Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9869
Title: การใช้สื่อเครื่องเล่นคอมพิวเตอร์ตามห้างสรรพสินค้าของประชาชน ในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Usage of arcade computer games of people in Bangkok
Authors: พัทยา เพชรธานินท์
Advisors: อรวรรณ ปิลันธน์โอวาท
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Orawan.P@Chula.ac.th
Subjects: เกมคอมพิวเตอร์
การเปิดรับข่าวสาร
การเรียนรู้
ความพอใจ
การเล่น
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประเภทของสื่อเครื่องเล่นคอมพิวเตอร์ตามห้างสรรพสินค้า 2) ศึกษาลักษณะทางประชากร พฤติกรรมการใช้ และความพึงพอใจในการใช้บริการสื่อเครื่องเล่นคอมพิวเตอร์ตามห้างสรรพสินค้าของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร 3) ศึกษาความสัมพันธ์ของลักษณะทางประชากรกับพฤติกรรมการใช้บริการสื่อเครื่องเล่นคอมพิวเตอร์ตามห้างสรรพสินค้า โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 400 คน มีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และตารางความสัมพันธ์จากโปรแกรม SPSS ผลการวิจัยปรากฏว่า ผู้ใช้บริการสื่อเครื่องเล่นคอมพิวเตอร์ตามห้างสรรพสินค้าเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง โดยส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 18-20 ปี และมีการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี กลุ่มตัวอย่างที่ทำงานแล้วมีรายได้น้อยกว่า 20,000 บาท ขณะที่กลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักเรียน-นักศึกษาที่ไม่มีรายได้ของตัวเองได้รับค่าใช้จ่ายจากบิดามารดาเดือนละประมาณ 1,000-2,000 บาท โดยบิดาประกอบอาชีพกิจการส่วนตัว ขณะที่มารดาประกอบอาชีพเป็นแม่บ้าน และกว่าครึ่งหนึ่งของกลุ่มตัวอย่างมีสถานภาพทางครอบครัวซึ่งบิดามารดาอยู่ร่วมกัน และพักอาศัยร่วมกับบิดามารดา กลุ่มตัวอย่างโดยส่วนใหญ่มีการเปิดรับสื่อโทรทัศน์ทุกวัน ซึ่งแต่ละครั้งใช้เวลามากกว่า 3 ชั่วโมง กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มาใช้บริการสื่อเครื่องเล่นคอมพิวเตอร์ในช่วงวันเสาร์-อาทิตย์มากที่สุด และมักจะมาพร้อมกับเพื่อนโดยมีระยะเวลาในการใช้บริการแต่ละครั้งประมาณ 16-30 นาที และเสียค่าใช้จ่ายแต่ละครั้งน้อยกว่า 50 บาท เลือกใช้บริการสื่อเครื่องเล่นคอมพิวเตอร์ประเภทเกมจำลองสถานการณ์ (ซีมูเลเตอร์) โดยมีเหตุผลในการใช้บริการคือ ต้องการความสนุกสนานเพลิดเพลิน และโดยส่วนใหญ่ของกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจมากต่อความสนุกสนานเพลิดเพลินในเกม เหตุผลรองลงมาคือได้เรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ และได้ฝึกทักษะทางด้านมือและสายตา
Other Abstract: The purposes of this research were 1) to study the types of arcade computer games in shopping malls 2) to study the demographic variables, the uses and gratifications of arcade computer among people in Bangkok Metropolis and 3) to investigate the relationship of the demographic variables and usage behavior of people in Bangkok Metropolis using the arcade games. Questionnaires were employed to collect data from a total of 400 samples. Frequency, percentage, mean and relationship table/crosstabulations were used to analyze data through SPSS for PC. It was found that most of users were male. Nearly half of the samples were 18-20 years old and held a bachelor's degree and their monthly salary were less than 20,000 baht. However, the samples of which the majority were the young students who have no income received support from their parents about 1,000-2,000 baht per month. Their father's occupatiom was family business and their mother were housewife. More than half of them stayed with their parents who were in the same family. Most of them watched television everyday and spent more then 3 hours each day watching. Most of the users frequently came to play the arcade game on Saturday and Sunday. They were always accompanies with their friends and the time took around 16-30 minutes per times. Besides, they spend less than 50 baht per visit. The most popular type of arcade games was simulator, and were satisfied with the amusement and entertainment received from the game, with the new technology, and with the psychomotor skill practiced from the games.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสื่อสารมวลชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9869
ISBN: 9743311602
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pattaya_Pe_front.pdf1.24 MBAdobe PDFView/Open
Pattaya_Pe_ch1.pdf1.02 MBAdobe PDFView/Open
Pattaya_Pe_ch2.pdf1.55 MBAdobe PDFView/Open
Pattaya_Pe_ch3.pdf875.5 kBAdobe PDFView/Open
Pattaya_Pe_ch4.pdf2.03 MBAdobe PDFView/Open
Pattaya_Pe_ch5.pdf1.13 MBAdobe PDFView/Open
Pattaya_Pe_back.pdf949.53 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.