Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9649
Title: การเตรียมถ่านกัมมันต์จากยางเหลือทิ้งโดยการกระตุ้นด้วยซิงค์คลอไรด์
Other Titles: Preparation of activated carbon from waste rubber by zinc chloride activation
Authors: ปิยะพร บารมี
Advisors: ธราพงษ์ วิทิตศานต์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: tharapong.v@chula.ac.th
Subjects: คาร์บอนกัมมันต์
ยาง -- การนำกลับมาใช้ใหม่
คาร์บอไนเซชัน
ซิงก์คลอไรด์
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การเตรียมถ่านกัมมันต์จากยางเหลือทิ้งโดยการกระตุ้นด้วยซิงค์คลอไรด์ มีกระบวนการดำเนินการเป็น 2 ขั้นตอน คือ การคาร์บอไนซ์และการกระตุ้น ในขั้นตอนคาร์บอไนซ์ใช้ตัวอย่างยางที่มีขนาด 5x5x5 ลูกบาศก์มิลลิเมตร นำมาให้ความร้อนในช่วงอุณหภูมิ 200 ถึง 550 องศาเซลเซียส และใช้เวลาตั้งแต่ 30 ถึง 90 นาที จากผลการทดลองได้ภาวะที่เหมาะสมคือ ที่อุณหภูมิ 400 องศาเซลเซียส ใช้เวลา 30 นาที ได้ผลิตภัณฑ์ถ่านชาร์ร้อยละ 85.13 มีส่วนประกอบในการวิเคราะห์แบบแห้งคือ เถ้าร้อยละ 6.51 สารระเหยได้ร้อยละ 22.08 และปริมาณคาร์บอนคงตัวร้อยละ 71.41 การกระตุ้นทำในเครื่องปฏิกรณ์ที่ทำจากเหล็กปลอดสนิม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 20 มิลลิเมตร มีความยาว 350 มิลลิเมตร ใส่สารที่ผสมกับสารละลายซิงค์คลอไรด์ที่ผ่านการเขย่าเป็นเวลา 3 วัน นำไปอบแห้งแล้วนำไปเผาในเตาเผาแบบทรงกระบอก มีแก๊สไนโตรเจนไหลผ่านสารในอุปกรณ์ด้วยอัตรา 100 ลูกบาศก์มิลลิลิตรต่อนาที ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา คือ ความเข้มข้นของสารละลายซิงค์คลอไรด์ อยู่ในช่วงร้อยละ 30 ถึง 70 โดยน้ำหนัก อุณหภูมิอยู่ในช่วง 200 ถึง 750 องศาเซลเซียส เวลาในการกระตุ้นอยู่ในช่วง 1 ถึง 5 ชั่วโมง และขนาดอนุภาคแยกเป็น 3 ขนาดอยู่ในช่วง 1.00 ถึง 4.70 มิลลิเมตร ภาวะที่เหมาะสมในการกระตุ้นคือ ใช้สารละลายซิงค์คลอไรด์เข้มข้นร้อยละ 70 โดยน้ำหนัก อุณหภูมิ 500 องศาเซลเซียส เวลาในการกระตุ้น 2 ชั่วโมง ถ่านขนาด 2.00-2.38 มิลลิเมตร ได้ผลิตภัณฑ์ร้อยละ 54.96 และถ่านกัมมันต์ที่ได้มีสมบัติดังนี้ค่าความหน้าแน่นปรากฏ 0.407 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ร้อยละของเถ้า 8.95 ค่าการดูดซับเมทิลีนบลู 54.9 มิลลิกรัมต่อกรัม ค่าการดูดซับไอโอดีน 351.52 มิลลิกรัมต่อกรัม และค่าพื้นที่ผิวรูพรุน 237.17 ตารางเมตรต่อกรัม
Other Abstract: Experimental preparation of activated carbon from waste rubber with zinc chloride was carried out in two steps, carbonization and activation. The sample rubber of dimension 5x5x5 cubic millimeter was carbonized at 200 to 250 ํC from 30 to 90 minutes. From the experimental results, the optimum conditions are heated the sample at 400 ํC for 30 minutes. The characteristics of char in the research yielded 85.13% with composition of dry basis of 6.51% ash, volatile matter of 22.08% and 71.14% fixed carbon. The activated step was conducted in a stainless steel reactor of diameter 20 mm and length 350 mm. The dry mixture of char and zinc chloride were pack and heated in tubular furnace, nitrogen gas flowed pass the bed with the rate of 100 ml/s. The variables studied were zinc chloride concentration 30-70% by weight, temperature 200-700 ํC, activated time 1-5 hours and three sizes of particles, 1.00-4.75 mm. The optimum conditions for activation obtained were : zinc chloride solution concentration 70% by weight, temperature 500 ํC, activated time 2 hours, char size particle 2.00-2.38 mm. The properties of activated carbon were : bulb density 0.407 gm/cm3, % ash 8.95, methylene blue absorption number 54.9 mg/g, iodine absorption number 351.52 mg/g, and pore surface area 237.17 m2/g.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคมีเทคนิค
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9649
ISBN: 9743327797
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Piyaporn_ Ba_front.pdf855.12 kBAdobe PDFView/Open
Piyaporn_ Ba_ch1.pdf727.31 kBAdobe PDFView/Open
Piyaporn_ Ba_ch2.pdf1.23 MBAdobe PDFView/Open
Piyaporn_ Ba_ch3.pdf935.96 kBAdobe PDFView/Open
Piyaporn_ Ba_ch4.pdf847.34 kBAdobe PDFView/Open
Piyaporn_ Ba_ch5.pdf1.23 MBAdobe PDFView/Open
Piyaporn_ Ba_ch6.pdf827.4 kBAdobe PDFView/Open
Piyaporn_ Ba_ch7.pdf700.48 kBAdobe PDFView/Open
Piyaporn_ Ba_back.pdf912.23 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.