Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12095
Title: การหาปริมาณยาปฏิชีวนะกลุ่มเตตร้าไซคลินในกุ้ง โดยใช้เทคนิคโฮเปอร์ฟอร์มานส์ลิควิดโครมาโทกราฟี ร่วมกับการตรวจวัดด้วยเทคนิคพัลส์แอมเพอโรเมทรีโดยใช้ขั้วไฟฟ้าเพชรที่โดปด้วยบอรอน : รายงานผลการวิจัย
Authors: อรวรรณ ชัยลภากุล
Email: corawon@chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: เททราซัยคลินส์
กุ้ง
ปฏิชีวนะ
ไฮเปอร์ฟอร์แมนซ์ลิควิดโครมาโตกราฟี
พัลส์แอมเพอโรเมทรี
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในการวิจัยทำการศึกษาปฎิกิริยาออกซิเดชันของเททระไซคลิน ออกซิเททระไซคลิน คลอเททระไซคลินและดอกซิไซคลินโดยใช้ขั้วไฟฟ้าทองและขั้วไฟฟ้าแอโนไดซ์โบรอนโดปไดมอนด์ โดยใช้การตรวจวัดแบบไซคลิกโวลแทมเมทรี พบว่าขั้วไฟฟ้าทั้งสองชนิดให้ผลของไซคลิกโวลแทมโมแกรมที่ชัดเจน ได้ทำการศึกษาตัวแปรที่เหมาะสมของเทคนิค PAD เมื่อขั้วไฟฟ้าทั้งสองชนิดโดยใช้ระบบ HPLC สภาวะของระบบ HPLC คือ สารละลายฟอสเฟตบัฟเฟอร์ความเข้มข้น 0.01 โมล่าร์ pH 2.5 และอะซิ-โทไนไตรล์ ในอัตราส่วน 80 ต่อ 20 โดยปริมาตรและคอลัมน์ที่ใช้คือ C [subscript 18] ที่อัตราเร็ว 1 มิลลิลิตรต่อนาที ณ อุณหภูมิห้อง จากนั้นทำการศึกษาเทคนิค HPLC-PAD สำหรับวิเคราะห์สารกลุ่มเททระไซคลินโดยใช้ขั้วไฟฟ้าทั้งสองชนิด พบว่าขั้วไฟฟ้าแอโนไดซ์โบรอนโดปไดมอนด์ให้ขีดจำกัดต่ำสุดในการตรวจวัดที่ต่ำกว่า ให้ช่วงการตรวจที่วัดเป็นเส้นตรงกว้างกว่า และให้ความไวสูงกว่าไฟฟ้าทอง ตัวแปร PAD ที่เหมาะสมเมื่อใช้ขั้วไฟฟ้าแอโนไดซ์โบรอนโดปไดมอนด์ได้แก่ศักย์ไฟฟ้าที่ตรวจวัด 1.5 โวลต์เป็นเวลา 290 มิลลิวินาทีศักย์ไฟฟ้าที่ออกซิเดชัน 2 โวลต์ เป็นเวลา 200 มิลลิวินาที และศักย์ไฟฟ้ารีดักชัน 0.4 โวลต์ เป็นเวลา 200 มิลลิวินาที เทคนิค HPLC-PAD สามารถวิเคราะห์หาปริมาณยาปฎิชีวนะกลุ่มเททระไซคลินในกุ้งได้ ความเข้มข้นในการตรวจวัดที่เป็นเส้นตรงในช่วง 0.1-100 พีพีเอ็ม ที่ขีดจำกัดต่ำสุดในการตรวจวัด 0.01-0.05 พีพีเอ็ม ค่าการคืนกลับอยู่ในช่วง 75.0 ถึง 98.4 เปอร์เซ็นต์ ที่ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานสัมพัทธ์ไม่เกิน 10 เปอร์เซ็นต์ ในงานวิจัยนี้ได้ทำการประยุกต์ใช้กับตัวอย่างกุ้งโดยผลที่ได้จากวิธีที่เสนอให้ค่าการคืนกลับสูงกว่ากับวิธีที่วัดตามมาตรฐานเอโอเอซี
Other Abstract: The oxidation of tetracyclines; i.e. tetracycline, oxytetracycline, chlortetracycline and doxycycline was investigated at Au and anodized BDD electrodes using cyclic voltammetry. It was found that tetracyclines provided well-defined cyclic voltammogram at both electrodes. The PAD waveform parameters were optimized at both Au and anodized BDD electrodes by HPLC system. The HPLC conditions were carried out using the mobile phase of phosphate buffer (0.01M, pH 2.5)-acetonitrile (80:20; v/v) 0n a C [subscript 18] column at a flow rate of 1.0 mL/min at room temperature. The analytical performance of the Au and anodized BDD electrodes was examined by HPLC-PAD. It was found that the anodized BDD electrode provided lower detection limit, wider linear range and higher sensitivity than the Au electrode. The optimal PAD wave form parameters at the anodized BDD were 1.5 detection potential (E[subscript der]) for 290 ms (200 ms delay time and 90 ms integration time), 2.0 V oxidation potential (E [subscript ard]) for 200 ms oxidation time (t [subscript ard]) and 0.4 V reduction potential (E[subscript red]) for 200 ms reduction time (t [subscript red]) HPLC-PAD with the anodized BDD electrode has been successfully applied to determine tetracycline antibiotics in shrimps. The linear concentration range of tetracycline was 0.1 to 100 ppm with the detection limit of 0.01-0.05 ppm. The recovery was in the range of 75.0-98.4% with RSD<10%. The proposed method was applied to analyse tetracyclines in shrimp samples. The results from proposed method gave higher % recovery than those obtained by AOAC official method.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12095
Type: Technical Report
Appears in Collections:Sci - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Orawan_Ch.pdf3.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.