Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9892
Title: | การศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารและครูอาจารย์เกี่ยวกับการบริหารกิจการนักเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 11 |
Other Titles: | A study of opinions of administrators and teachers concerning student personnel administration in secondary schools under the jurisdiction of the Department of General Education, educational region eleven |
Authors: | ทรรศนีย์ แก้วจันทร์ |
Advisors: | นพพงษ์ บุญจิตราดุลย์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Noppong.b@chula.ac.th |
Subjects: | การบริหารการศึกษา กิจการนักเรียน การแนะแนว วินัยในโรงเรียน ทุนการศึกษา |
Issue Date: | 2541 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาในการบริหารกิจการนักเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 11 ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารและครูอาจารย์ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 11 จำนวน 636 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่สมบูรณ์ใช้ได้จำนวน 541 ชุด (85.06%) วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสภาพการบริหารและปัญหาในการบริหารและปัญหาในการบริหารกิจการนักเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 11 ทั้ง 10 ด้าน ปรากฏว่า 1. การบริหารกิจการนักเรียน ผู้บริหารและครูอาจารย์เห็นว่ามีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก 6 ด้าน ดังนี้ การรับเด็กเข้าเรียนและการแบ่งกลุ่มนักเรียน, การปฐมนิเทศ, การจัดให้ทุนการศึกษา, การจัดกิจกรรมนักเรียน, การรักษาวินัยและความประพฤติของนักเรียน และการทำระเบียนสะสมเป็นหลักฐานและประวัตินักเรียน 2) ส่วนการบริหารกิจการนักเรียนที่ผู้บริหารและครูอาจารย์เห็นว่ามีการปฏิบัติอยู่ในระดับน้อย 4 ด้าน ดังนี้ การจัดบริหารและสวัสดิการต่างๆ, การบริการปรึกษาหารือหรือแนะแนว, การจัดการสอนซ่อมเสริม และการวิจัยประเมินผลและติดตามผลเมื่อนักเรียนสำเร็จไปแล้ว 3) ปัญหาในการบริหารกิจการนักเรียน ผู้บริหารและครูอาจารย์เห็นว่ามีปัญหาอยู่ในระดับน้อย 8 ด้าน ดังนี้ การรับเด็กเข้าเรียนและการแบ่งกลุ่มนักเรียน, การปฐมนิเทศ, การจัดให้ทุนการศึกษา, การจัดกิจกรรมนักเรียน, การรักษาวินัยและความประพฤติของนักเรียน, การทำระเบียนสะสมเป็นหลักฐานและประวัตินักเรียน, การจัดบริการและสวัสดิการต่างๆ และการบริการปรึกษาหารือหรือแนะแนว 4) ส่วนปัญหาในการบริหารกิจการนักเรียนที่ผู้บริหารและครูอาจารย์เห็นว่ามีปัญหาอยู่ในระดับมาก 2 ด้าน ดังนี้ การจัดการสอนซ่อมเสริมและการวิจัยประเมินผลและติดตามผลเมื่อนักเรียนสำเร็จไปแล้ว |
Other Abstract: | The purposes of the research were to study the opinions of administrators and teachers concerning the performance and problems in student personnel administration in secondary schools under the jurisdiction of the Department of General Education, educational region eleven. Six hundred and thirty-six copies of the questionnaire were distributed and five hundred and forty-one completed copies (85.06%) were returned. The data were analyzed by Statistic Package of Social Science (SPSS) in terms of percentages, arithmetic means and standard deviations. It was found that the ten areas of the performance and problems of student personnel administration in secondary schools under the jurisdiction of the Department of General Education, educational region eleven were as follow: 1) Sixs areas of student personnel administration were rated at the high level. They are as follow: Adminissiom and Student Group classification; Orientation Program; Scholarship and Placement Services; Student Activities Programs; School Discipline; Student Cumulative Records and Student Progress Reports. 2) Four areas of student personnel administration were rated at the low level. They are as follow: Services and Welfare; Conseling Programs or Guidance Services; Remedial Teaching; and Evaluative Research and Follow-up Studies. 3) The problems were rated at the high level in eight areas: Student Group classification; Orientation Program; Scholarship and Placement Services; Student Activities Programs; School Discipline; Student Cumulative Records and Student Progressive Reports and Welfare and Conseling Programs or Guidance Services. 4) The problems were rated at the low level in two areas: Remedial Teaching; and Evaluative Research and Follow-up Studies. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | บริหารการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9892 |
ISBN: | 9743317341 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Tassanee_Ke_front.pdf | 1.33 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Tassanee_Ke_ch1.pdf | 1.33 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Tassanee_Ke_ch2.pdf | 2.41 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Tassanee_Ke_ch3.pdf | 973.21 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Tassanee_Ke_ch4.pdf | 2.66 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Tassanee_Ke_ch5.pdf | 1.92 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Tassanee_Ke_back.pdf | 1.59 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.