Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11877
Title: อัตราการติดเชื้อไซโตเมกาโลไวรัสและไวรัสเฮอร์ปีส์ซิมเพล็กซ์จากมารดาสู่บุตร ในหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อเอชไอวีเปรียบเทียบกับหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่ติดเชื้อเอชไอวี : รายงานการวิจัย
Other Titles: Transmission rate of congenital infection of cytomegalovirus (CMV) and herpes simplex virus (HSV) comparing between human immunodeficiency virus (HIV) infected and non-HIV infected pregnant women
Authors: ภาวพันธ์ ภัทรโกศล
ปราโมทย์ ไพรสุวรรณา
Email: Parvapan.B@Chula.ac.th
Pramote.P@Chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Subjects: การติดเชื้อไซโตเมกาโลไวรัส
เฮอร์ปีสไวรัส โฮมินิส
สตรีมีครรภ์
การติดเชื้อเอชไอวี
Issue Date: 2550
Publisher: คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: มารดาที่ติดเชื้อไวรัสเอชไอวีมีความชุกในการติดเชื้อไวรัสเฮอร์ปีส์ซิมเพล็กซ์ไทป์ 1 (67.5%) และ ไซโตเมกาโลไวรัส (97.5%) ไม่แตกต่างจากมารดาที่ไม่มีการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี (มารดาปกติ 75% และ 100% ตามลำดับ) แต่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในการติดเชื้อไวรัสเฮอร์ปีส์ซิมเพล็กซ์ไทป์ 2 (65% vs 35%, p-value = 0.05) จากการเก็บตัวอย่างพลาสมา เม็ดเลือดขาว และปัสสาวะจากทารกแรกคลอด ตรวจหาสารพันธุกรรมของไวรัสเฮอร์ปีส์ซิเพล็ก พบว่าตัวอย่างทั้งสามชนิดให้ผลไม่แตกต่างกันระหว่างมารดาทั้งสองกลุ่ม แต่กรณีไซโตเมกาโลไวรัส ตัวอย่างปัสสาวะ นับเป็นตัวอย่างที่ดีที่สุด เพราะพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (90.91%, p-value = 0.04) การตรวจจำนวนชนิดตัวอย่างที่เพิ่มขึ้นเป็นการยืนยันการติดเชื้อในทารกแรกคลอดได้เป็นอย่างดี เมื่อคำนวณอัตราติดเชื้อไซโตเมกาโลไวรัสจากมารดาสู่บุตรในครรภ์ พบว่า ระหว่างมารดาที่ติดเชื้อไวรัสเอชไอวีและมารดาปกติมีความแตกต่างกันเลยคิดเป็น 43.50% และ 40% (p-value=1) และอัตราการติดเชื้อไวรัสเฮอร์ปีส์ซิมเพล็กซ์ทั้งสองชนิดจากมารดาสู่บุตรในครรภ์ ก็ไม่พบความแตกต่างเช่นกัน คือ 46.15% และ 33.33% (p-value=0.40) มีข้อน่าสังเกตคือ กลุ่มมารดาสองกลุ่มที่เคยติดเชื้อไวรัสเอชไอวีและกลุ่มมารดาปกติ ที่มารดาเคยมีการติดเชื้อไซโตเมกาโลไวรัสแล้ว และไม่สามารถตรวจพบสารพันธุกรรมของไวรัสในตัวอย่างพลาสมาและหรือเม็ดเลือดขาวในขณะคลอด สามารถพบอัตราการติดเชื้อของไวรัสไซโตเมกาโลไวรัสในทารกแรกคลอดได้ 27.78% และ 27.27% (p-value=1) ไม่แตกต่างกัน เช่นเดียวกับไวรัสเฮอร์ปีส์ซิมเพล็กซ์ เป็นไปได้ว่าในระหว่างการตั้งครรภ์มีการ (reactivation) กลับมาของโรคเป็นระยะๆ เพราะไวรัสทั้งสามนี้มีคุณสมบัติการติดเชื้อแบบหลบซ่อน (latent infection) อย่างไรก็ตามในมารดาที่ติดเชื้อไวรัสเอชไอวีและมีการติดเชื้อครั้งแรกของไวรัสเฮอร์ปีส์ซิมเพล็กซ์ อัตรราการติดเชื้อไวรัสจากมารสู่ทารกคิดเป็น 100% ในขณะที่กลุ่มมารดาปกติที่มีการติดเชื้อครั้งแรกไม่พบมีการติดเชื้อในทารกเลย (0%) เชื่อว่าความสามารถในการพัฒนาภูมิคุ้มกันจำเพาะต่อไวรัสเฮอร์ปีส์ซิมเพล็กซ์แตกต่างกัน
Other Abstract: Prevalence of HSV-1 (67.5%) and CMV (97.5%) infection among HIV infected mothers were not different from non-HIV infected mothers (75% and 100%) while prevalence of HSV-2 was statistically significant different (65% vs 35%, p-value=0.05). Three types of clinical specimens, i.e., plasma, white blood cell (WBC) and urine from newborns were used in this study. No difference among those three types of specimen was in HSV DNA determination by PCR. Whereas in CMV DNA detection, urine was shown to be the best specimen used (90%, p-value=0.04). Increase types of specimens to be detected helped to confirm the viral infection in newborn. Transmission rate of congenial CMV infection between two groups of (HIV infected and non-infected) mothers was not significantly different (43.50% and 40%, p-value=1) similar to transmission rate of congenital HSV infection (46.15% vs 33.33%, p-value=0.40). Noticing that within both groups, mothers who experienced CMV infection and unable to detect DNA in either plasma or WBC at delivery showed 27.78% and 27.27% transmission rate of CMV infection to newborn (p-value=1) which was the same as HSV infection. This phenomenon could occur due to the reactivation of CMV and HSV during pregnancy since these viruses cause latent infection. However, HIV infected mothers who had primary HSV infection showed transmission rate of HSV infection to newborn 100%. On contrary, normal or non-HIV infected mothers with primary HSV infection could not be demonstrated (0%). It was believed that the ability in developing specific immune response after infection between these 2 groups was different.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11877
Type: Technical Report
Appears in Collections:Med - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
parvapan_transmission.pdf3.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.