Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/110
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรุจ จำเดิมเผด็จศึก-
dc.contributor.advisorสถาพร สุปรีชากร-
dc.contributor.authorสุนีย์ วงศาศิรินาท, 2517--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-05-29T01:58:46Z-
dc.date.available2006-05-29T01:58:46Z-
dc.date.issued2545-
dc.identifier.isbn9741730977-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/110-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545en
dc.description.abstractศึกษาค่าความแข็งแรงในการยึดอยู่ของซิงค์ฟอสเฟตซีเมนต์ที่ยึดครอบฟันบนฟันหลักรากเทียมเมื่อใช้ขนาดช่องว่างสำหรับซีเมนต์ที่ระดับต่างๆ(25, 50, 75 และ 100 ไมโครเมตร) และ ศึกษาผลของการให้แรงความล้าที่มีต่อค่าความแข็งแรงในการยึดอยู่ของครอบฟัน โดยวัดขนาดฟันหลักรากเทียมระบบแองไคลอสด้วยเครื่องวัดโปรไฟล์โปรเจคเตอร์ จำลองและออกแบบฟันหลักและครอบฟันด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ แล้วกลึงฟันหลักจำลองและครอบฟันจำนวนกลุ่มละ 10 ชิ้น กำหนดขนาดช่องว่างสำหรับซีเมนต์ภายในครอบฟันด้วยการกัดกร่อนผิวภายในด้วยไฟฟ้า ทำให้เกิดความแม่นยำในการเตรียมช่องว่าง ทำความสะอาดครอบฟันและฟันหลักที่ยึดในกล่องอะคริลิกในลักษณะตั้งฉากในน้ำยาทำความสะอาดซีเมนต์และน้ำกลั่นในเครื่องอัลตราโซนิคแล้วเป่าแห้ง ยึดครอบฟันด้วยซิงค์ฟอสเฟตซีเมนต์ตามอัตราส่วนบริษัทผู้ผลิตทั้ง 10 คู่ จากนั้นแช่ชิ้นงานในน้ำกลั่น 37 องศาเซลเซียส 24 ชั่วโมง นำมาทดสอบค่าความแข็งแรงในการยึดอยู่ด้วยเครื่องลอยด์อินสตรูเมนต์ ทดสอบข้อมูลทางสถิติด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบจำแนกทางเดียว พบว่ากลุ่มช่องว่างขนาด 25 ไมโครเมตรให้แรงยึดอยู่สูงสุดคือ 1334.1 นิวตัน กลุ่มช่องว่างขนาด 100 ไมโครเมตรให้แรงยึดอยู่ต่ำสุดคือ 1303 นิวตัน แต่ทุกกลุ่มไม่มีความแตกต่างของค่าแรงยึดอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 จากนั้นนำฟันหลักและครอบฟันมาทำความสะอาดและยึดด้วยซีเมนต์ซ้ำเก็บในน้ำกลั่น 37 องศาเซลเซียส 24 ชั่วโมงแล้วจึงนำเข้าเครื่องให้แรงความล้า ขนาดแรง 288 นิวตัน ความถี่ 0.5 รอบต่อวินาที จำนวน 750,000 รอบ ทุกกลุ่ม แล้วทดสอบข้อมูลทางสถิติ พบว่ากลุ่มช่องว่างขนาด 100 ไมโครเมตรให้แรงยึดอยู่ต่ำสุดและต่ำกว่าขนาดช่องว่าง 25, 50 และ 75ไมโครเมตร อย่างมีนัยสำคัญ และเปรียบเทียบค่าแรงยึดกับก่อนรับแรงระหว่างกลุ่มขนาดช่องว่างเดียวกัน พบว่ากลุ่มขนาดช่องว่าง 100 ไมโครเมตร มีค่าแรงยึดอยู่ลดน้อยลงกว่าก่อนรับแรงอย่างมีนัยสำคัญเพียงกลุ่มเดียวen
dc.description.abstractalternativeEvaluates the effect of cement thickness on retentive strength of cement-retained implant supported restoration before and after cyclic loading. Duplicated abutments (Ankylos Balance Suprastructure System; Straight posterior version) were fabricated using the Computer Numerical Control machine. Different internal space (representing four cement thickness of 25,50,75 and100 micron) was prepared inside each crown by method of spark EDM for the accuracy of cement space. All specimens were luted with zinc phosphate cement and then stored in distilled water 37ํC for 24 hours prior to testing. The retentive bond strength (RBS) was determined using Lloyd testing instrument. ANOVA and Turkey statistical analysis were performed at p<0.05. The result indicated that there was no significant difference in RBS in any tested group. In the second part of the experiment, specimens were subjected to cyclic load with loading force of 288 N, frequency 0.5 HZ. for 750,000 cycles. Specimens in each group were cleaned, recemented with zinc phosphate cement and stored in distilled water 37 ํC for 24 hours prior to testing. Specimens were then installed in customized cyclic loading machine. The RBS was determined and analyzed at p<0.05. The result indicated that only Group 4(100 micron) showed significantly lower RBS than other groups after receiving cyclic load. When non-cyclic and cyclic RBS was analyzed, group 4 was the only group that showed significantly lower cyclic RBS than non-cyclic RBS.en
dc.format.extent1289238 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2002.601-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการยึดติดทางทันตกรรมen
dc.subjectซีเมนต์ทางทันตกรรมen
dc.subjectทันตวัสดุ--ความล้าen
dc.titleผลของความหนาของซีเมนต์ต่อค่าความแข็งแรงในการยึดอยู่ของครอบฟันบนรากเทียมชนิดที่ใช้ซีเมนต์ยึดหลังการให้แรงความล้าen
dc.title.alternativeThe effect of cement thickness on retentive strength of cement-retained implant supported restoration after cyclic loadingen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineทันตกรรมประดิษฐ์en
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2002.601-
Appears in Collections:Dent - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sunee.pdf1.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.