Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9967
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุลักษณ์ ศรีบุรี-
dc.contributor.advisorสัญญา วงศ์อร่าม-
dc.contributor.authorปฤณัต แสงสว่าง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2009-08-12T03:16:35Z-
dc.date.available2009-08-12T03:16:35Z-
dc.date.issued2541-
dc.identifier.isbn9746393189-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9967-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาคุณค่าศิลปะปูนปั้นไทย ในด้านศิลปกรรม ด้านประวัติศาสตร์ศิลป์ ด้านภูมิปัญญาของช่างปั้นปูน ด้านศิลปวัฒนธรรม และด้านคติความเชื่อและขนบนิยมตามทัศนะของผู้เชี่ยวชาญงานปูนปั้น และนักศึกษาโปรแกรมวิชาศิลปศึกษา ระดับปริญญาบัณฑิตในสถาบันราชภัฏ ผู้วิจัยได้สัมภาษณ์ทัศนะของผู้เชี่ยวชาญงานปูนปั้น จำนวน 13 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์และวิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละและวิเคราะห์เนื้อหา สำรวจความคิดเห็นนักศึกษาโปรแกรมวิชาศิลปศึกษา ระดับปริญญาบัณฑิตในสถาบันราชภัฎ จำนวน 223 คน จาก 10 สถาบัน โดยใช้แบบสอบถามแบบตรวจสอบรายการ แบบมาตราส่วนประเมินค่าและแบบปลายเปิด และวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิตและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. ผู้เชี่ยวชาญงานปูนปั้นส่วนใหญ่แสดงทัศนะว่า ศิลปะปูนปั้นจัดเป็นศิลปะแบบประเพณีไทยใช้ประดับสถาปัตยกรรมและประติมากรรมประเภทต่างๆ งานปูนปั้นที่มีความสวยงามมากคือ งานปูนปั้นที่วัดนางพญา จังหวัดสุโขทัย วัดเขาบันไดอิฐ จังหวัดเพชรบุรี และวัดไลย์ จังหวัดลพบุรี ศิลปะปูนปั้นไทยมีคุณค่ามากที่สุด ในด้านความงาม (ด้านรูปแบบ การจัดองค์ประกอบ และการถ่ายทอดความรู้สึก) ด้านคุณค่าทางประวัติศาสตร์อันเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ศิลป์ที่สำคัญ ในด้านภูมิปัญญาของศิลปินช่างปูนปั้นที่สร้างงานได้สะท้อนความคิดสร้างสรรค์ และคุณค่าในด้านที่สะท้อนถึงมรดกทางวัฒนธรรมอันเกี่ยวข้องกับคติความเชื่อและแนวคิดตามพุทธศาสนาในประเทศไทย 2. นักศึกษาศิลปศึกษาส่วนใหญ่มีความคิดเห็นด้วยต่อคุณค่าขอศิลปะปูนปั้นไทยทั้ง 5 ด้าน คือ ด้านศิลปกรรม ด้านประวัติศาสตร์ศิลป์ ด้านภูมิปัญญาของช่างปั้นปูน ด้านศิลปวัฒนธรรม และด้านคติความเชื่อและขนบนิยม ผู้เชี่ยวชาญงานปูนปั้นและนักศึกษาศิลปศึกษาได้ให้ข้อเสนอแนะว่า ศิลปะปูนปั้นไทยเป็นศิลปะที่ควรอนุรักษ์และสืบทอด ควรมีการนำเข้าสู่กระบวนการจัดการศึกษาในสถาบันการศึกษาต่างๆ โดยให้มีการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ และเน้นการสอนให้เห็นคุณค่าศิลปะปูนปั้นไทยเพื่อให้ผู้เรียนได้รับความรู้ ชื่นชม และมีความตระหนักในการที่จะอนุรักษ์และสืบทอดต่อไปen
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to study Thai stucco value according to the viewpoint of Thai stucco experts and undergraduate art education students in Rajabhat Institutes in five aspects: art value, history of art value, wisdom of artist value, art and culture value, and faith and traditional value. The researcher interviewed 13 Thai stucco experts by using the open-ended interviewing form, and analyzed data by means of frequency, percentage, and content analysis. And the researcher surveyed the opinions of 223 undergraduate art education students in 10 Rajabhat Institutes by using questionnaire which consisted of checklist, rating scale and open-end items and analyzed data by means of frequency, percentage, arithmatic means, and standard deviation. The research findings revealed that 1. Most of Thai stucco experts viewed that Thai stucco was Thai traditional art aimed for decorating architectures and sculptures. The most beautiful Thai stuccos could be found at Wat Nany Phaya in changwat Sukothai, Wat Kao Baudai-It in changwat Petchaburi, and Wat Lai in changwat Lopburi. The Thai stucco experts believed that Thai stucco was most valuable in the aspect of aesthetics art and beauty (the style, the composition, and the expression of feeling), in historical aspect as the important art history evidence objects, in the aspect of Thai stucco artists' wisdom to express their creative thinking, and finally they valued Thai stucco as the great Thai heritage of culture which concerning on Thai traditional faith and Buddhism concept in Thailand. 2. Most of the students agreed with the value of Thai stucco on 5 aspects: art value, history of art value, wisdom of artist value, art and culture value, and faith and traditional value. The Thai stucco experts and the students suggested that Thai stucco should be conserved and transmitted in the educational institutions by the education process both in teaching and learning. Theory and practice, which emphasized on art value should be given to students in order to make them have knowledge and appreciation. Students should realized to have senses of conservation and transmit the value of thai stucco to another generation.en
dc.format.extent1124799 bytes-
dc.format.extent792760 bytes-
dc.format.extent1285273 bytes-
dc.format.extent763483 bytes-
dc.format.extent1182961 bytes-
dc.format.extent1122471 bytes-
dc.format.extent2385054 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectประติมากรรมปูนปั้น -- ไทยen
dc.subjectประติมากรรมไทยen
dc.titleการศึกษาคุณค่าศิลปะปูนปั้นไทยตามทัศนะของผู้เชี่ยวชาญงานปูนปั้นและนักศึกษาโปรแกรมวิชาศิลปศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตในสถาบันราชภัฏen
dc.title.alternativeA study of Thai stucco value according to the viewpoint of Thai stucco experts and undergraduate art education students in Rajabhat Institutesen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineศิลปศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSulak.S@chula.ac.th-
dc.email.advisorSanya.W@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Paruenat_Sa_front.pdf1.1 MBAdobe PDFView/Open
Paruenat_Sa_ch1.pdf774.18 kBAdobe PDFView/Open
Paruenat_Sa_ch2.pdf1.26 MBAdobe PDFView/Open
Paruenat_Sa_ch3.pdf745.59 kBAdobe PDFView/Open
Paruenat_Sa_ch4.pdf1.16 MBAdobe PDFView/Open
Paruenat_Sa_ch5.pdf1.1 MBAdobe PDFView/Open
Paruenat_Sa_back.pdf2.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.