Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9606
Title: ผลของการฝึกสร้างแผนผังทางปัญญาที่มีต่อความเข้าใจและความคงทน ของความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
Other Titles: Effects of mind mapping training on English reading comprehension and retention of mathayom suksa five students
Authors: กรแก้ว แก้วคงเมือง
Advisors: ดิเรก ศรีสุโข
เกษมศักดิ์ ภูมิศรีแก้ว
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Derek.s@chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: แผนผังทางปัญญา
การอ่าน
ความเข้าใจในการอ่าน
ภาษาอังกฤษ -- การอ่าน
การอ่านขั้นมัธยมศึกษา
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาผลของการฝึกสร้างแผนผังทางปัญญาที่มีต่อความเข้าใจ และความคงทนของความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนมัธยมวัดสิตาราม จำนวนทั้งหมด 52 คน สุ่มออกเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 24 คน และกลุ่มควบคุมจำนวน 28 คน ใช้วิธีการสุ่มโดยการจับฉลาก ในระยะการทดลองนักเรียนกลุ่มทดลอง ได้รับการฝึกสร้างแผนผังทางปัญญาจำนวน 12 กิจกรรม ส่วนนักเรียนกลุ่มควบคุมได้รับกิจกรรมเสริมความรู้จำนวน 12 กิจกรรม ผู้วิจัยวัดความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษ ของนักเรียนกุล่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่มด้วยแบบวัดความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษ ในระยะก่อนทดลองและหลังทดลอง นอกจกานี้ผู้วิจัยได้วัดความคงทน ของความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่ม ด้วยแบบสอบวัดความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษชุดเดิม แต่มีการสลับข้อคำถามและตัวเลือกใหม่โดยเว้นระยะห่าง จากการทดสอบหลังการทดลองใช้เป็นเวลา 10 วัน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติทดสอบที (t-test) ทั้งแบบสองกลุ่มเป็นอิสระต่อกันและแบบสองกลุ่ม ไม่เป็นอิสระต่อกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษ หลังการทดลองสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษ หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักเรียนกลุ่มทดลองและนักเรียนกลุ่มควบคุมมีคะแนนความคงทน ของความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษไม่แตกต่างกัน
Other Abstract: To study the effects of mind mapping training on English reading comprehension and retention of Mathayom suksa five stduents. The subjects were 52 Mathayom suksa five students in the academic year of 2000 from Wat Dusittaram school. All 52 subjects were randomly assigned into experiment group (24 subjects) and control group (28 subjects). The subjects in experiment recived the mind mapping training for 12 activities, while the subjects in cosntrol group did not receive the mind mapping training but received other 12 activities instead. All the subjects were tested by English reading comprehension test for pretest and posttest. After the posttest had passed for 10 days, all subjects were tested again for the retention scores by English reading comprehension test with the new form. All the scores obtained : pretest, posttest and test after posttest, were analyzed by using both independent t-test and dependent t-test at .05 significant level. The results were as follows: 1. The subjects who received the Mind mapping training had higher posttest scores for the English reading comprehension test than the subjects who did not receive the mind mapping training at .05 significant level 2. The subjects who recieved the mind mapping training had higher posttest scores than pretest scores for the English reading comprehension test at .05 significant level. 3. The subjects who received the mind mapping training and the subjects who did not receive the mind mapping training did not have differing retention scores for the English reading comprehension test
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9606
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2001.579
ISBN: 9741705166
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2001.579
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kornkaew.pdf5.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.