Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10823
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง-
dc.contributor.authorสวรัย ชัยภาสกรสกุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2009-08-31T08:49:54Z-
dc.date.available2009-08-31T08:49:54Z-
dc.date.issued2544-
dc.identifier.isbn9700305407-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10823-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาลักษณะคิดเป็นระบบครบวงจรของนักเทคโนโลยีการศึกษาในสถาบันอุดม ศึกษา สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะคิดเป็นระบบครบวงจรของนักเทคโนโลยีการ ศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา สังกัดทบวงมหาวิทยาลัยกับตัวแปรคัดสรรด้านลักษณะส่วนบุคคล ลักษณะงานและลักษณะองค์การ และ 3) เพื่อศึกษาตัวแปรคัดสรรที่ร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของลักษณะคิดเป็นระบบครบ วงจรของนักเทคโนโลยีการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยนี้ เป็นนักเทคโนโลยีการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย 24 แห่ง ที่ปฏิบัติงานในปีการศึกษา 2543 จำนวน 602 คน ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเทคโนโลยีการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา สังกัดทบวงมหาวิทยาลัยมีลักษณะคิดเป็นระบบครบวงจรในระดับมาก ลักษณะย่อยที่พบมาก 3 อันดับแรกคือ 1) การคำนึงถึงความพึงพอใจของผู้มารับบริการเป็นสำคัญ 2) การทำงานตามขั้นตอน เพื่อช่วยให้ตรวจสอบความผิดพลาดได้ง่าย 3) การทำงานแบบยืดหยุ่นปรับเปลี่ยนได้ 2. ในการหาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะคิดเป็นระบบครบวงจรกับตัวแปรคัดสรร พบตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับลักษณะคิดเป็นระบบครบวงจรอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 29 ตัว 3 อันดับแรกได้แก่ 1) หัวหน้าศูนย์เทคโนโลยีการศึกษาร่วมกันแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน 2) หัวหน้าศูนย์เทคโนโลยีการศึกษาแจ้งวัตถุประสงค์ของงานที่ได้รับมอบหมาย 3) หัวหน้าศูนย์เทคโนโลยีการศึกษาแนะนำหรือคำอธิบายงาน และพบตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ทางลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 4 ตัว คือ 1) ระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีสาขาที่เกี่ยวข้องกับวิชาโสตทัศนศึกษา 2) ทำงานในฝ่ายบริการ 3) ประสบการณ์ในการทำงานด้านเทคโนโลยีการศึกษา 1-5 ปี 4) หัวหน้าศูนย์เทคโนโลยีการศึกษาที่มีลักษณะเผด็จการ 3. การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบปกติ มีตัวแปรที่สามารถอธิบายลักษณะคิดเป็นระบบครบวงจร จำนวน 46 ตัว โดยตัวแปรทั้งหมดที่พบสามารถอธิบายความแปรปรวนของลักษณะคิดเป็นระบบครบวงจร ได้เท่ากับ 83.1% 4. การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเพิ่มตัวแปรเป็นขั้น มีตัวแปรที่ สามารถอธิบายลักษณะคิดเป็นระบบครบวงจร ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 3 ตัวได้แก่ 1) หัวหน้าศูนย์เทคโนโลยีการศึกษาแจ้งผลการปฏิบัติงานที่ผ่านมา 2) หัวหน้าศูนย์เทคโนโลยีการศึกษาแจ้งข่าวสารหรือคำสั่งด้วยวาจาอย่างเป็นทาง การ 3) ประสบการณ์ในการทำงานด้านเทคโนโลยีการศึกษา 16-20 ปี ตามลำดับ โดยตัวแปรทั้งหมดที่พบสามารถอธิบายความแปรปรวนของลักษณะคิดเป็นระบบครบวงจร ได้เท่ากับ 49.4 %en
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were 1) to study the systems thinking characteristics of educational technologists in higher educational institutions under the Ministry of University Affairs 2) to study the relationships between the systems thinking characteristics of educational technologists in higher educational institutions and selected variables : individual status, job characteristics and organization characteristics, and 3) to identify predictor variables that affect systems thinking characteristics of educational technologist in higher educational institutions. The samples were 602 educational technologists working in the academic year of 2000. The findings revealed that: 1. Educational technologists in higher educational institutions under the Ministry of University Affairs rated their own systems thinking characteristics as high. The first three high rated characteristics were customer satisfaction concern, working based on procedures and assess and flexible working procedures. 2. There were statistically significant positive relationships at .05 level between systems thinking characteristics and 29 variables. The first three variables were 1) administrators engage in solving performance problems 2) administrators inform job assignment to educational technologists and 3) administrators explain job description. There were statistically significant negative relationships at .05 level between systems thinking characteristics and 4 variables. They were 1) educational level lower than bachelor's degree in the Audio-Visual Education 2) service position 3) educational technology experience with 1-5 years and 4) administrators with autocratic characteristics. 3. In multiple regression analysis at .05 level with enter method, there were 46 predictor variables that affected systems thinking characteristics of educational technologists. They were able to account for 83.1% of the variance. 4. In multiple regression analysis at .05 level with stepwise method, there were three predictor variables that affected systems thinking characteristics of educational technologists. They were 1) administrators report performance results 2) administrators formally-verbally inform information and order and 3) 16-20 years of educational technology experiences. These predictor variables together were able to account for 49.4% of the variance.en
dc.format.extent2190416 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2001.564-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectนักเทคโนโลยีทางการศึกษาen
dc.subjectความคิดและการคิดen
dc.titleตัวแปรคัดสรรที่ส่งผลต่อลักษณะคิดเป็นระบบครบวงจรของนักเทคโนโลยีการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา สังกัดทบวงมหาวิทยาลัยen
dc.title.alternativeSelected variables affecting the systems thinking characteristics of educational technologists in higher education institutions under the Ministry of University Affairsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineโสตทัศนศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorOnjaree.N@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2001.564-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sawarai.pdf2.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.