Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9665
Title: | สิทธิของผู้ทรงในกรณีตั๋วเงินหาย |
Other Titles: | Right of holder in case of lost instruments |
Authors: | จิตติมา วัณนาวิบูล |
Advisors: | ไพฑูรย์ คงสมบรูณ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Advisor's Email: | Paitoon.K@chula.ac.th |
Subjects: | กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ -- ตั๋วเงิน |
Issue Date: | 2544 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ตั๋วเงินเป็นตราสารหนี้ที่แสดงสิทธิของผู้ทรง ดังนั้นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายจะต้องเป็นผู้มีตั๋วเงินไว้ในความครอบครองในฐานเป็นผู้รับเงิน ผู้รับสลักหลัง หรือผู้ถือในกรณีตั๋วผู้ถือ และโดยสุจริต ปราศจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง สิทธิของผู้ทรงที่จะบังคับใช้เงินตามตั๋วเงินจะเกิดขึ้นเมื่อ ผู้ทรงยื่นตั๋วให้ผู้จ่ายรับรองก่อนตั๋วถึงกำหนดหรือยื่นตั๋วให้ผู้ต้องรับผิดตามตั๋วใช้เงินในวันถึงกำหนด และหากมีการปฏิเสธการรับรองหรือปฏิเสธที่จะใช้เงิน ผู้ทรงจึงเกิดสิทธิไล่เบี้ย โดยผู้ทรงสามารถไล่เบี้ยแก่ผู้ที่ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินได้ทุกคน แต่ในกรณีตั๋วเงินหายผู้ทรงไม่มีตั๋วมายื่นให้ใช้เงินทางออกของผู้ทรงคือเรียกตั๋วเงินคืนมาจากผู้ไม่มีสิทธิ มาไว้ในครอบครองของตนหรือให้ผู้สั่งจ่ายหรือผู้ออกตั๋วออกตั๋วเงินฉบับใหม่ที่มีเนื้อความเหมือนฉบับเดิมได้ เพื่อผู้ทรงใช้สิทธิโอนตั๋วหรือบังคับตามตั๋วเงินฉบับใหม่ต่อไป แต่หากผู้ทรงไม่สามารถจัดการให้ได้ตั๋วกลับมาอยู่ในความครอบครองก่อนถึงกำหนดใช้เงินผู้ทรงสามารถนำสำเนาตั๋วเงินที่รับรองว่าถูกต้องและพยานบุคคลหรือสำเนาตั๋วเงินพร้อมหนังสือบอกกล่าวทวงถามมายื่นให้ผู้ลงลายมือชื่อตามสำเนาตั๋วเงินให้ใช้เงิน หากลูกหนี้ตามตั๋วเงินปฏิเสธ ผู้ทรงที่ตั๋วหายก็ย่อมเกิดสิทธิไล่เบี้ยกับผู้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินได้ทุกคนตามสำเนาตั๋วเงินนั้น และนำข้อโต้แย้งสิทธิดังกล่าวมาฟ้องศาลต่อไป ในชั้นพิจารณาของศาลกฎหมายให้อำนาจศาลรับฟังพยานบุคคลหรือพยานสำเนาตั๋วเงินแทนพยานเอกสารตั๋วเงินที่หายไป โดยไม่จำต้องมีต้นฉบับตั๋วเงินไว้ในความครอบครองขณะฟ้องบังคับ เมื่อตั๋วเงินเป็นเอกสารสิทธิและเป็นตราสารหนี้ การที่ศาลรับฟังพยานดังกล่าวต้องรับฟังด้วยความระมัดระวังและเมื่อศาลมีคำพิพากษาให้ผู้ลงลายมือชื่อตามสำเนาตั๋วเงินให้ชำระหนี้แล้วและบุคคลดังกล่าวชำระเงินตามตั๋วเงินแล้วหนี้เป็นอันระงับไป ไม่มีเหตุให้ผู้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินทั้งหมดต้องรับผิดซ้ำซ้อนอีก ดังนั้นในชั้นพิจารณาของศาลไม่จำต้องให้ผู้ที่ตั๋วเงินหายวางประกันเพราะไม่มีกรณีจ่ายชำระเงินซ้ำซ้อนในตั๋วเงินฉบับเดียวกัน ส่วนความเสียหายในกรณีผู้ทรงจะไม่ได้รับชำระหนี้จากผู้ลงลายมือชื่อในตั๋วอีกต้องไปว่ากล่าวกันในเรื่องลาภมิควรได้ต่อไป |
Other Abstract: | Person entitled to enforce an instrument, Holder in Due Course, is in possesion of instrument for presenting for payment when it due and exercising his right to recourse when it was refused to pay or approve, providing in Civil and Commercial Code. In case of lost instrument, if the holder can't pursue his paper back or ask payee for giving him new same tenor paper before its overdue, he will assert the duplication or verbal evidence to court instead of, under the Civil Procedure Code admitted. The party in good faith and none failure to exercise ordinary care, obliged to pay the instrument, is discharged. Thus holder who lost the instrument need not to pay satisfaction indemnity of court to protect the party to repay. This thesis aims to analyse that the holder who lost instrument can enforce his right, providing in the Civil Procedure Code, for judicial process without paying for indemnity. None of conflict of Thai laws, Civil Code and Civil Procedure Code, appear. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9665 |
ISBN: | 9740302483 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
jittima_w.pdf | 2.31 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.