Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9795
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | พิชัยศักดิ์ หรยางกูร | - |
dc.contributor.author | ทิพย์พิรุณ สุวรรณกูล | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2009-08-07T04:49:34Z | - |
dc.date.available | 2009-08-07T04:49:34Z | - |
dc.date.issued | 2544 | - |
dc.identifier.isbn | 9740311083 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9795 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 | en |
dc.description.abstract | อำนาจของอนุญาโตตุลาการในการดำเนินกระบวนพิจารณาเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นในการที่จะทำให้การอนุญาโตตุลาการดำเนินการไปได้อย่างราบรื่น และรวดเร็ว สมดังเจตนาของ คู่สัญญาในการเลือกใช้อนุญาโตตุลาการ แต่ในการอนุญาโตตุลาการ โดยเฉพาะการอนุญาโตตุลาการทางการค้าระหว่างประเทศ มักมีการคัดค้านอำนาจพิจารณาข้อพิพาทของอนุญาโตตุลาการ โดยใช้เหตุผลต่างๆ เป็นต้นว่า สัญญาหลักไม่สมบูรณ์ ข้อตกลงอนุญาโตตุลาการจึงไม่สมบูรณ์ตามไปด้วย เหตุผลเหล่านี้มักถูกอ้างขึ้นเพื่อทำให้การดำเนินการอนุญาโตตุลาการสะดุดหรือหยุดลง และทำให้เกิดข้อสงสัยว่าผู้ใดควรเป็นผู้มีอำนาจในการวินิจฉัยว่าอนุญาโตตุลาการมีอำนาจในการพิจารณาข้อพิพาทนั้นหรือไม่ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาประเด็นปัญหาเรื่องการอนุญาโตตุลาการกับการคัดค้านอำนาจของอนุญาโตตุลาการในการพิจารณาข้อพิพาท โดยศึกษาถึงแนวความคิดในการให้อำนาจอนุญาโตตุลาการในการวินิจฉัยอำนาจของตนเอง ตลอดจนข้อดีและข้อขัดข้องในการใช้อำนาจ ดังกล่าวของอนุญาโตตุลาการ ผลจากการศึกษาวิจัยผู้เขียนเห็นว่าบทบัญญัติกฎหมายของประเทศไทยยังไม่เหมาะสมที่จะทำให้การอนุญาโตตุลาการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว เนื่องจากในปัจจุบันยังมีปัญหาในทางปฏิบัติเพราะไม่มีบทบัญญัติกฎหมายในเรื่องดังกล่าวที่ชัดเจน แม้ว่าจะได้มีการนำหลักการที่ให้อำนาจอนุญาโตตุลาการในการวินิจฉัยอำนาจของตนเองในกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการอนุญาโตตุลาการในทางการค้าระหว่างประเทศมาพิจารณาในการร่างกฎหมายอนุญาโตตุลาการฉบับใหม่แล้วก็ตาม ผู้เขียนเห็นว่ายังสมควรแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการดังกล่าวให้มีการยอมรับอำนาจของอนุญาโตตุลาการที่เกิดจากการทำหน้าที่เป็นอนุญาโตตุลาการและป้องกันการถ่วงเวลาดำเนินการอนุญาโตตุลาการให้ล่าช้า เพื่อให้กฎหมายอนุญาโตตุลาการของประเทศได้มาตราฐานในระดับสากล เป็นที่ยอมรับในนานาประเทศ และมีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง | en |
dc.description.abstractalternative | The power or competence of arbitral tribunal to carry out the proceeding is both important and necessary to bring about a quick and smooth arbitration as the parties may have aimed at when they choose arbitration to settle their dispute. But in arbitration, international commercial arbitration in particular, protests on competence usually arise. The given reasons for such protests are: the invalidity of the major contract brings about the invalidity of the arbitral agreement and others. These reasons are raised to stop or to slow down the arbitral process and cause doubts on who has the competence to rule on the competence of arbitral tribunal in hearing dispute. This thesis intends to study the issue of competence of arbitral tribunal regarding the protest on the competence of the arbitral tribunal in hearing the dispute. The study has surveyed the line of thoughts on giving the arbitrators the competence torule on its competence and the pros and cons of such exercise of power by the arbitral tribunal. The study leads the author to believe that the provisions of Thai law is still inappropriate for carrying out an efficient and quick arbitration. At present, there is enough difficulty in practice for there is not a clear cut provision on the matter. Eventhough the principle of competence on competence has been brought into the draft bill via the Model Law on International Commercial Arbitration. The author still has a proposal on revision of the draft Arbitration Law to recognize the sui generis power of the office of arbitrator to counter dilatory tactics. This is to bring Thai arbitration law to the universal standard and acceptance for actual efficiency in the international arena. | en |
dc.format.extent | 1785286 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | การอณุญาโตตุลาการ | en |
dc.subject | อนุญาโตตุลาการ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ | en |
dc.title | อำนาจของอนุญาโตตุลาการในการวินิจฉัยอำนาจของตนเอง | en |
dc.title.alternative | Competence De La Competence | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | นิติศาสตร์ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Phijaisakdi.H@chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Tippiroon.pdf | 1.74 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.