Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/974
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกิตติ กันภัย-
dc.contributor.authorเฉลิมวรรณ ห่อทองคำ, 2515--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-07-22T07:03:54Z-
dc.date.available2006-07-22T07:03:54Z-
dc.date.issued2545-
dc.identifier.isbn9741733267-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/974-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มุ่งไปที่การวิเคราะห์ตรรกะการบริโภคโทรศัพท์เคลื่อนที่ภายใต้กรอบทฤษฎีตรรกะการบริโภคยุคหลังสมัยใหม่ของโบดริยาร์ด รวมทั้งได้ศึกษาถึงลักษณะสื่อคือสารของโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยอาศัยทฤษฎีเทคโนโลยีเป็นตัวกำหนดมาเป็นกรอบการศึกษา จากการศึกษาสื่อโทรศัพท์เคลื่อนที่พบว่าเทคโนโลยีที่ปรากฏในฐานะคุณลักษณะของโทรศัพท์เคลื่อนที่นั้นมีความหมายแฝงซ่อนอยู่มากมาย และความหมายนี้เองที่มีความสำคัญเทียบได้กับสาร ซึ่งส่งผลกระทบต่อวิถีการดำเนินชีวิตประจำวันและแบบแผนทางความคิดของคนในสังคมเพื่อให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น จากการวิเคราะห์ตรรกะการบริโภคของผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่พบว่ามีการผสมผสานการบริโภคมูลค่าด้านอรรถประโยชน์เข้ากับมูลค่าการแลกเปลี่ยนเชิงเศรษฐศาสตร์ และมูลค่าเชิงสัญญะ โดยมีสัดส่วนการบริโภคมูลค่าเชิงสัญญะมากที่สุด และมีแนวโน้มที่จะบริโภคสัญญะในเชิงซับซ้อนมากขึ้นในอนาคต จนในที่สุดไม่เหลือการบริโภคเพื่อประโยชน์ของสินค้าหลงเหลือเลย จากการตีความโฆษณาโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ปรากฏบนหน้าหนังสือพิมพ์พบว่าเมื่อโทรศัพท์เคลื่อนที่ในฐานะที่เป็นสินค้าที่เข้าสู่กระบวนการโฆษณาแล้ว โทรศัพท์เคลื่อนที่ก็จะมีคุณค่าเชิงสัญญะและคุณค่าการแลกเปลี่ยนเชิงสัญลักษณ์ด้วย เช่น เป็นสัญญะที่บ่งบอกถึงความทันสมัย ความก้าวล้ำทางเทคโนโลยี ความแปลกใหม่และแฟชั่น เป็นต้น คุณค่าต่างๆ เหล่านี้ เป็นคุณค่าที่ถูกอุปโลกน์ขึ้น ซึ่งดูเหมือนว่าจะเป็นคุณค่าที่มีความสำคัญมากกว่าคุณค่าเชิงอรรถประโยชน์ในฐานะอุปกรณ์การสื่อสารที่อำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ ผลการวิจัยจากการศึกษาตรรกะการบริโภคและลักษณะสื่อคือสารของโทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถชี้ให้เห็นว่า การบริโภคโทรศัพท์เคลื่อนที่นั้นเป็นไปเพื่อการบริโภคมูลค่าเชิงสัญญะ ซึ่งเป็นการบริโภคอย่างไม่มีที่สิ้นสุดเพียงเพื่อ ตอบสนองความต้องการที่ไร้ขีดจำกัดของคนในสังคมยุคหลังสมัยใหม่en
dc.description.abstractalternativeThis research aims at analyzing logics of consumption of mobile phone with a theoretical framework of Baudrillard's consumption of post modern concept. Another theoretical framework of technology determinism is also applied by the concept of medium is a message. From technology point of view of mobile phone, there are many latent meanings which can be implied as the messages. And these messages finally introduce changes not only in life style but also pattern of thought of the people in mass society. According to the logic of consumption, there are the combination of the "use value", "the exchange value" and the "sign value". However the "sign value" are found most and will be developed into sophisticated sign value which there will be no longer the "use value". According to the interpretation of mobile phone advertisement, the "sign value" and "symbolic exchange" are found when mobile phone is packaged into the process of advertisement and sales promotion. Mobile phone becomes a sign of modernity, high technology and fashionable etc. All of these created values seems to be more significant than "use value" which is the real functional logic of mobile phone. The results also imply that people in the mass society prefer to consume more on the sign and image hidden within the products which will bring to endless consumption in order to fulfill unlimited psychological needs.en
dc.format.extent1977497 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2002.529-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectพฤติกรรมผู้บริโภค--ไทยen
dc.subjectโฆษณา--โทรศัพท์เคลื่อนที่en
dc.titleตรรกะการบริโภค และลักษณะสื่อคือสารของโทรศัพท์เคลื่อนที่en
dc.title.alternativeLogics of consumption and "Medium is the message" of mobile phoneen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineการสื่อสารมวลชนen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorKitti.G@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2002.529-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chalermwan.pdf1.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.