Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10929
Title: Drug interactions monitoring in epileptic clinic at Neurological Institute
Other Titles: การติดตามการเกิดอันตรกิริยาต่อกันระหว่างยาในคลินิกโรคลมชัก สถาบันประสาทวิทยา
Authors: Sermsook Jantai
Advisors: Pornanong Aramwit
Chuthamanee Suthisisang
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Pharmaceutical Sciences
Advisor's Email: Pornanong.A@Chula.ac.th
No information provided
Subjects: Antiepileptic drugs
Drug interactions
Dtug monitoring
Issue Date: 2003
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: This study was a descriptive and prospective research in epileptic clinic at Neurological Institute, during ten month period from 1st June 2002 31st March 2003. The objectives were to determine the prevalence of drug interactions (DIs) of antiepileptic drugs (AEDs) and AEDs other drugs, and to compare the quality of life (QOL) before and after drug interaction monitorings (DIMs) by pharmacist. Monitoring was performed at least 1 time and more than 1 month apart but no longer than 3 months. There were 312 subjects enrolled in this study. Incidence of DIs was 27.88% (87 cases), which can be devided into 2 categories; 26.28% (82 cases) of possible DIs (PDIs) and 1.60% (5 cases) of actual DIs (ADIs). Three hundreds and twelve prescriptions from 312 cases were enrolled to identify drug groups which favorable prescribed, the most favorable AED was phenobarbital (203 cases, 65.06%), phenytoin (196 cases, 62.82%) and carbamazepine (130 cases, 41.67%), respectively. Drugs which favorable prescribed with AEDs were folic acid (199 cases, 63.78%), benzodiazepines, vitamin & minerals and tricyclic antidepressants, respectively. The clinical importance interaction between AEDs, VPA and LTG, was not found in this clinic. In cases presented with PDIs, classified into 32 DDIs of pharmacokinetics interactions, the mechanism was metabolic processes (90.63%). The severity of DIs of 58.42% was moderate and 42.57% was minor and no severe case. Pharmacodynamic PDIs were classified into 58 of DDIs, the most common mechanism was additive interaction and combined toxicity (51.72%). The severity of all PDIs were minor. This study found that ADIs occurred during metabolic stage, pharmacokinetic interactions. Medications prescribed in cases of ADIs were estrogens and warfarin. Patients 138 from 312 cases (44.23%) were enrolled for QOL assessment. In aspect of adverse events of AEDs and general health, PDIs group showed an improvement of QOLʼs score after DIMs by pharmacist (p = 0.864 and 0.045). But in ADIs group found that general health was declined significantly. In aspect of psychosocial, improved scores in 13 domains were observed in PDIs groups and 12 domains in ADIs, respectively.
Other Abstract: การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบพรรณนาไปข้างหน้า ในคลินิกโรคลมชักของสถาบันประสาทวิทยาในช่วงระยะเวลา 10 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.2545 ถึง 31 มีนาคม พ.ศ. 2546 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาความชุกของการเกิดอันตรกิริยาต่อกันระหว่างยากันชัก และยากันชักกับยาอื่น และเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยก่อนและหลังการติดตามโดยเภสัชกร การติดตามการเกิดอันตรกิริยาต่อกันระหว่างยาในผู้ป่วยจะทำการติดตามอย่างน้อย 1 ครั้งซึ่งมีระยะเวลาห่างกันอย่างน้อย 1 เดือนแต่ไม่เกิน 3 เดือน ผลการเก็บข้อมูลผู้ป่วยทั้งสิ้นจำนวน 312 คน พบความชุกของการเกิดอันตรกิริยาต่อกันระหว่างยาทั้งหมดคิดเป็นร้อยละ 27.88 (87 ราย) แยกเป็นการเกิดอันตรกิริยาต่อกันระหว่างยาที่อาจเป็นไปได้คิดเป็นร้อยละ 26.28 (82 ราย) และการเกิดอันตรกิริยาต่อกันระหว่างยาที่เกิดจริงคิดเป็นร้อยละ 1.6 (5 ราย) ตามลำดับ จากการเก็บข้อมูลรายการยาในใบสั่งยาจำนวน 312 ใบ พบว่ายากันชักที่นิยมสั่งจ่ายมากที่สุดคือ phenobarbital (ร้อยละ 65.06), phenytoin (ร้อยละ 62.82) และ carbamazepine (ร้อยละ 41.67) ตามลำดับ ส่วนยาที่มักพบสั่งใช้ร่วมกับยากันชักมากที่สุดคือ folic acid (ร้อยละ 63.78), benzodiazepines (ร้อยละ 14.73) และ vitamin & mineral (ร้อยละ 12.18) ตามลำดับ การศึกษานี้ไม่พบว่ามีการเกิดอันตรกิริยาต่อกันระหว่างยากันชักที่มีความสำคัญทางคลินิกคือระหว่าง valprolic acid และ lamotrigine พบคู่ยาที่เกิดอันตรกิริยาต่อกันระหว่างยาที่อาจเป็นไปได้ด้วยกระบวนการทางเภสัชจลนศาสตร์จำนวน 32 คู่ยา โดยเกิดในขั้นตอนเมตาบอลิซึมร้อยละ 90.63 ความรุนแรงอยู่ในระดับกลางร้อยละ 58.42 ความรุนแรงระดับเล็กน้อยร้อยละ 42.57 และไม่พบความรุนแรงในระดับสูง พบคู่ยาที่เกิดอันตรกิริยาต่อกันระหว่างยาที่อาจเป็นไปได้ด้วยกระบวนการทางเภสัชพลศาสตร์จำนวน 58 คู่ยา ส่วนใหญ่ร้อยละ 51.72 เป็นการเกิดอันตรกิริยาแบบเสริมกันและเพิ่มความเป็นพิษจากการใช้ยาโดย ทั้งหมดมีความรุนแรงระดับเล็กน้อย ยาที่เกิดอันตรกิริยาต่อกันระหว่างยาแบบเกิดจริงกับยากันชัก คือ estrogens และ warfarin ผู้ป่วยจำนวน 138 คนจากจำนวน 312 คน คิดเป็นร้อยละ 44.23 ได้รับการประเมินคุณภาพชีวิต โดยคุณภาพชีวิตในแง่ผลข้างเคียงจากการใช้ยาและคุณภาพชีวิตโดยรวมพบว่า กลุ่มที่มีแนวโน้มจะเกิดอันตรกิริยาต่อกันระหว่างยามีผลข้างเคียงจากการใช้ยาลดลงและมีคุณภาพชีวิตโดยรวมดีขึ้นภายหลังการติดตามการใช้ยา (p = 0.864 และ 0.045) ขณะที่กลุ่มที่เกิดอันตรกิริยาต่อกันระหว่างยาแบบเกิดจริงพบว่าคุณภาพชีวิตโดยรวมของผู้ป่วยลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนคุณภาพชีวิตในแง่จิตสังคมพบว่า ภายหลังการติดตามการใช้ยากลุ่มที่มีแนวโน้มที่จะเกิดอันตรกิริยาต่อกันระหว่างยาและกลุ่มที่เกิดอันตรกิริยาต่อกันระหว่างยาแบบเกิดจริงมีแนวโน้มของคุณภาพชีวิตในแง่จิตสังคมดีขึ้นจำนวน 13 มิติและ 12 มิติ ตามลำดับ
Description: Thesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 2003
Degree Name: Master of Science in Pharmacy
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Clinical Pharmacy
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10929
ISBN: 9741740239
Type: Thesis
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sermsook.pdf804.92 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.