Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9824
Title: | การเปรียบเทียบการบริหารความเสี่ยงของหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลศูนย์ที่เข้าร่วมและไม่เข้าร่วมโครงการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล |
Other Titles: | A comparison of risk management among head nurses of central hospitals participated and non participated in hospital accreditation program |
Authors: | ภวพร ไพศาลวัชรกิจ |
Advisors: | พวงเพ็ญ ชุณหปราณ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
Advisor's Email: | Paungphen.C@Chula.ac.th |
Subjects: | การบริหารความเสี่ยง พยาบาลหัวหน้าหอผู้ป่วย |
Issue Date: | 2542 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการบริหารความเสี่ยงในด้านโครงสร้างกายภาพและสิ่งแวดล้อม การกำจัดของเสีย การป้องกันอัคคีภัยและการจัดการด้านความปลอดภัยของหัวหน้าหอผู้ป่วยโรงพยาบาลศูนย์ที่เข้าร่วมและไม่เข้าร่วมโครงการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล เปรียบเทียบการบริหารความเสี่ยงของหัวหน้าหอผู้ป่วย จำแนกตามโรงพยาบาลที่เข้าร่วมและไม่เข้าร่วมโครงการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล ประสบการณ์ในตำแหน่งบริหาร และการได้รับการอบรมด้านความปลอดภัย กลุ่มตัวอย่างคือ หัวหน้าหอผู้ป่วย 289 คน ได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามการบริหารความเสี่ยง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา และมีความเที่ยงเท่ากับ .97 วิเคราะห์โดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบการบริหารความเสี่ยงของหัวหน้าหอผู้ป่วยโดยการทดสอบค่า ที และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ค่าเฉลี่ยการบริหารความเสี่ยงของหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลศูนย์ที่เข้าร่วมและไม่เข้าร่วมโครงการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการป้องกันอัคคีภัยของหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลศูนย์ที่ไม่เข้าร่วมโครงการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลอยู่ในระดับปานกลาง 2. หัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลศูนย์ที่เข้าร่วมและไม่เข้าร่วมโครงการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล มีค่าเฉลี่ยการบริหารความเสี่ยงโดยรวมไม่แตกต่างกัน ยกเว้นคะแนนเฉลี่ยด้านการป้องกันอัคคีภัยของโรงพยาบาลศูนย์ที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล สูงกว่าโรงพยาบาลศูนย์ที่ไม่เข้าร่วมโครงการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. หัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลศูนย์ที่เข้าร่วมและไม่เข้าร่วมโครงการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล ที่มีประสบการณ์ในตำแหน่งบริหารต่างกัน มีค่าเฉลี่ยการบริหารความเสี่ยงโดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 4. หัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลศูนย์ที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลที่ได้รับการอบรมด้านความปลอดภัย มีค่าเฉลี่ยการบริหารความเสี่ยงโดยรวมสูงกว่าหัวหน้าหอผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการอบรมด้านความปลอดภัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อจำแนกตามรายด้าน พบว่า หัวหน้าหอผู้ป่วยที่ได้รับการอบรมด้านความปลอดภัย มีการบริหารความเสี่ยงด้านการป้องกันอัคคีภัยดีกว่าหัวหน้าหอผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการอบรมด้านความปลอดภัย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
Other Abstract: | The purpose of this study was to describe the risk management in four aspects : physical structure and environment, waste elimination management, fired preventive management, and safety management of head nurses in central hospital participated and non participated in hospital accreditation program and to compare the risk management of head nurses classified by hospital participated and non participated in hospital accreditation program, managing experience and safety training. The samples consisted of 289 head nurses selected by stratified random sampling. The risk management questionnaire was developed by the researcher and has been tested for content validity and the reliability was .97. The data were analyzed by mean, standard deviation, t-test, and Oneway ANOVA. The major findings were as follows: 1. The overall risk management mean scores of both types of hospitals were at high level, but in the aspect of fire preventive management mean score of head nurses in non participated hospital was at medium level. 2. There was no significantly difference between risk management mean score of both types of hospitals, but in the aspect of fire prevention, risk management mean score of hospital participated in hospital accreditation program was higher than non participated hospital at .05 level. 3. There was no significantly difference of riks management mean score of head nurses classified by adinistrative experience. 4. The overall risk management mean score of head nurses in hospitals participatied in hospital accreditation program who were trained in safety program was significantly higher than those with no training at .05 level. And mean score of fired preventive management of the head nurses trained in safety program of hospitals participated in hospital accreditation program was significantly higher than those with no training at .05 level. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 |
Degree Name: | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การบริหารการพยาบาล |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9824 |
ISBN: | 9743346503 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pawaporn_Pa_front.pdf | 1.05 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pawaporn_Pa_ch1.pdf | 1.33 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pawaporn_Pa_ch2.pdf | 2.37 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pawaporn_Pa_ch3.pdf | 1.46 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pawaporn_Pa_ch4.pdf | 2.18 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pawaporn_Pa_ch5.pdf | 1.42 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pawaporn_Pa_back.pdf | 2.38 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.