Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9905
Title: ประสิทธิผลของสื่อประชาสัมพันธ์โครงการฉลากประหยัดไฟ
Other Titles: Effectiveness of public relations media on appliance labeling in energy-efficiency programs
Authors: สุกัลยา บุษยบัณฑูร
Advisors: กาญจนา แก้วเทพ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Kanjana.Ka@chula.ac.th
Subjects: โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้า
การใช้พลังงานไฟฟ้า
การประชาสัมพันธ์
การเปิดรับข่าวสาร
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารโครงการฉลากประหยัดไฟฟ้ากับความรู้ และทัศนคติต่อการประหยัดไฟ/ฉลากประหยัดไฟฟ้า ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อสื่อและเนื้อหาข่าวสารของโครงการฉลากประหยัดไฟฟ้า ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเลือกซื้ออุปกรณ์ไฟฟ้าประหยัดไฟกับทัศนคติเกี่ยวกับการประหยัดไฟ/ฉลากประหยัดไฟฟ้า และประสิทธิผลของสื่อประชาสัมพันธ์โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้า โดยใช้วิธีวิจัยแบบเชิงสำรวจ มีจำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 300 คน ผลการวิจัยพบว่า 1. พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารโครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าไม่มีความสัมพันธ์กับความรู้ และทัศนคติเกี่ยวกับการประหยัดไฟ/ฉลากประหยัดไฟฟ้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2. ผู้บริโภคส่วนใหญ่รู้จักหรือได้รับข่าวสารของโครงการฉลากประหยัดไฟจากสื่อมวลชนมากสุด และได้รับข้อมูลมากที่สุดจากสื่อมวลชนเช่นกัน ได้แก่ สื่อโทรทัศน์ สื่อหนังสือพิมพ์ และสื่อวิทยุในระดับใกล้เคียงกัน ส่วนสื่อที่สร้างความเข้าใจได้มากสุด ได้แก่ สื่อโทรทัศน์ รองลงมาคือ สื่อวิทยุ และสื่อสิ่งพิมพ์ ส่วนสื่อที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกซื้ออุปกรณ์ประหยัดไฟ คือ สื่อโทรทัศน์ รองลงมาเป็นสื่อบุคคล และสื่อเฉพาะกิจ 3. พฤติกรรมการเลือกซื้ออุปกรณ์ไฟฟ้าประหยัดไฟมีความสัมพันธ์แบบผกผันกับทัศนคติเกี่ยวกับการประหยัดไฟ/ฉลากประหยัดไฟฟ้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 4. ประสิทธิผลของสื่อประชาสัมพันธ์โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้า มิติด้านการเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจ พบว่าสื่อมวลชนกับสื่อเฉพาะกิจมีประสิทธิผลมากกว่าสื่อบุคคล โดยสื่อมวลชนให้ความรู้ได้ดีในเรื่องฉลากประหยัดไฟฟ้าในระดับการระลึกถึง รวบรวมสาระสำคัญได้ และการนำไปใช้ได้ ในขณะที่สื่อเฉพาะกิจมีประสิทธิผลในการให้ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการประหยัดไฟอยู่ในระดับปานกลาง มิติด้านการเผยแพร่ทัศนคติโดยรวมเกี่ยวกับการประหยัดไฟ/ฉลากประหยัดไฟฟ้า พบว่า มีประสิทธิผลในระดับสูง แต่จะเป็นทัศนคติด้านความรู้ และด้านอารมณ์เป็นส่วนใหญ่ ส่วนทัศนคติด้านการปฏิบัติไม่เปลี่ยนแปลง มิติด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้หันมาใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีฉลากประหยัดไฟมีประสิทธิผลในระดับที่ต่ำมาก
Other Abstract: The objectives of this research were to study the relationships among the appliance labeling program exposure, the consumer knowledges gained from the exposure and the consumer attitude towards the appliance labeling program, the consumer attitude toward usage and conten of medias, the relationships between the energy-efficiency electricity appliance purchasing and the consumer attitude toward energy label campaign, and the effectiveness of public relations media on appliance labeling in energy-efficiency programs. This study was survey research that administered to 300 samples. The results of this study were as follows : 1. The customers' explosure to appliance labeling program was not significantly related to the consumer knowledge and the consumer attitude toward energy safety/energy/label. 2. The most consumers awareness of appliance labeling program and the most information source was mass media. The most information source was television. The second source equally were newspaper and radio. The media which give most understanding was television. The second were radio and printed media by following. The media that influence the customer purchasing electric appliances were television, interpersonal media and specialized media by following. 3. The customer attitude toward energy safety/energy label was converse significantly related with the energy-efficiency electricity appliance purchasing behavior. 4. The effectiveness of public relations media on appliance label program in three dimension were as follow. First, mass media and specialized media have more effective than interpersonal media in giving consumers' knowledge about energy safety/energy label. Mass media work well on recall, comprehension and application, and specialized media were fair. Second, the effectiveness of public relations media on appliance label program in affecting consumers' attitude about energy safety/energy label were good, especially in cognitive component and affective component, but they were not effected to behavioral component. Finally, the effectiveness of public relations media on appliance label program on changing the consumer behavior to purchase electricity appliance with energy label was poor.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสื่อสารมวลชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9905
ISBN: 9746396331
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sugunlaya_Bu_Front.pdf810.72 kBAdobe PDFView/Open
Sugunlaya_Bu_Ch1.pdf840.34 kBAdobe PDFView/Open
Sugunlaya_Bu_Ch2.pdf874.41 kBAdobe PDFView/Open
Sugunlaya_Bu_Ch3.pdf735.74 kBAdobe PDFView/Open
Sugunlaya_Bu_Ch4.pdf963.47 kBAdobe PDFView/Open
Sugunlaya_Bu_Ch5.pdf1.48 MBAdobe PDFView/Open
Sugunlaya_Bu_Ch6.pdf951.04 kBAdobe PDFView/Open
Sugunlaya_Bu_back.pdf1.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.