Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9776
Title: | การเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการบำบัดขั้นต้น สำหรับน้ำเสียโรงงานผลิตนมถั่วเหลืองด้วยกระบวนการดีเอเอฟ กับกระบวนการโคแอกกูเลชัน |
Other Titles: | Comparison of soybean milk wastewater primary treatment efficiency between DAF and coagulation |
Authors: | อุดมศักดิ์ เจียรวิชญ์ |
Advisors: | อรทัย ชวาลภาฤทธิ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Orathai.C@Chula.ac.th |
Subjects: | น้ำเสีย -- การบำบัด การรวมตะกอน |
Issue Date: | 2541 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการเปรียบเทียบประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียขั้นต้นจากโรงงานผลิตนมถั่วเหลืองด้วยกระบวนการดีเอเอฟและกระบวนการโคแอกกูเลชัน โดยปรับเปลี่ยนค่าพีเอชของน้ำเสีย และปรับเปลี่ยนชนิดและปริมาณของสารโคแอกกูแลนท์และโคแอกกูแลนท์เอด โดยโคแอกกูแลนท์ที่ใช้ ได้แก่ สารละลายเฟอร์ริกคลอไรด์ และสารละลายอลูมินัมซัลเฟต ส่วนโคแอกกูแลนท์เอดที่ใช้ ได้แก่ โพลีเมอร์ประจุบวกและโพลีเมอร์ประจุลบ จากผลการทดลอง พบว่า สภาวะในการบำบัดโดยกระบวนการดีเอเอฟที่มีประสิทธิภาพสูงสุดคือ พีเอช 4.5, ค่าอัตราการเวียนกลับ 150% ซึ่งคิดเป็นอัตราส่วน A/S 0.0027 มก. อากาศ/มก.ของแข็ง สารละลายเฟอร์ริกคลอไรด์ 150 มก/ล และโพลีเมอร์ประจุลบ 2 มก/ล โดยมีเวลากักเก็บ 30 นาทีและความเร็วเฉลี่ยในการลอยขึ้นของตะกอน 0.67 ซม/วินาที ซึ่งให้ประสิทธิภาพการกำจัดซีโอดี ทีเคเอ็นและทีเอสเอสเท่ากับ 90.2% 91.6% และ 90.8% ตามลำดับ โดยมีค่าสารเคมีในการบำบัด 12.11 บาท/ลบ.ม ส่วนการวิเคราะห์ตะกอนพบว่า มีปริมาณโปรตีน 45.3% และการสารอินทรีย์ 94.8% โดยมีปริมาณตะกอนเกิดขึ้น 4.69 กก/ลบ.ม ซึ่งสามารถขายได้ในราคา 10.41 บาท/ลบ.ม สภาวะที่มีประสิทธิภาพในการบำบัดสูงสุดโดยกระบวนการโคแอกกูเลชัน คือ พีเอช 4.5, สารละลายเฟอร์ริกคลอไรด์ 200 มก/ล และโพลีเมอร์ประจุลบ 2 มก/ล โดยมีเวลากักเก็บ 40 นาทีและความเร็วเฉลี่ยในการตกตะกอน 0.425 ซม/วินาที ซึ่งให้ประสิทธิภาพการกำจัดซีโอดี ทีเคเอ็นและทีเอสเอสเท่ากับ 92.6% 93.4% และ 92.6% ตามลำดับ โดยมีค่าสารเคมีในการบำบัด 14.29 บาท/ลบ.ม ส่วนการวิเคราะห์ตะกอนพบว่า มีปริมาณโปรตีน 39.4% และสารอินทรีย์ 94.7% โดยมีปริมาณตะกอนเกิดขึ้น 4.84 กก/ลบ.ม ซึ่งสามารถขายได้ในราคา 10.65 บาท/ลบ.ม จากการเปรียบเทียบที่ประสิทธิภาพการบำบัดใกล้เคียงกัน พบว่า ค่าสารเคมีในการบำบัดโดยกระบวนการโคแอกกูเลชันนั้นสูงกว่ากระบวนการดีเอเอฟ และตะกอนที่ได้จากกระบวนทั้งสองนั้นมีองค์ประกอบทางเคมีใกล้เคียงกัน ดังนั้นในช่วงดำเนินการคาดว่ากระบวนการดีเอเอฟที่ใช้อัตราการเวียนกลับ 150% เป็นกระบวนการที่เหมาะสมทั้งในด้านประสิทธิภาพการบำบัดและค่าสารเคมี |
Other Abstract: | The objective of this research was to study the comparison of soybean milk wastewater primary treatment efficiency between DAF and coagulation. In this experiment, parameters being studied were pH adjustment; concentration of ferric chloride or alum as coagulant adjustment ; concentration of cationic polymer or anionic polymer as coagulant aid adjustment. From the experimental results found that the best conditions for treated wastewater by DAF were optimum pH as 4.5, optimum recycle as 150% or A/S ratio 0.0027 mg.air/mg.solid, optimum dosage of ferric chloride as 150 mg/l and anionic polymer as 2 mg/l. The detention time and average floating velocity were equal to 30 min and 0.67 cm/sec respectively. The removal efficiency of COD TKN and TSS were 90.2% 91.6% and 90.8% respectively. The cost of chemical was equal to 12.11 Baht/CU.M. Result from sludge analysis found that protein conten and organic matter of slude were 45.3% and 94.8% respectively, while sludge production was 4.69 kg/CU.M and the sale price was 10.41 Baht/CU.M. The best conditions for treated wastwwater by coagulation were optimum pH as 4.5, optimum dosage of ferric chloride as 200 mg/l and anionic polymer as 2 mg/l. The detention time and average settling velocity were equal to 40 min and 0.425 cm/sec respectively. The removal efficiency of COD TKN and TSS were 92.6% 93.4% and 92.6% respectively. The cost of chemical was equal to 14.29 Baht/CU.M. Result from sludg analysis found that protein content and organic matter of sludge were 39.4% and 94.7% respectively, while sludge production was 4.84 kg/CU.M and the sale price was 10.65 Baht/CU.M. The cost of chemical from coagulation test was higher than DAF test at the same removal efficiency and sludge recovery from coagulation and DAF had nearly chemical characteristic In consideration of chemical cost and removal efficiency, DAF with 150% recycle was more suitable than coagulation for operation period. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9776 |
ISBN: | 9746393723 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Udomsak_Ja_front.pdf | 1.26 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Udomsak_Ja_ch1.pdf | 769.91 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Udomsak_Ja_ch2.pdf | 1.76 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Udomsak_Ja_ch3.pdf | 1.17 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Udomsak_Ja_ch4.pdf | 3.17 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Udomsak_Ja_ch5.pdf | 783.35 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Udomsak_Ja_back.pdf | 1.37 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.