Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/971
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพัชนี เชยจรรยา-
dc.contributor.authorอภิสรา ปังเร็ว, 2519--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-07-22T06:49:45Z-
dc.date.available2006-07-22T06:49:45Z-
dc.date.issued2545-
dc.identifier.isbn9741730217-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/971-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545en
dc.description.abstractวิเคราะห์ภาพและเนื้อหาเกี่ยวกับความรุนแรงต่อสตรีในหนังสือพิมพ์รายวันแนวประชานิยม 4 ชื่อฉบับ ได้แก่ ไทยรัฐ เดลินิวส์ ข่าวสด และคมชัดลึก ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2544-เมษายน 2545 โดยวิเคราะห์การนำเสนอเนื้อหาที่ปรากฎในข่าวหน้าหนึ่งโดยพิจารณาจากการใช้ภาษา สถานภาพของสตรี แหล่งข่าว วิธีการนำเสนอ และศึกษาประเภทของความรุนแรงต่อสตรี ความเคลื่อนไหวและกลยุทธ์การสื่อสารขององค์กรสตรี ในการรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรี ทั้งนี้การศึกษาครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยคือ การวิเคราะห์เนื้อหาและการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัยพบว่า หนังสือพิมพ์รายวันแนวประชานิยมส่วนใหญ่ ยังนำเสนอภาพและข่าวเกี่ยวกับความรุนแรงต่อสตรีในปริมาณสูง จากการศึกษาพบว่าความรุนแรงทางกายพบมากที่สุด รองลงมาคือความรุนแรงทางเพศ ทั้งนี้เมื่อแบ่งตามประเภทของความรุนแรงพบว่า ความรุนแรงในสังคม/ชุมชนมีปริมาณสูงกว่าความรุนแรงในครอบครัว และความรุนแรงจากรัฐ สำหรับการนำเสนอภาพและภาษาของหนังสือพิมพ์นั้น หนังสือพิมพ์เดลินิวส์นำเสนอในลักษณะก้าวร้าว รุนแรงมากที่สุด ผู้หญิงที่ถูกกระทำรุนแรงส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุแรกเกิด-15 ปี และเป็นนักเรียน นักศึกษา ในขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างผู้หญิงที่ถูกกระทำกับผู้กระทำพบว่า เป็นคนไม่รู้จักหรือคนแปลกหน้า ส่วนแหล่งข่าวส่วนใหญ่เป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ และวิธีการนำเสนอส่วนใหญ่นำเสนอแบบบอกรายละเอียดของเหตุการณ์ ด้านความเคลื่อนไหวขององค์กรสตรีในการรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรี องค์กรสตรีส่วนใหญ่เห็นว่า ความรุนแรงต่อสตรีเกิดจากความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่ไม่เท่าเทียมกันระหว่างหญิงกับชาย ซึ่งเป็นผลให้ชายมีอำนาจเหนือหญิง ภายใต้มายาคตินี้ทำให้หนังสือพิมพ์มีอคติทางเพศ ผลการศึกษาพบว่าหนังสือพิมพ์มักนำผู้เสียหายมาเป็นจุดขาย สื่อสร้างภาพผู้หญิงว่าเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดเหตุการณ์ ดังนั้นกลุ่มสตรีได้เสนอกลยุทธ์เพื่อผลักดันการเสนอข่าวดังนี้ กลยุทธ์การพูดคุยสร้างความเข้าใจ กลยุทธ์น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า กลยุทธ์การผลักดันสองทาง การสร้างมาตรฐานตรวจสอบสื่อ และกลยุทธ์การดึงพลังผู้บริโภคen
dc.description.abstractalternativeTo analyze the photo and content concerning violence against women in four popular newspapers, namely, Thai Rath, Daily News, Khaw Sod and Kom Chad Luek during November 2001-April 2002. The analysis focuses on the content and its presentation on front page. The content includes the language used, the identities of the women, the source of news, the presentation technics and to study the type of violence against women, to study movements and communication strategic of women's organization in the campaign to stop violence against women. Research methodology is in content analysis and in-depth interview. The study found that the popular newspapers mostly presented the photo and news of violence against women. Physical violence is the type of violence that found most, sexual violence is a secondary. In addition, the type of women's violence found that social violence a greater extent than domestic violence and government violence. As for the photo and language's presentation, among the four newspapers, Daily News rank first of aggressive language. Females aged up to fifteen years old are sexually abused most and are students. The relationship between male who take action are stranger. the source of the news is mostly from the police, the presentaion technics is mostly gives detail of atmosphere. The movement of women's organizations in to stop violence against women. Most of women's organizations perceive the existence of the violence against women from the unequal power relations between women and men, which ensure male dominance over women. Under the myths, newspapers are sex prejudice. By the study found that the victims and always be promoted. The media constructs the women is the motive of the phenomenon. The women's groups propose the strategy that, the talking for understanding strategy, the mutuality strategy, the two-way forcing strategy, the process of setting standard for media checking and the consumer's power strategy.en
dc.format.extent51009734 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2002.476-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectข่าวหนังสือพิมพ์en
dc.subjectหนังสือพิมพ์--ไทยen
dc.subjectความรุนแรงต่อสตรีen
dc.subjectสตรีนิยมen
dc.subjectสื่อมวลชนกับสตรีen
dc.titleความเคลื่อนไหวขององค์กรสตรี และข่าวความรุนแรงต่อสตรีในหนังสือพิมพ์en
dc.title.alternativeThe movement of women's organization and news on violence against women in newspapersen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineนิเทศศาสตรพัฒนาการen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2002.476-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Aphitsara.pdf16.84 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.