Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9973
Title: ผลทางจุลชีววิทยาของการใช้สารละลายเตตราซัยคลินไฮโดรคลอไรด์ฉีดล้างภายในพ็อกเก็ตเสริมการเกลารากฟันในโรคปริทันต์อักเสบในผู้ใหญ่
Other Titles: Microbiological effects of the intra-pocket irrigation with tetracycline hydrochloride solution as an adjunct to root planing in adult periodontitis
Authors: ศรมิษฐ์ พิสุทธิ์ธนกาญจน์
Advisors: ชนินทร์ เตชะประเสริฐวิทยา
จินตกร คูวัฒนสุชาติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Chanin.T@Chula.ac.th
Jintakorn.K@Chula.ac.th
Subjects: โรคปริทันต์อักเสบ
เตตราซัยคลินไฮโดรคลอไรด์
คลองรากฟัน
สารต้านจุลชีพ
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้เป็นการศึกษาถึงผลการตอบสนองของอวัยวะปริทันต์ต่อการใช้สารละลายเตตราซัยคลินฉีดล้างภายในพ็อกเก็ตเสริมการเกลารากฟัน โดยพิจารณาจากลักษณะทางจุลชีววิทยาและลักษณะทางคลินิกบางอย่าง ทำการศึกษาในผู้ป่วยโรคปริทันต์อักเสบในผู้ใหญ่ที่ผ่านการรักษาในระยะเริ่มแรกแล้วจำนวน 42 คน เพศชาย 17 คน เพศหญิง 25 คน อายุเฉลี่ย 45.47+5.32 ปี ฟันที่ศึกษามีพ็อกเก็ตลึกมากกว่าหรือเท่ากับ 4 มิลลิเมตร รวม 4 ตำแหน่งในผู้ป่วยแต่ละราย สุ่มแบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 2 กลุ่มคือ เกลารากฟันอย่างเดียว และใช้สารหลอกฉีดล้างภายในพ็อกเก็ตหลังเกลารากฟัน กลุ่มทดลอง 2 กลุ่มคือ ใช้สารละลายเตตราซัยคลินไฮโดรคลอไรด์ความเข้มข้นร้อยละ 5 และร้อยละ 10 ฉีดล้างภายในพ็อกเก็ตหลังเกลารากฟันสัปดาห์ละครั้ง รวม 4 สัปดาห์ นัดกลับมาตรวจและให้การรักษาใหม่ในสัปดาห์ที่ 14, 28 และ 42 เปรียบเทียบการตอบสนองของอวัยวะปริทันต์ โดยพิจารณาผลทางจุลชีววิทยาจากปริมาณและสัดส่วนของแบคทีเรียแต่ละประเภท ได้แก่ แบคทีเรียรูปกลม รูปแท่งเคลื่อนที่ไม่ได้ รูปแท่งเคลื่อนที่ได้ และสไปโรคีตส์ ด้วยกล้องจุลทรรศน์ชนิด เฟส-คอนทราสต์ และพิจารณาผลทางคลินิกจากการวัดความลึกพ็อกเก็ต อาการเลือดออกและดัชนีคราบจุลินทรีย์ ผลการวิจัยพบว่า สัดส่วนของแบคทีเรียรูปกลมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทั้ง 4 กลุ่มการรักษาในสัปดาห์ที่ 42 เมื่อเปรียบเทียบกับเริ่มต้นการรักษา โดยกลุ่มทดลองทั้ง 2 กลุ่มพบเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบระหว่างสัปดาห์ที่ 28 กับสัปดาห์ที่ 42 ปริมาณของแบคทีเรียรูปแท่งเคลื่อนที่ไม่ได้ มีการเปลี่ยนแปลงลดลงโดยเฉพาะกลุ่มที่ใช้สารละลายเตตราซัยคลินไฮโดรคลอไรด์ความเข้มข้นร้อยละ 10 พบลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับเริ่มต้นการรักษา ขณะที่กลุ่มที่ได้รับการเกลารากฟันเพียงอย่างเดียวมีปริมาณแบคทีเรียชนิดนี้ค่อนข้างคงที่ แต่สัดส่วนของแบคทีเรียชนิดนี้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทั้ง 4 กลุ่มเมื่อเปรียบเทียบกับเริ่มต้นการรักษา สำหรับสัดส่วนแบคทีเรียรูปแท่งเคลื่อนที่ได้ของทั้ง 4 กลุ่ม ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ ขณะที่ปริมาณของแบคทีเรียชนิดนี้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับเริ่มต้นการรักษาในกลุ่มทดลองทั้ง 2 กลุ่มและกลุ่มที่ใช้สารละลายสีผสมอาหาร ส่วนปริมาณและสัดส่วนของสไปโรคีตส์ พบว่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบภายในกลุ่มการรักษาในแต่ละช่วงเวลา และพบความแตกต่างระหว่างกลุ่มที่ใช้สารละลายเตตราซัยคลินไฮโดรคลอไรด์ความเข้มข้นร้อยละ 5 กับกลุ่มเกลารากฟันอย่างมีนัยสำคัญในสัปดาห์ที่ 42 สำหรับความลึกพ็อกเก็ตพบว่าทั้ง 4 กลุ่ม มีความลึกพ็อกเก็ตลดลง อย่างมีนัยสำคัญในสัปดาห์ที่ 14, 28 และ 42 เมื่อเปรียบเทียบกับเริ่มต้นการรักษา และพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างกลุ่มที่ใช้สารละลายเตตราซัยคลินไฮโดรคลอไรด์ความเข้มข้นร้อยละ 5 กับกลุ่มที่ใช้สารละลายสีผสมอาหารในสัปดาห์ที่ 42 ขณะที่อาการเลือดออกของทั้ง 4 กลุ่มลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับเริ่มต้นการรักษา และดัชนีคราบจุลินทรีย์ของผู้ป่วยลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับเริ่มต้นการรักษา ซึ่งผลโดยรวมทั้งทางจุลชีววิทยาและลักษณะทางคลินิกของกลุ่มทดลองทั้ง 2 กลุ่ม ดีกว่ากลุ่มควบคุม งานวิจัยนี้ แสดงให้เห็นว่า การใช้สารละลายเตตราซัยคลินไฮโดรคลอไรด์ความเข้มข้นร้อยละ 5 และร้อยละ 10 ฉีดล้างภายในพ็อกเก็ค อาจพิจารณานำมาใช้ร่วมกับการเกลารากฟัน โดยหวังผลการตอบสนองของอวัยวะปริทันต์ดีกว่าการเกลารากฟันเพียงอย่างเดียว ทั้งลักษณะทางจุลชีววิทยาและลักษณะทางคลินิก
Other Abstract: The objective of this research was to study the periodontal response affected by the intra-pocket irrigation with tetracycline hydrochloride solution (TCN) as an adjunct to root planing in microblological and clinical aspects. 42 adult periodontitis patients (17 males and 25 females) with average age of 45.47+5.32 year-old were selected to participate in this study. The sample teeth had pocket depth equal or greater than 4 millimeters. Each subject was randomly assigned to 4 quadrants. 2 control groups were scaling and root planing only (SRP) and root planing with vehicle irrigation and 2 test groups were 10% and 5% TCN as an adjunct to root planing. The irrigation was done once a week for 4 weeks. All groups were appointed for this study at the baseline (week 0), week 14, week 28 and week 42. The microbiological effects were expressed by in the amount and proportion of bacterial cells identified as cocci, non-motile rods, motile rods and spirochetes using phase-contrast microscope. The clinical effects were investigated by measurements of probing pocket depth, bleeding on probing and plaque index. The results showed that the proportion of coccoid cells in all groups had a significant increase at week 42 compared with the baseline, and the 2 test groups also showed a significant increase when compared between week 28 and 42. In 10% TCN group, the amount of non-motile rods had a significant decrease compared with the baseline. While the amount of these cells was stable in SRP group but their proportions significantly increased in all groups compared with the baseline. Even through the proportion of motile rods showed no significant differences in all groups, the amount of these cells had a significant decrease in the 2 test groups and also in vehicle irrigation group when compared with the baseline. The amount and proportion of spirochetes in all groups showed a significantly progressive decrease at week 14, 28 and 42 respectively. A significant difference was also found between 5% TCN and SRP groups at week 42. All groups had a significant probing pocket depth decrease at week 14, 28 and 42 compared with the baseline. There was a significant difference in probing pocket depth between 5% TCN and vehicle irrigation groups at week 42. The bleeding on probing of all groups showed a significant decrease in severity at week 14, 28 and 42 and the plaque index showed a significant decrease compared with the baseline. The overall changes in microbiological and clinical results indicated that the 2 test groups had better results than SRP group.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ปริทันตศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9973
ISBN: 9743322914
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Soramitz_Pi_front.pdf958.45 kBAdobe PDFView/Open
Soramitz_Pi_ch1.pdf823.6 kBAdobe PDFView/Open
Soramitz_Pi_ch2.pdf1.26 MBAdobe PDFView/Open
Soramitz_Pi_ch3.pdf840.42 kBAdobe PDFView/Open
Soramitz_Pi_ch4.pdf977.51 kBAdobe PDFView/Open
Soramitz_Pi_ch5.pdf799.09 kBAdobe PDFView/Open
Soramitz_Pi_back.pdf829.54 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.