Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9791
Title: | การใช้ยารักษาแผลเปปติกอย่างสมเหตุสมผลในหอผู้ป่วยอายุรกรรมโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ |
Other Titles: | Rational use of drugs for the treatment of peptic ulcer disease in general medical ward at Sawanpracharak Hospital |
Authors: | วรวิทย์ ตั้งวิไล |
Advisors: | มยุรี ตันติสิระ ถนอม จิวสืบพงษ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์ |
Advisor's Email: | Mayuree.T@Chula.ac.th, Mayuree@pharm.chula.ac.th ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | การใช้ยา แผลเพ็ปติก |
Issue Date: | 2544 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | เนื่องจากยารักษาโรคแผลเปปติกมีอยู่หลายกลุ่มและมีหลายข้อบ่งใช้ การวิจัยในครั้งนี้จึงมุ่งที่จะศึกษาถึงความสมเหตุผลในการสั่งใช้ยาและรูปแบบการใช้ยากลุ่มนี้ในทุกข้อบ่งใช้ โดยการเก็บข้อมูลจากผู้ป่วยทุกรายที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยอายุรกรรมโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จังหวัดนครสวรรค์ ในช่วงเวลาระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม 2544 ถึง 31 มกราคม 2545 ที่ได้รับการสั่งใช้ยากลุ่มนี้ จากจำนวนผู้ป่วยทั้งหมดที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยอายุรกรรมในช่วงเวลาดังกล่าว 969 คน พบว่ามีผู้ป่วย 324 คน (ร้อยละ 33.4) ที่ได้รับการสั่งใช้ยากลุ่มนี้เป็นจำนวน 519 ครั้ง โดยมีลำดับของข้อบ่งใช้ดังนี้ เป็นการสั่งใช้ยาสำหรับ stress ulcer prophylaxis 217 ครั้ง (ร้อยละ 41.8) non-ulcer dyspepsia 159 ครั้ง (ร้อยละ 30.6) gastric ulcer 53 ครั้ง (ร้อยละ 10.2) eradication of H.pylori และ NSAIDs prophylaxis อย่างละ 32 ครั้ง (ร้อยละ 6.2) duodenal ulcer 21 ครั้ง (ร้อยละ 4.0) และ gastroesophageal reflux disease 5 ครั้ง (ร้อยละ 1.0) จากจำนวนยารักษาโรคแผลเปปติกที่มีในโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ทั้งหมด 8 ชนิดพบว่ามีการสั่งใช้ยา cimetidine มากที่สุด 332 ครั้ง (ร้อยละ 64.0) รองลงมาเป็นการสั่งใช้ยา antacid 72 ครั้ง (ร้อยละ 13.9) omeprazole 46 ครั้ง (ร้อยละ 8.9) ranitidine 43 ครั้ง (ร้อยละ 8.3) sucralfate 16 ครั้ง (ร้อยละ 3.0) famotidine 4 ครั้ง (ร้อยละ0.8) lansoprazole และ rabeprazole อย่างละ 3 ครั้ง (ร้อยละ 0.6) ผลการประเมินการใช้ยาตามเกณฑ์ที่กำหนดคือ ไม่ใช้ยาในผู้ป่วยที่มีข้อห้ามใช้ ใช้ในผู้ป่วยที่สมควรจะได้รับยาตามเกณฑ์ มีขนาดและแบบแผนการใช้ยาที่ถูกต้อง มีระยะเวลาการใช้ยาครบตามเกณฑ์กำหนด และ ไม่มีการสั่งใช้ยาร่วมกับยาที่อาจจะเกิดอันตรกิริยาระหว่างกัน พบว่าแพทย์สั่งใช้ยาตรงตามเกณฑ์ประเมินครบทุกหัวข้อที่กำหนด 277 ครั้ง (ร้อยละ 53.4) คิดเป็นมูลค่าการใช้ยา 106,699.20 บาท ไม่ตรงตามเกณฑ์คือเป็นการสั่งใช้ยาที่ไม่ตรงตามเกณฑ์ดังกล่าวอย่างน้อยหนึ่งหัวข้อ 235 ครั้ง (ร้อยละ 45.3) คิดเป็นมูลค่าการใช้ยา 76,040.40 บาท และไม่สามารถสรุปผลได้ 7 ครั้ง (ร้อยละ 1.6) คิดเป็นมูลค่าการใช้ยา 2,954 บาท โดยการสั่งใช้ยาที่ไม่ตรงตามเกณฑ์นั้นเป็นการใช้ยาที่เกินความจำเป็น คือเป็นการสั่งใช้ยาสำหรับผู้ป่วยที่ไม่สมควรจะได้รับยาตามเกณฑ์ 120 ครั้ง ซึ่งพบมากที่สุดในการใช้ยาสำหรับ stress ulcer prophylaxis รองลงมาเป็นการใช้ยาซึ่งอาจจะส่งผลทำให้ยาขาดประสิทธิผลในการรักษา เนื่องจากการใช้ยาที่ไม่ถูกต้องตามแบบแผนที่กำหนด เช่น การสั่งใช้ยาที่มีขนาดยาน้อยเกินไป 66 ครั้ง ระยะเวลาในการใช้ยาไม่ครบตามกำหนด 41 ครั้ง และ เป็นการสั่งใช้ยาที่อาจจะเกิดอันตรกิริยาระหว่างกัน 30 ครั้ง จากผลการวิจัยในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าถึงแม้ว่าประมาณครึ่งหนึ่งของการใช้ยากลุ่มนี้ในกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาจะเป็นไปอย่างสมเหตุผล แต่ก็ยังมีปัญหาอยู่บ้างในเรื่องของการใช้ยาเกินจำเป็นและรูปแบบการใช้ยาที่ไม่เป็นไปตามแบบแผนที่จะทำให้ผู้ป่วยได้รับประโยชน์สูงสุดจากการใช้ยาดังกล่าว ซึ่งปัญหาเหล่านี้คาดว่าน่าจะสามารถแก้ไขได้หากมีการรวบรวมหลักฐานทางด้านการแพทย์ เกณฑ์มาตรฐานต่างๆ และหลักการทางเภสัชบำบัด ของการใช้ยารักษาโรคแผลเปปติก มาร่วมกันกำหนดเกณฑ์ที่เหมาะสมของการใช้ยากลุ่มนี้ในแต่ละข้อบ่งใช้สำหรับโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์และมีการติดตามดูแลให้มีการปฏิบัติตามเกณฑ์ |
Other Abstract: | Drugs for the treatment of peptic ulcer are widely used for different indications. Excessive and inappropriate use of these drugs is frequently reported. The present study aimed to gain insight into rational use of them with regards to indication as well as prescribing patterns. Data were concurrently collected from patients admitted to general medical ward of Sawanpracharak Hospital in Nakhonsawan province during the period of August 1, 2001 to January 31, 2002. Of 969 patients admitted, 324 (33.44%) were prescribed with drugs for the treatment of peptic ulcer, totally 519 times, for the following therapeutic indications : stress ulcer prophylaxis 217 times (41.80%), non-ulcer dyspepsia 159 times (30.60%), gastric ulcer 53 times (10.20%), eradication of H.pylori as well as NSAIDs prophylaxis 32 times each (6.20%), duodenal ulcer 21 times (4.00%) and gastroesophageal reflux disease 5 times (1.00%). Among 8 drugs for the treatment of peptic ulcer available in Sawanpracharak Hospital, cimetidine was most frequently prescribed, 332 times (64.00%), followed by antacid 72 times (13.90%), omeprazole 46 times (8.90%), ranitidine 43 times (8.30%), sucralfate 16 times (3.00%), famotidine 4 times (0.80%) and lansoprazole or rabeprazole 3 times (0.60%) each. With references to evaluation criteria on accepted indication, contraindication, dosage regimen, duration of treatment and possible drug interaction, it was found that approximately half (277 times, 53.40%) of the drugs were appropriately prescribed and accounted for the drug expense of 106,699.20 baht. Apart from 7 times (1.60%) of prescribing which were unable to evaluate due to incomplete documentation, 45.30% (235 times) of the drugs were inappropriately prescribed and accounted for the drug expense of 76,040.40 baht. The most frequent error was the overuse (120 times) which mainly found in stress ulcer prophylaxis followed by inappropriate dosage regimen as exemplified by too low dosage regimen (66 times) and too short duration of treatment (41 times) and finally the possibility of drug interaction with co-administered drugs. Though the present study has illustrated that about half of the drugs for the treatment of peptic ulcer was appropriately prescribed, the excessive use and inappropriate prescribing patterns of these drugs did exist in Sawanpracharak Hospital. Establishment of guidelines ,based on medical documents and/or principle of pharmacotherapy, for the use of drugs for the treatment of peptic ulcer for each indication together with regular drug use evaluation should minimize inappropriate use of these drugs and thus render better health care for the patients. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 |
Degree Name: | เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เภสัชวิทยา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9791 |
ISBN: | 9741701187 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Pharm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Worawit.pdf | 787.91 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.