Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9735
Title: ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของผู้ป่วยในโรคจิตเภท ณ สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
Other Titles: Knowledge, attitude and cigarette smoking behavior among in-patients schizophrenic at Somdet Chaopraya Institute of Psychiatry
Authors: ธัญชนก จิงา
Advisors: บุรณี กาญจนถวัลย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Buranee.K@Chula.ac.th
Subjects: สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
ผู้ป่วยจิตเภท
จิตเภท
บุหรี่
การสูบบุหรี่
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมการสูบบุหรี่ ความชุกของพฤติกรรมการสูบบุหรี่ รวมทั้งศึกษาปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับ ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการสูบบุหรี่ ทำการศึกษาในกลุ่มประชากรที่เป็นผู้ป่วยในโรคจิตเภท ณ สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 220 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบวัดความรู้เกี่ยวกับพิษภัยของบุหรี่ แบบวัดทัศนคติเกี่ยวกับบุหรี่ แบบวัดระดับสารนิโคติน และแบบวัดความรู้สึกแสวงหาสิ่งตื่นเต้นเร้าใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม SPSS ค่าสถิติที่ใช้ประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พิสัย และเปอร์เซนต์ไทล์ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆกับ ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการสูบบุหรี่ โดย One Way ANOVA , Unpair t-test และChi-square test วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ อายุ ระยะเวลาป่วยทางจิต ระดับการติดสารนิโคติน และความรู้สึกแสวงหาสิ่งตื่นเต้นเร้าใจ โดยใช้ Pearsonʼs product moment correlation coefficient และใช้ Stepwise Multiple Regression และ Logistic Regression Analysis ในการหาปัจจัยทำนายความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรม ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 20-29 ปี มีระดับการศึกษาระดับประถมศึกษา พบว่าความชุกของพฤติกรรมการสูบบุหรี่ในผู้ป่วยชายร้อยละ 70.63 และผู้ป่วยหญิงร้อยละ18.18 กลุ่มตัวอย่างที่สูบและไม่สูบบุหรี่ส่วนใหญ่มี่ความรู้เกี่ยวกับพิษภัยของบุหรี่ในระดับดี มีทัศนคติทางลบเกี่ยวกับบุหรี่ และมีความรู้สึกแสวงหาสิ่งตื่นเต้นเร้าใจอยู่ในระดับปานกลาง กลุ่มตัวอย่างที่สูบบุหรี่มีระดับการติดสารนิโคตินอยู่ในระดับปานกลางและมีแนวโน้มพัฒนาไปเป็นการติดสารนิโคตินในระดับสูง พบว่า ความรู้มีความสัมพันธ์ทางบวกกับ อายุของผู้ป่วย และระยะเวลาป่วยทางจิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ความรู้มีความสัมพันธ์ทางลบกับ ทัศนคติ และความรู้สึกแสวงหาสิ่งตื่นเต้นเร้าใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทัศนคติมีความสัมพันธ์ทางบวกกับ ความรู้สึกแสวงหาสิ่งตื่นเต้นเร้าใจ และระดับการติดสารนิโคตินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทัศนคติมีความสัมพันธ์ทางลบกับ อายุของผู้ป่วยและระยะเวลาป่วยทางจิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ความรู้สึกแสวงหาสิ่งตื่นเต้นเร้าใจมีความสัมพันธ์ทางลบกับ อายุของผู้ป่วยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ พบว่าความรู้สึกแสวงหาสิ่งตื่นเต้นเร้าใจกับ ระยะเวลาการป่วยทางจิตเป็นปัจจัยทำนายต่อทัศนคติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระยะเวลาที่ใช้สารเสพติดอื่น, ทัศนคติเกี่ยวกับบุหรี่ และความรู้สึกแสวงหาสิ่งตื่นเต้นเร้าใจ เป็นปัจจัยทำนายต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Other Abstract: The purposes of this descriptive cross-sectional study were to study knowledge, attitude,behavior toward cigarette smoking and related factors. The subject included 220 schizophrenic in-patient in Somdet Chaopraya Institute of Psychiatry. They completed the questionnaires that consisted of demographic data, knowledge, attitude, Fagerstrom Test for Nicotine Dependence, Sensation Seeking Scale and behavior toward cigarette smoking. Data was analyzed using the SPSS for a personal computer package. Descriptive analysis consisted of mean, SD, range and percentile. Unpaired t-test, One Way ANOVA, Chi-square test and Pearsonʼs product moment correlation coefficient were to analyze association among factor. Stepwise multiple regression, Logistic regression analysis was predicted knowledge, attitude and smoking behavior. The result of the analysis can be summarized as followed : Most of subject were male, aged 20-29, had a low level of education. Prevalence rate of smoking behavior were 70.63 percent in male group and 18.18 percent in female group. Smokers and non smokers had a good level of knowledge, negative attitude toward smoking, a moderate level of sensation seeking. Smokers had a moderate level of nicotine dependence and trend to develop to high level of nicotine dependence. Knowledge had statistically positive correlation with age of patients and duration of mental illness and had negative correlation with attitude and sensation seeking. Attitude had positive correlation with sensation seeking and level of nicotine and had negative correlation with age of patients and duration of mental illness. Sensation seeking had negative correlation with age of patients. Predictive factors of knowledge toward cigarette smoking were sensation seeking and duration of mental illness. Predictive factors of attitude toward smoking were sensation seeking and duration of cigarette use. Predictive factors of behavior toward cigarette smoking were duration of substance use, attitude and sensation seeking.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขภาพจิต
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9735
ISBN: 9741748949
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thunchanok.pdf1.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.