่อนชั้นทางสังคม และผู้ที่อาศัยอยู่ในแบบของครอบครัวที่แตกต่างกัน ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในเรื่องการเปิดรับข่าวหนักจากสื่อหนังสือพิมพ์ |
Other Abstract: | The purpose of this study was to examine the relationship of urbanization and the mass media exposure of the people in Lampang Municipal, Lampang province. One hundred and ninety-one heads of the families were systematically selected. Questionnaires administered to all the subjects were used to collect the data for this study. Percentage, t-test and one-way analysis of variance were employed to analyze the data. Data analysis was processed through Statistical Package for the Social Sciences (SPSS). The results of this study indicated that: 1. The people who resided in the more urbanized area had no statistically significant difference in mass media exposure from those residing in the less urbanized area. 2. People with different educational attainments, occupations and incomes were statistically significant different from one another in terms of mass media exposure. 3. People with different social mobilities and types of family were not statistically significant different from one another in terms of mass media exposure. 4. The people who resided in the more urbanized area were not statistically different from those residing in the less urbanized area in terms of exposure to hard news in the newspapers. 5. People with different educational attainments, occupations and incomes were statistically significant different from one another in terms of exposure to hard news in the newspapers. 6. people with different social mobilities and types of family were not statistically significant different from one another in terms of exposure to hard news in the newspapers. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การประชาสัมพันธ์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9603 |
ISBN: | 9745627607 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chollada.pdf | 6.45 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.