Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12239
Title: การเปรียบเทียบการทดสอบเอฟและการทดสอบมอนติคาร์โลด้วยอัตราส่วนภาวะน่าจะเป็น สำหรับแผนการทดลองแบบสุ่มตลอดที่ปัจจัยทดลองคงที่
Other Titles: A comparison on F-test and monte carlo likelihood ratio test for fixed-effect completely randomized design
Authors: อรไท สงวนสินธ์
Advisors: สุพล ดุรงค์วัฒนา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
Advisor's Email: fcomsdu@acc.chula.ac.th, Supol.D@Chula.ac.th
Subjects: การออกแบบการทดลอง
การวิเคราะห์ความแปรปรวน
ความน่าจะเป็น
วิธีมอนติคาร์โล
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เปรียบเทียบวิธีการทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับความแตกต่าง ระหว่างอิทธิพลของทรีทเมนต์ กรณีที่ขนาดตัวอย่างในแต่ละทรีทเมนต์เท่ากัน 2 วิธี คือ การทดสอบเอฟและการทดสอบมอนติคาร์โลด้วยอัตราส่วนภาวะน่าจะเป็น ในการวิจัยครั้งนี้ได้จำลองข้อมูลจากเทคนิคมอนติคาร์โลด้วยโปรแกรม S-PLUS 2000 โดยกำหนดให้จำนวนทรีทเมนต์ที่ใช้ทดลองเท่ากับ 2 3 4 และ 5 ขนาดตัวอย่างในแต่ละทรีทเมนต์เท่ากับ 2 4 6 และ 8 และสัมประสิทธิ์ความแปรผันเท่ากับ 10% 20% และ 30% โดยที่ระดับนัยสำคัญที่ศึกษาคือ 0.01 และ 0.05 เกณฑ์ที่ใช้ในการเปรียบเทียบตัวสถิติที่ใช้ในการทดสอบทั้ง 2 วิธีคือ ค่าสัดส่วนของการปฏิเสธสมมติฐานว่างและอำนาจการทดสอบ ผลการศึกษาจะสรุปได้ดังนี้คือ 1. ค่าสัดส่วนของการปฏิเสธสมมติฐานว่าง โดยส่วนใหญ่ตัวสถิติทดสอบมอนติคาร์โลด้วยอัตราส่วนภาวะน่าจะเป็น ให้ค่าสัดส่วนของการปฏิเสธสมมติฐานว่างน้อยกว่าตัวสถิติทดสอบเอฟ แต่กรณีที่ระดับนัยสำคัญเท่ากับ 0.05 เมื่อจำนวนทรีทเมนต์และขนาดตัวอย่างในแต่ละทรีทเมนต์เพิ่มขึ้น สัมประสิทธิ์ความแปรผันสูงขึ้น ตัวสถิติทดสอบเอฟจะให้ค่าสัดส่วนของการปฏิเสธสมมติฐานว่าง น้อยกว่าตัวสถิติทดสอบมอนติคาร์โลด้วยอัตราส่วนภาวะน่าจะเป็น 2. อำนาจการทดสอบ เมื่อความแตกต่างระหว่างอิทธิพลของทรีทเมนต์แตกต่างกันน้อย ตัวสถิติทดสอบมอนติคาร์โลด้วยอัตราส่วนภาวะน่าจะเป็นจะให้อำนาจการทดสอบสูง สุด เมื่อความแตกต่างระหว่างอิทธิพลของทรีทเมนต์แตกต่างกันปานกลาง โดยส่วนใหญ่ตัวสถิติทดสอบมอนติคาร์โลด้วยอัตราส่วนภาวะน่าจะเป็น จะให้อำนาจการทดสอบสูงสุด แต่เมื่อจำนวนทรีทเมนต์และขนาดตัวอย่างในแต่ละทรีทเมนต์เพิ่มขึ้น สัมประสิทธิ์ความแปรผันสูงขึ้น ตัวสถิติทดสอบเอฟจะให้อำนาจการทดสอบสูงสุด และเมื่อความแตกต่างระหว่างอิทธิพลของทรีทเมนต์แตกต่างกันมาก ตัวสถิติทดสอบทั้ง 2 วิธี จะให้อำนาจการทดสอบเท่ากันหรือใกล้เคียงกัน
Other Abstract: To compare the methods of hypothesis testing on the difference of treatment effects by 2 methods; F-test and Monte Carlo likelihood ratio test. To generate the data for this study, the Monte Carlo simulation technique is done using S-plus 2000 package. The number of treatments is specified at 2,3,4 and 5 treatments. The sample size on each treatment is at 2,4,6 and 8. The coefficient of variation is specified at 10%, 20% and 30%. The significance levels for this study are at 0.01 and 0.05 level. The proportion of null hypothesis rejection and the power of the test are a measure for comparison for both methods. The results of this study can be summarized as follow 1. Proportion of null hypothesis rejection. Almost all of cases, Monte Carlo likelihood ratio test gives proportion of null hypothesis rejection less than F-test. In the case that significance level is 0.05, F-test gives proportion of null hypothesis rejection less than Monte Carlo likelihood ratio test when the number of treatments, the sample sizes on each treatment and the coefficient of variation increase. 2. Power of the test. When the difference of treatment effects is less, Monte Carlo likelihood ratio test gives the highest power of the test. When the difference of treatment effects is moderate, Monte Carlo likelihood ratio test gives the highest power of the test except in the case that the number of treatments, the sample sizes on each treatment and the coefficient of variation increase, F-test gives the highest power of the test. When the difference of treatment effects is high, both statistics gives approximately the same power of the test level.
Description: วิทยานิพนธ์ (สต.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: สถิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถิติ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12239
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.454
ISBN: 9741717334
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2002.454
Type: Thesis
Appears in Collections:Acctn - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Orathai.pdf819.26 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.