Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11460
Title: ผลของการให้ข้อมูลทางสุขภาพร่วมกับการนวดกดจุดสะท้อนที่เท้าด้วยนำมันหอมระเหยต่อกลุ่มอาการไม่สบายและความผาสุขของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัด
Other Titles: Effects of providing health information and aromatherapy foot reflexology on unpleasant symptoms and well-being in breast cancer undergoing chemotherapy
Authors: ศิริพร พันธ์พริ้ม
Advisors: ชนกพร จิตปัญญา
สัจจา ทาโต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Chanokporn.J@Chula.ac.th
Sathja.T@Chula.ac.th
Subjects: มะเร็งเต้านม -- ผู้ป่วย
เท้า -- การนวด
น้ำมันหอมระเหย -- การใช้รักษา
การแนะแนวสุขภาพ
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองเพื่อเปรียบเทียบผลของการให้ข้อมูลทางสุขภาพร่วมกับการนวดกดจุดสะท้อนที่เท้าด้วย น้ำมันหอมระเหยุต่อกลุ่มอาการไม่สบายและความผาสุกของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัด กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยมะเร็ง เต้านมที่ได้รับการวินิจฉัยว่าอยู่ในระยะที่ 1 และ 2 ได้รับการผ่าตัดเต้านมและต่อมน้ำเหลือง แล้วและได้รับการรักษาด้วยเคมี บำบัดเป็นครั้งแรก ที่ศูนย์เคมีบำบัดโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 40 ราย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 20 ราย และกลุ่มทดลอง 20 ราย โดยคำนึงถึงความใกล้เคียงกันในเรื่องอายุ สูตรเคมีบำบัดที่ได้รับ ระยะของโรค ชนิดของ การทำผ่าตัดกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับการให้ข้อมูลทางสุขภาพร่วมกับ การนวดกดจุดสะท้อน ที่เท้าด้วยน้ำมันหอมระเหย ซึ่งการจัดกระทำนี้ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจากทฤษฎีอาการไม่สบายของ Lenz และคณะ (1997) แนวคิด การให้ข้อมูลของ Butcher (cited in McCloskey and Bulecker, 2000) และการดูแลแบบผสมผสาน ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนคือ 1) การสร้างสัมพันธภาพ 2) การให้ข้อมูลเป็นรายบุคคล 3) การนวดกดจุดสะท้อนที่เท้าด้วยน้ำมันหอมระเหย 4) การประเมินผล และสอบถามความคิดเห็นต่อการนวด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมิน อาการเหนื่อยล้า แบบประเมินอาการนอนไม่หลับ แบบประเมินอาการวิตกกังวลขณะเผชิญ แบบประเมินความผาสุกซึ่งผ่าน การตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ มีค่าความเที่ยงจากการคำนวณค่าสัมประสิทธ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .95, .83, .68 และ .75 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. คแนนเฉลี่ยกลุ่มอาการไม่สบายในกลุ่มที่ได้รับการให้ข้อมูลทางสุขภาพร่วมกับการนวดกดจุดสะท้อน ที่เท้าด้วยน้ำมันหอมระเหยต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. คะแนนเฉลี่ย ความผาสุกในกลุ่มที่ได้รับการให้ข้อมูลทางสุขภาพร่วมกับการนวดกดจุดสะท้อนที่เท้าด้วยน้ำมันหอมระเหยสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับ การพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Other Abstract: This quasi-experimental research was to compare the effect of providing health information and aromatherapy foot reflexology on unpleasant symptoms and well-being in breast cancer patients undergoing chemotherapy. The subjects were 40 outpatients with breast cancer receiving the first course of chemotherapy at Day Care of Chulalongkorn Memorial Hospital, and were selected by a convenience sampling. The subjects were equally divided into a control group and an experimental group. The subjects were matched by age, chemotherapy regimen, stage of disease and type of operation. The control group received conventional nursing care while the experimental group received the providing health information and aromatherapy foot reflexology. The intervention was developed based on the theory of Unpleasant Symptoms and the Health Information of Butcher. The program comprised of four sessions: 1) forming relationship, 2) providing information, 3) foot reflexology with aromatherapy, 4) evaluation of foot massage. Data was collected using the demographic data form, the Fatigue Questionnaire, the Insomnia Questionnaire, the Anxiety Questionnaire, and Well-Being Questionnaire. They were tested for content validity by a panel of experts. They demonstrated acceptable reliability with Cronbach’s alpha coefficients at .95, .83, .68 and .75, respectively. Data was analyzed using descriptive statistics, and t-test.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11460
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.871
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.871
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Siriporn.pdf4.55 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.