Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9974
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปรารมภ์ ซาลิมี-
dc.contributor.authorวิริยะ ณ ระนอง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2009-08-12T05:29:04Z-
dc.date.available2009-08-12T05:29:04Z-
dc.date.issued2541-
dc.identifier.isbn9746395262-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9974-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541en
dc.description.abstractกลาสอินฟิลเทรตเซรามิก (อินซีแรม) เป็นเซรามิกที่มีความแข็งแรงสูงชนิดหนึ่ง สามารถใช้เป็นโครงสร้างภายในของครอบฟัน และสะพานฟันแทนการใช้โลหะ บริษัทผู้ผลิตแนะนำให้กรอตัดเนื้อฟันโดยรอบ 1.2-1.5 มิลลิเมตรสำหรับชั้นของอินซีแรม 0.5 มิลลิเมตรและชั้นพอร์ซเลนวีเนียร์ 0.7-1.0 มิลลิเมตรเพื่อให้ครอบฟันมีความแข็งแรงและสวยงาม อย่างไรก็ตามการกรอตัดเนื้อฟันถึง 1.5 มิลลิเมตรทำได้ยากในทางปฏิบัติ โดยเฉพาะในบริเวณฟันหน้าซึ่งลักษณะทางด้านลิ้นของครอบฟันมีผลต่อความสวยงามไม่มากนัก การกรอตัดเนื้อฟัน 1.5 มิลลิเมตร เพื่อให้มีเนื้อที่สำหรับพอร์ซเลนวีเนียร์ 0.7-1.0 มิลลิเมตรอาจไม่มีความจำเป็น การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบแรงต้านการแตกของครอบฟันที่มีความหนาของชั้นพอร์ซเลนวีเนียร์ทางด้านลิ้นแตกต่างกัน การศึกษาทำโดยเตรียมครอบฟันอินซีแรมสำหรับฟันตัดบน 3 กลุ่มๆ ละ 10 ตัวอย่าง กลุ่มที่ 1 มีพอร์ซเลนวีเนียร์ทางด้านลิ้น 1.0 มิลลิเมตร กลุ่มที่ 2 มีพอร์ซเลนวีเนียร์ทางด้านลิ้น 0.3 มิลลิเมตร และกลุ่มที่ 3 ไม่มีพอร์ซเลนวีเนียร์ทางด้านลิ้นยึดครอบฟันทั้ง 3 กลุ่มบนแม่แบบฟันโลหะโคบอลต์โครเมียมด้วยเรซินซีเมนต์ นำมาทดสอบหาปริมาณแรงกดที่ทำให้ครอบฟันแตกร้าวโดยใช้แรงกดทำมุม 135 องศา กับแนวแกนของครอบฟัน พบว่า ปริมาณแรงกดที่ทำให้ครอบฟันเกิดการแตกร้าวของกลุ่มที่ 1 (789.82 +_ 67 นิวตัน) และกลุ่มที่ 2 (705.23 +_ 146 นิวตัน) มีค่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ แต่มีค่ามากกว่าแรงกดที่ทำให้ครอบฟันกลุ่มที่ 3 เกิดการแตกร้าว (524.06 +_ 90 นิวตัน) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนและการทดสอบ Scheffe จากการทดลองสรุปได้ว่าพอร์ซเลนวีเนียร์ทางด้านลิ้นช่วยให้ครอบฟันอินซีแรมมีแรงต้านการแตกมากขึ้น แต่ความแตกต่างระหว่างความหนาของพอร์ซเลนวีเนียร์ทางด้านลิ้น 0.3 และ 1.0 มิลลิเมตร ไม่มีความสัมพันธ์กับแรงต้านการแตกของครอบฟันอินซีแรมen
dc.description.abstractalternativeGlass infiltrated ceramic (In-Ceram) is categorized in the high strength dental ceramics. It can be used as substructure for all ceramic crowns and bridges. For the proper strength and esthetics of restorations, 1.2-1.5 mm. tooth reduction for all axial wall was recommended, as to provide enough space for the In-Ceram layer; 0.5 mm. and for the porcelain veneer layer; 0.7-1.0 mm. Practically, to reduce 1.5 mm. thickness of tooth material may prejudice other situations. Particularly, at the lingual surface of anterior teeth where esthetic is not critical, such required tooth reduction especially for porcelain veneer layer might be unnecessary. The objective of this study was to evaluate the fracture resistance of In-Ceram crown with different lingual porcelain veneer thickness. Three groups of 10 upper incisor In-Ceram crowns were fabricated. Group I samples had 1.0 mm. lingual porcelain veneer thickness where group II had 0.3 mm. thickness and group III had only glazing layer without lingual porcelain veneer. All crowns were cemented on Cobalt-Chromium dies with resin cement. A mechanical loading directed 135 degrees to long axis of crowns was applied on the incisal thirds of them until the failure was occurred. The failure load found were (x +_ SD Newton) 789.82 +_ 67, 705.23 +_ 146, and 524.06 +_ 90 for group I, II, and III, respectively. ANOVA and Scheffe's statistical analyses revealed that there was no significant difference of fracture resistance between group I and group II and both of them showed higher statistically significant (p<0.05) fracture resistance than group III. In conclusion, regarding the fracture resistance, the presence of lingual porcelain veneer is essential but the difference was not found between 0.3 and 1.0 mm. of the veneer thickness.en
dc.format.extent908526 bytes-
dc.format.extent744007 bytes-
dc.format.extent1012107 bytes-
dc.format.extent1619800 bytes-
dc.format.extent1014795 bytes-
dc.format.extent1248490 bytes-
dc.format.extent768018 bytes-
dc.format.extent1512386 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectครอบฟันen
dc.subjectอินซีแรมen
dc.subjectพอร์ซเลนทางทันตกรรมen
dc.titleผลของความหนาทางด้านลิ้นต่อแรงต้านการแตก ของครอบฟันชนิดกลาสอินฟิลเทรตเซรามิกen
dc.title.alternativeThe effect of lingual thickness on fracture resistance of glass infiltrated ceramic crownen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineทันตกรรมประดิษฐ์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorPrarom.S@chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Viriya_Na_front.pdf887.23 kBAdobe PDFView/Open
Viriya_Na_ch1.pdf726.57 kBAdobe PDFView/Open
Viriya_Na_ch2.pdf988.39 kBAdobe PDFView/Open
Viriya_Na_ch3.pdf1.58 MBAdobe PDFView/Open
Viriya_Na_ch4.pdf991.01 kBAdobe PDFView/Open
Viriya_Na_ch5.pdf1.22 MBAdobe PDFView/Open
Viriya_Na_ch6.pdf750.02 kBAdobe PDFView/Open
Viriya_Na_back.pdf1.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.