Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9629
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorณเดโช บุญธนะสิน-
dc.contributor.authorยวดฤทธิ์ เธียรตระวัน-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2009-08-05T03:05:15Z-
dc.date.available2009-08-05T03:05:15Z-
dc.date.issued2540-
dc.identifier.isbn9746371762-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9629-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540en
dc.description.abstractเงินทุนจากต่างประเทศเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อประเทศไทย เพื่อจุนการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดที่ทวีสูงขึ้น แต่เนื่องจากระบบอัตราแลกเปลี่ยนในช่วง 1985-1996 ยังคงเป็นระบบที่ผูกค่าเงินบาทไว้กับตะกร้าเงิน เป็นผลให้ค่าเงินบาทค่อนข้างคงที่ ดังนั้นในช่วงที่มีเงินทุนไหลเข้ามามาก จึงส่งผลต่อทั้งประสิทธิผลของนโยบายการเงิน ในการควบคุมระดับปริมาณเงินภายในประเทศ และต่อการแข็งตัวของค่าเงินบาทที่แท้จริง ซึ่งจะส่งผลกระทบย้อนกลับไปทำให้เงินทุนที่ไหลเข้ามา โดยเฉพาะเงินทุนระยะสั้น ที่ใช้เก็งกำไรอัตราแลกเปลี่ยนและ หาประโยชน์จากส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ย เกิดความผันผวนมากยิ่งขึ้น รวมทั้งอาจทำให้เงินทุนระยะยาวเกิดการชะลอตัวลงได้ เนื่องจากจะเกิดการคาดการณ์ว่าค่าเงินบาทอาจจะต้องลดลงในอนาคต วิทยานิพนธ์นี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีส่วนกำหนด การเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศของไทย ระดับของการทำ Sterilization รวมทั้งผลกระทบของเงินทุนเคลื่อนย้ายที่มีต่อประสิทธิผล ของการดำเนินนโยบายการเงิน และต่ออัตราแลกเปลี่ยนที่แท้จริงของไทยในช่วง 1985-1995 โดยอาศัยแบบจำลองการเคลื่อนย้ายเงินทุนของ Maxwell J. Fry จากการประมาณด้วยวิธี TSLS พบว่า การไหลเข้าของเงินทุนระยะสั้นจะลดประสิทธิผลของนโยบายการเงิน มากกว่าเงินทุนระยะยาว และระดับการทำ Sterilization เพื่อควบคุมฐานเงินในประเทศอยู่ที่ประมาณ 67.5% อันผลักดันให้อัตราดอกเบี้ยภายในประเทศคงตัวอยู่ในระดับสูง ซึ่งอาจกระตุ้นให้เกิดการไหลเข้าของเงินทุนระยะสั้นเพิ่มขึ้น และการคงอัตราดอกเบี้ยสูงนี้ ก็เป็นการควบคุมอัตราเงินเฟ้อด้วยอีกทางหนึ่ง จึงช่วยดึงดูดให้มีการไหลเข้าของเงินทุน ทั้งระยะสั้นและระยะยาวอย่างต่อเนื่อง เพราะอัตราเงินเฟ้อเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในบรรดาตัวแปร ที่มีอยู่ในสมการ นอกจากนั้น พบว่า เงินทุนระยะสั้นจะอ่อนไหวต่อการคาดการณ์ทิศทางค่าเงินบาทมากที่สุด และเมื่อมีการคาดการณ์ว่าค่าเงินบาทจะอ่อนตัวลงในอนาคต อันอาจเป็นผลมาจากการแข็งตัวของเงินบาท ซึ่งเกิดจากการไหลเข้าของเงินทุนในระยะแรก และจากส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยภายในที่สูงกว่าภายนอก ก็จะเกิดแรงผลักดันให้เกิดการไหลออกของเงินทุน โดยเฉพาะเงินทุนระยะสั้น และก็ปรากฏว่า ค่าเงินบาทได้อ่อนตัวลงตามที่มีการคาดการณ์จริง และผลการประมาณค่าก็ยืนยันว่า เงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ ทำให้ดัชนีค่าเงินบาทที่แท้จริงอ่อนตัวลงมากถึง 21.5% และยังพบต่อไปอีกว่า ดัชนีค่าเงินบาทที่แท้จริงจะยิ่งเสื่อมค่าลง ถ้าการจุนรายจ่ายของภาครัฐบาล มาจากแย่งชิงสินเชื่อภายในประเทศกับภาคเอกชน หรือเกิด Crowding OutEffect จะเห็นได้ว่าการพยายามคงระดับอัตราดอกเบี้ยภายในประเทศให้สูงกว่าต่างประเทศโดยไม่ปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาด เพียงเพื่อป้องกันปัญหาอัตราเงินเฟ้อและเพื่อดึงดูดเงินลงทุนจากต่างประเทศ อาจจะสามารถดึงดูดได้เพียงเงินทุนระยะสั้นที่เข้ามาสร้างความผันผวนต่ออัตราแลกเปลี่ยนเท่านั้น ดังนั้น การจะส่งเสริมให้เงินทุนที่ไหลเข้าประโยชน์ต่อประเทศมากที่สุด ภายใต้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวในปัจจุบัน น่าจะเป้นการปล่อยให้อัตราดอกเบี้ยเคลื่อนไหวตามกลไกตลาด เพื่อสนับสนุนให้เกิดการไหลเข้าของเงินทุนระยะยาวมากขึ้น อันจะเป็นประโยชน์ต่อการขยายตัวของภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง และต่อเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยนต่อไปen
dc.description.abstractalternativeIn order to finance current account deficit, international capital flows were considered great necessity for Thailand. During 1985-1996, however, Thai baht which had pegged to basket of currency was relatively less volatile and less risky, thereby stimulating both long and short capital inflows. These flows would affect both controlling monetary base and the value of domestic currency. Moreover, when accompanied with the expected baht depreciation, the effect might in turn make short term flows more volatile and might further discourage the inflows of long term capital. The objectives of this thesis were three-fold 1) to analyze the macro factors affacted both short and long term capital flows and to estimate the offset of monetary policy of these flows 2) to estimate the degree of sterilization of Thai central bank and 3) to evaluate the impacts of capital flows on Thai real effective exchange rate. The econometric method of this thesis was based on monetarist model of Maxwell J. Fry. The TSLS estimation result are that short term flows would lessen the effectiveness of monetary policy more than long term flows. The estimated sterilization of 67.5% by the Bank of Thailand helps raising interest rates and keeps them at high levels throughout the period under study. And this brings down the inflation rate and stimulates capital inflows continuously. This is supported by the finding that inflation is the most important factor affecting the short as well as long term flows. The study also find that the short term flows are relatively more sensitive to baht exchange rate expectation. The early surge period of capital inflows together with interest rate differentials lead to expected baht depreciation which causes the outflows, especially of the short term capitals in later period. This is supported by the result of casuality test that short term flow is relatively more sensitive to baht exchange rate expectation. The estimation also indicates that the capital inflows have caused the depreciation of Thai real effective exchange rate by 21.5%. Moreover, because of the crowding out effect, the more domestic borrowing by the government, the more likely will the baht depreciate. In conclusion, it is found that under today's floating exchange rate system, some conditions should be met to maximize the benefits of capital flows. For example, the interest rate should be free to move so that it will stimulate more of the long term inflows which wil benefit the real sector and help stabilizing real effective exchange rate.en
dc.format.extent1033304 bytes-
dc.format.extent1356447 bytes-
dc.format.extent2059345 bytes-
dc.format.extent1254451 bytes-
dc.format.extent1524547 bytes-
dc.format.extent1060765 bytes-
dc.format.extent1361121 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectเงินทุนen
dc.subjectปริวรรตเงินตราen
dc.subjectการเงินระหว่างประเทศen
dc.subjectการลงทุนของต่างประเทศen
dc.titleเงินทุนเคลื่อนย้ายจากต่างประเทศ และอัตราแลกเปลี่ยนที่แท้จริงของไทยen
dc.title.alternativeCapital flow and Thai real exchange rateen
dc.typeThesises
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineเศรษฐศาสตร์การเงินes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisornadejob@stamford.edu-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Yuadrith_Dh_front.pdf1.01 MBAdobe PDFView/Open
Yuadrith_Dh_ch1.pdf1.32 MBAdobe PDFView/Open
Yuadrith_Dh_ch2.pdf2.01 MBAdobe PDFView/Open
Yuadrith_Dh_ch3.pdf1.23 MBAdobe PDFView/Open
Yuadrith_Dh_ch4.pdf1.49 MBAdobe PDFView/Open
Yuadrith_Dh_ch5.pdf1.04 MBAdobe PDFView/Open
Yuadrith_Dh_back.pdf1.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.