Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10693
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศิริเพ็ญ ศุภกาญจนกันติ-
dc.contributor.authorพลพัธน์ โคตรจรัส-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.date.accessioned2009-08-29T03:18:00Z-
dc.date.available2009-08-29T03:18:00Z-
dc.date.issued2544-
dc.identifier.isbn9741703201-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10693-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544en
dc.description.abstractวิเคราะห์เปรียบเทียบถึงความเสมอภาคในการจัดสรรงบประมาณให้แก่สถานพยาบาล จากการนำเอาระบบการจ่ายค่าบริการตามหน่วยของกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม เข้ามาใช้ด้วยแบบจำลองที่แตกต่างกัน โดยศึกษาเฉพาะงบประมาณที่จัดสรรชดเชยให้กับสถานพยาบาล ในส่วนของการให้บริการผู้ป่วยในที่มีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลสูง ที่อยู่ภายใต้โครงการสวัสดิการประชาชนด้านการรักษาพยาบาล และโครงการบัตรสุขภาพเท่านั้น สถานพยาบาลที่เป็นตัวอย่างในการศึกษาเป็นโรงพยาบาลของรัฐบาล ที่สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ประกอบด้วย โรงพยาบาลชุมชน 305 แห่ง โรงพยาบาลทั่วไป 61 แห่ง และโรงพยาบาลศูนย์ 12 แห่ง โดยรวบรวม ข้อมูลทุติยภูมิจากข้อมูลรายงานสถิติของโรงพยาบาลประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2543 ของกระทรวงสาธารณสุข การศึกษาครั้งนี้ได้แบ่งเป็นสองส่วน ในส่วนแรกได้นำค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ของผู้ป่วย และตัวแปรที่แสดงถึงระดับของโรงพยาบาล มาใช้ในการสร้างแบบจำลองการจัดสรรงบประมาณ โดยแบบจำลองที่ใช้ในการศึกษาแบ่งเป็น 3 กรณี กรณีที่1 เป็นการจัดสรรงบประมาณโดยใช้แบบจำลองที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน กรณีที่ 2 เป็นการจัดสรรงบประมาณที่มีการให้น้ำหนักในการจัดสรรงบประมาณต่างกัน สำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มโรคเดียวกันแต่เข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาล ที่มีระดับที่ต่างกัน กรณีที่3 เป็นการจัดสรรงบประมาณที่มีการให้น้ำหนักในการจัดสรรงบประมาณเท่ากัน สำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มโรคเดียวกัน ที่เข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลที่มีระดับที่ต่างกัน โดยใช้วิธีการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ ในการประมาณค่าแบบจำลองในกรณีที่ 2 และ 3 และในส่วนที่สอง ได้วัดความไม่เสมอภาคในการจัดสรรงบประมาณด้วยดัชนี Gini และดัชนี Shorrock จากงบประมาณที่คำนวณโดยใช้แบบจำลองทั้งสามกรณี ผลการวิเคราะห์พบว่าการจัดสรรงบประมาณด้วยแบบจำลองที่ได้จากการวิเคราะห์กรณีที่ 2 และ 3 ให้ความเสมอภาคมากกว่าแบบจำลองที่ใช้อยู่จริง อย่างไรก็ตาม เนื่องจากค่าดัชนีของการจัดสรรงบประมาณในกรณีที่ 2 และ 3 ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จึงถือว่าการจัดสรรงบประมาณทั้งสองกรณี ให้ความเสมอภาคที่ไม่แตกต่างกัน โดยงบประมาณที่สถานพยาบาลได้รับจากการจัดสรรงบประมาณในกรณีที่ 2 มากกว่ากรณีที่ 3 อยู่เล็กน้อย ดังนั้นแบบจำลองที่ใช้ในการจัดสรรงบประมาณให้แก่สถานพยาบาล จึงสามารถเลือกใช้แบบจำลองกรณีที่ 2 หรือ 3 ได้ทั้งสองแบบ ซึ่งถ้ายึดหลักของการจัดสรรงบประมาณตามค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ของผู้ป่วย ให้เป็นไปตามแนวความคิดที่ว่าคุณภาพของการให้บริการรักษาพยาบาลผู้ป่วย ในกลุ่มโรคเดียวกันของโรงพยาบาลในแต่ละระดับแตกต่างกัน ก็สมควรใช้แบบจำลองในกรณีที่ 2 ในการจัดสรรงบประมาณ ตรงกันข้ามถ้าการจัดสรรงบประมาณยึดหลักตามแนวความคิดที่ว่า คุณภาพของการให้บริการรักษาพยาบาลผู้ป่วยในกลุ่มโรคเดียวกัน ของโรงพยาบาลแต่ละระดับไม่แตกต่างกัน ก็น่าที่จะใช้แบบจำลองในกรณีที่ 3 ในการจัดสรรงบประมาณ อย่างไรก็ตาม การจัดสรรงบประมาณ นอกจากค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ของผู้ป่วยแล้วยังขึ้นอยู่กับ ค่าคงที่ในสมการซึ่งแตกต่างกันอีกด้วยen
dc.description.abstractalternativeTo analyze the reimbursements budget allocation for high cost care inpatient under the Social Welfare Scheme and Health Card Scheme. The data for the study was collected from 305 community hospitals, 61 general hospitals, and 12 regional hospitals in fiscal year 2000. The analysis consists of two parts. In the first part, there are three types of budget allocation models using the relative weight and level of hospital as the independent variables, while the allocated budget is the dependent variable. The first model is the existing budget allocation model. The second model is the budget allocation with different weight for the same DRGs in different levels of hospitals. The third model is the budget allocation with the same weight for the same DRGs in different levels of hospitals. Multiple regression analysis is employed for the second and the third model estimation. In the second part, the Gini and Shorrock's Indexes are used to measure the inequity in budget allocation of the three models. The study showed that the budget allocation in the second and the third model have more equity than the existing budget allocation model (the first model). However, the equity in budget allocation between the second and the third models are found no significant different. Therefore, the budget allocation can either based on the second or the third models. The second model should be used, if the budget allocation based on the principle that the quality of health care services for the same DRGs in the hospitals with different levels are different. Whereas, the third model should be used, if the budget allocation based on the principle that the quality of health care services for the same DRGs in the hospitals with different levels are the same. However, the budget allocation not only based on the relative weight but also based on the constant value in the models which are different in each model.en
dc.format.extent1530492 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2001.526-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectประกันสุขภาพ -- ไทยen
dc.subjectงบประมาณen
dc.subjectกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมen
dc.subjectค่าตอบแทนโรงพยาบาลen
dc.subjectสาธารณสุข -- การเงินen
dc.titleความเสมอภาคในการจัดสรรงบประมาณโดยใช้ระบบเกณฑ์กลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมen
dc.title.alternativeThe Equity in budget allocation using diagnosis related group criteriaen
dc.typeThesises
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineเศรษฐศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSiripen.S@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2001.526-
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Polapat.pdf1.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.