Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9944
Title: ภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยนอกเด็กโรคธาลัสซีเมียของโรงพยาบาลในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Depression in pediatric thalassemic outpatients of hospital in Bangkok Metropolis
Authors: ฐิติรัตน์ สิริพุทไธวรรณ
Advisors: ศิริลักษณ์ ศุภปีติพร
ภิรมย์ สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง
จริยาภรณ์ สุทธิพันธ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: chsrs@redcross.or.th
Bhirom.S@chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: ความซึมเศร้าในเด็ก
ธาลัสสีเมียในเด็ก
ธาลัสสีเมีย -- ผู้ป่วย
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับ การเกิดภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยนอกเด็กโรคธาลัสซีเมีย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ ผู้ป่วยเด็กโรคธาลัสซีเมีย ณ คลินิกโรคเลือดเด็ก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า และโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช อายุ 10-15 ปี (อายุเฉลี่ย = 11.86 ปี) จำนวน 370 คน โดยมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามสำหรับเด็กและผู้ปกครอง แบบวัดอาการซึมเศร้า แบบวัดความสัมพันธ์ในกลุ่มเพื่อน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS/PC+ สถิติที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, Chi-square test, Fisher's exact test, Unpair t-test, One-way ANOVA และ Stepwise multiple regression analysis ผลการศึกษาพบว่า ความชุกของภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยนอกเด็กโรคธาลัสซีเมียคิดเป็นร้อยละ 35.1 ผลการหาความสัมพันธ์โดยใช้ Chi-square test และ Fisher's exact test พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่ ความสัมพันธ์ของบิดามารดา (p<.01) ความสัมพันธ์ของเด็กกับสมาชิกในครอบครัว (p<.01) ความสัมพันธ์ในกลุ่มเพื่อน (p<.01) ผลการเรียน (p<.05) ประวัติถูกทารุณกรรม (p<.05) ระดับการศึกษาของมารดา (p<.05) และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ เพศ (p<.01) อายุที่เริ่มป่วย (p<.01) ความสัมพันธ์ของบิดามารดา (p<.01) ความสัมพันธ์ในกลุ่มเพื่อน (p<.01) ผลการเรียน (p<.05) ประวัติถูกทารุณกรรม (p<.05) ระดับการศึกษาของมารดา (p<.05) ความสัมพันธ์ของเด็กกับสมาชิกในครอบครัว (p<.05) เมื่อนำตัวแปรต่างๆ มาคัดเลือกเพื่อใช้สร้างแบบจำลองการวิเคราะห์ภาวะซึมเศร้างของผู้ป่วยโดยการ วิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอนพบว่า ตัวแปรที่ดีที่สุดที่ถูกเลือกเข้ามาโดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ ความสัมพันธ์ในกลุ่มเพื่อน ผลการเรียน ประวัติถูกทารุณกรรม สมการนี้สามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงของการเกิดภาวะซึมเศร้าได้ประมาณร้อยละ 35.6 และความสัมพันธ์ในกลุ่มเพื่อนสามารถอธิบายการเกิดภาวะซึมเศร้าได้มากที่สุด
Other Abstract: The purposes of this study were to investigate the prevalence of depression in pediatric thalassemic outpatients and to explore factors associated with depression. The subjects of this study included 370 pediatric thalassemic outpatients who were treated at hematology clinic, King Chulalongkorn Memorial Hospital, Siriraj Hospital, Phramongkutklao Hospital and College of Medicine, and Bhumibol Adulyadej Hospital,. These subjects ranged in age from 10-15 years old (x-=11.86 years). The research instruments consisted of Children and Parent Questionnaires, Children's Depression Inventory (CDI), and the Cornell Interview of Peers and Friends (CIPF). The data were analyzed by SPSS/PC+, Percentage, mean, and standard deviation were determined Unpaired t-test, One-way ANOVA, Chi-square test, Fisher's exact test and Stepwise multiple regression analysis were used fro statistical analyses. The study found that the prevalence of depression in pediatic thalassemic out patient was 35.1%. The Chi-square test and Fisher's exact test indicated the following essential factors: parents relationship (p<.01), relationship with family members (p<.01), peers relationship (p<.01), grade report (p<.01), child abuse history (p<.05), and mother's education level (p<.05). Statistically significant factors related to severity of depression in these children were sex (p<.01), time of onset (p<.01), parent relationship (p<.01), peers relationship (p<.01), grade report (p<.05), child abuse history (p<.05), mother's education level (p<.05), and relationship with family members (p<.05). In this study a forecasting equation was constructed from stepwise multiple regression analysis. The best predictive variables were peers relationship grade report, and child abuse history. From this equation, the best factor that can predict depression was peers relationship, predicting about 35.6 percent (R2=.356)
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขภาพจิต
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9944
ISBN: 9740302386
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
thitiratS.pdf889.56 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.