Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11107
Title: การพัฒนาและนำแบบจำลองการบริบาลทางเภสัชกรรมไปปฏิบัติในผู้ป่วยสูงอายุ บนหอผู้ป่วยอายุรกรรม ที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
Other Titles: Development and implementation of a pharmaceutical care model for geriatric patients in an internal medicine ward at Thammasart University Hospital
Authors: ศรีสุมล ศรีแสงเงิน
Advisors: เรวดี ธรรมอุปกรณ์
ศุภกิจ วงศ์วิวัฒนนุกิจ
ก้องเกียรติ กูณฑ์กันทรากร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์
Advisor's Email: Rawadee.D@Chula.ac.th
Supakit.W@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: การบริบาลทางเภสัชกรรม
การใช้ยา
ผู้สูงอายุ -- การใช้ยา
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: พัฒนาและจัดตั้งรูปแบบที่เหมาะสมในการให้การบริบาลทางเภสัชกรรม สำหรับผู้ป่วยสูงอายุบนหอผู้ป่วยอายุรกรรม ที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2545 ถึง 31 มกราคม 2546 ประชากรตัวอย่างได้แก่ผู้ป่วยสูงอายุรับใหม่ ณ หอผู้ป่วยอายุรกรรมชายอายุตั้งแต่ 60 ปี ได้รับยาตั้งแต่ 1 รายการขึ้นไป โดยดำเนินงานบริบาลทางเภสัชกรรมตามรูปแบบที่กำหนด มีการบ่งชี้และรวบรวมปัญหาจากการใช้ยา รวมทั้งบทบาทของเภสัชกรในการดำเนินงานต่อปัญหาจากการใช้ยาที่พบ ประเมินทัศนคติของแพทย์ พยาบาลและความพึงพอใจของผู้ป่วยที่ได้รับการบริการจากเภสัชกรด้วยแบบสอบถาม ผลการวิจัยพบว่าเภสัชกรสามารถให้การบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยสูงอายุ 76 ราย ผู้ป่วยอาการดีขึ้นแพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้ 35 ราย และเภสัชกรติดตามผู้ป่วยจนกระทั่งกลับมาติดตามผลการรักษาครั้งแรกได้ 20 ราย พบปัญหาจากการใช้ยาทั้งสิ้น 58 ปัญหา เป็นปัญหาจากการใช้ยาขณะผู้ป่วยอยู่บนหอผู้ป่วยจำนวน 57 ปัญหา (31 ราย) คิดเป็น 98.3% ของปัญหาจากการใช้ยา และปัญหาจากการใช้ยาเมื่อผู้ป่วยกลับมาติดตามการรักษา 1 ปัญหา (1 ราย) ปัญหาจากการใช้ยาที่พบขณะผู้ป่วยอยู่บนหอผู้ป่วย เป็นปัญหาจากการสั่งใช้ยา ปัญหาการติดตามการใช้ยาและการตอบสนองต่อยา ปัญหาจากการใช้ยาทั้งสิ้นได้รับการแก้ไข 52 ปัญหา คิดเป็น 89.7% และปัญหาที่ต้องเฝ้าระวัง 6 ปัญหาคิดเป็น 10.3% เภสัชกรได้ประสานงานกับแพทย์และปัญหาได้รับการแก้ไขตามข้อเสนอแนะของเภสัชกร คิดเป็น 87.7% โดยกิจกรรมที่เภสัชกรได้ดำเนินการต่อปัญหาที่เกิดขึ้นมากที่สุดคือ การให้คำแนะนำต่อแพทย์ในการปรับเปลี่ยนขนาดยา ในส่วนของผลการทดสอบความเห็นร่วมในการบ่งชี้ปัญหา จากการรักษาด้วยยาของแพทย์และผู้วิจัย พบว่าแพทย์และผู้วิจัยมีความเห็นตรงกันเป็นส่วนใหญ่ในปัญหาที่เกิดขึ้น (K=0.9) การประเมินผลการดำเนินงานพบว่าบุคลากรทางการแพทย์ และผู้ป่วยมีความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานของเภสัชกร ซึ่งช่วยลดปัญหาจากการใช้ยาและทำให้ผู้ป่วยได้รับประโยชน์สูงสุดจากการใช้ยา ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าควรจัดตั้งให้มีงานบริบาลทางเภสัชกรรม และขยายงานไปยังหอผู้ป่วยอื่นต่อไปและการวิจัยต่อไปในอนาคต ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมถึงคุณภาพของงานบริบาลทางเภสัชกรรม ในแง่ผลลัพธ์ด้านอาการทางคลินิกของผู้ป่วย หรือผลลัพธ์ทางด้านเศรษฐศาสตร์ด้วย
Other Abstract: To develop and implement a model of pharmaceutical care in an internal medicine ward for geriatric patients at Thammasart University Hospital during October 1, 2002 to January 31, 2003. Subjects consisted of geriatric patients (over 60 years of age) who were newly admitted in male internal medicine ward and received at least one drug therapy. Primarily, a pharmacist implemented a pharmaceutical care model to patients by identifying and collecting drug-used problems in drug therapy process and also justification of pharmacist's role in fulfillment of the model. Eventually, the model was evaluated by physicians and nurses in term of his/her attitudes toward the implementation of the model. Patients' satisfaction of the model was also assessed. Results showed that pharmacist had provided care to 76 patients and 35 patients got recuperated and finally discharged from the hospital. There were 20 patients received continuity of pharmaceutical care in the first follow-up. Fifty-eight drug-used problems were identified, 57 problems occurred when patients were admitted (31 patients) and 1 problem presented when patient came to follow-up (1 patient). When patients were admitted, drug-used problems classified as prescribing problems and monitoring problems. Fifty-two out of 58 problems (89.7%) were resolved and 6 problems (10.3%) needed to be monitored closely. Moreover, most of the interventions performed by a pharmacist (87.7%) were completely approved by physicians, the major intervention was changing dosage regimens. The chance-corrected measure of drug therapy problems agreement by physician and pharmacist showed almost perfectly agreement (k=0.9). Based on the evaluation of pharmaceutical care model, it indicated that health care staffs and patients was satisfied the model in terms of reducing the drug-used problems and making the best use of drugs to the patients. Results suggest that pharmaceutical care should be implemented and further expanded to other medical wards. Further research should focus on the quality of pharmaceutical care in terms of clinical and/or economic outcomes.
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เภสัชกรรมคลินิก
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11107
ISBN: 9741798393
Type: Thesis
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Srisumol.pdf1.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.