Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12246
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอัจฉรา อุทิศวรรณกุล-
dc.contributor.advisorชุษณา สวนกระต่าย-
dc.contributor.advisorฉันชาย สิทธิพันธุ์-
dc.contributor.authorปิลันธนา ปรัศว์เมธีกุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์-
dc.date.accessioned2010-03-16T02:53:08Z-
dc.date.available2010-03-16T02:53:08Z-
dc.date.issued2545-
dc.identifier.isbn9741729332-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12246-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545en
dc.description.abstractศึกษาข้อมูลการใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษาแบบคาดการณ์ของโรคปอดบวมที่เกิดใน ชุมชน ศึกษาชนิดและความไวของเชื้อแบคทีเรียต่อการรักษาแบบคาดการณ์ รวมทั้งศึกษาปัญหาจากการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะของผู้ป่วยโรคปอดบวม ที่เกิดในชุมชนที่เข้ารักษาในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2545 ถึง วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2546 ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคปอดบวมที่เกิดในชุมชนมี 57 ราย อายุเฉลี่ย 58.6+-21.1 ปีและค่ามัธยฐาน 65.0 ปี ผู้ป่วยได้รับยาปฏิชีวนะก่อนมาโรงพยาบาล 40.4% ระยะเวลาเฉลี่ยที่ผู้ป่วยเข้ารักษาในโรงพยาบาล 8.6+-9.2 วัน ค่ามัธยฐาน 6.0 วัน มีผู้ป่วยเสียชีวิต 7 ราย โดย 4 ใน 7 รายเสียชีวิตจากโรคประจำตัวและอีก 3 รายเสียชีวิตจากโรคปอดบวมที่เกิดในชุมชน ผู้ป่วย 50 รายหายเป็นปกติภายหลังเข้ารักษาในโรงพยาบาล มีผู้ป่วย 29 จาก 44 ราย (65.9%) ที่มาพบแพทย์ตามนัดแบบผู้ป่วยนอก มีการส่งตัวอย่างเสมหะย้อมสีแกรม 68.4% พบเชื้อแกรมบวกทรงกลมคู่มากที่สุด 43.5% และมีการส่งเพาะเชื้อจากตัวอย่างเสมหะ 70.2% สำหรับเชื้อก่อโรคที่แท้จริงพบจากตัวอย่างเลือดและบริเวณปราศจากเชื้อ คือ S. pneumoniae 40.0% Streptococcus gr.F 40.0% และ Proteus mirabilis 20.0% เชื้อก่อโรคที่เป็นไปได้จากการตรวจทางเซรุ่มวิทยาและวิธี polymerase chain reaction คือ เชื้อ M. pneumoniae และเชื้อก่อโรคที่อาจเป็นไปได้จากตัวอย่างเสมหะที่พบมาก 3 อันดับแรก คือ เชื้อ H. influenzae 27.3%, เชื้อ P. aeruginosa 18.2% และเชื้อ E. coli 9.1% สำหรับผลการทดสอบความไวของเชื้อต่อยาปฏิชีวนะ พบว่า เชื้อ S. pneumoniae มีความไวต่อยาเพนนิซิลลิน แวนโคมัยซิน เซโฟแทกซีมและมีโรพีเนม เชื้อ Streptococcus gr.F มีความไวต่อยาเพนนิซิลลิน คลินดามัยซิน อิริโทรมัยซิน คลอแรมเฟนิคอล เจนตามัยซิน แวนโคมัยซิน เซโฟแทกซีมและมีโรพีเนม เชื้อ H. influenzae มีความไวต่อยาแอมพิซิลลิน อะม็อกซิซิลลิน/กรดคลาวูลานิค ซิโพรฟล็อกซาซิน เซฟไตรอะโซนและอิมิพีเนม เชื้อ P. aeruginosa มีความไวต่อยาซิโพรฟล็อกซาซิน และเชื้อ E. coli มีความไวต่อยาเจนตามัยซิน ซัลเพอราโซน ทาโซซิน เซฟไตรอะโซน เซฟแทซิดีม อิมิพีเนม เซฟไพโรม มีโรพีเนมและเซฟีพีม สำหรับยาปฏิชีวนะที่แพทย์ใช้ในการรักษาแบบคาดการณ์มากที่สุดคือ ยากลุ่มเซฟาโลสปอรินรุ่นที่ 3 33.3% รองลงมาคือ กลุ่มเซฟาโลสปอรินรุ่นที่ 3 ใช้ร่วมกับกลุ่มมาโครไลด์และกลุ่มมาโครไลด์ 19.3% และ 14.0% ตามลำดับ ซึ่งระยะเวลาที่ใช้ยาปฏิชีวนทั้งที่โรงพยาบาลและที่บ้านเฉลี่ยคือ 14.6+-9.4 วันและค่ายาปฏิชีวนะโดยเฉลี่ยต่อผู้ป่วย 1 ราย คือ 6,086 บาท ยาปฏิชีวนะแบบรับประทานที่ผู้ป่วยได้รับกลับไปรักษาต่อที่บ้านคือ อะม็อกซิซิลลิน/กรดคลาวูลานิคและเซฟดิเนีย 21.7% เท่ากัน จากการศึกษานี้ พบปัญหาจากการรักษาด้วยยา 21.0% โดยปัญหาที่พบมากที่สุดคือ ผู้ป่วยได้รับยาไม่เหมาะสมและผู้ป่วยได้รับยาที่ถูกต้องในขนาดที่มากเกินไป 33.3% เท่ากัน ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ยังไม่ส่งผลต่อการรักษา แต่เป็นสิ่งที่ควรระวังและใช้ในการติดตามผู้ป่วยต่อไปen
dc.description.abstractalternativeTo assess the empirical treatment in community-acquired pneumonia (CAP), the causative pathogens and their susceptibility, and drug therapy problems (DTPs) in hospitalized patients with community-acquired pneumonia at King Chulalongkorn Memorial Hospital between October 2002 to February 2003. Fifty-seven CAP patients were recruited, the mean age was 58.6+-21.1 years and the median age was 65.0 years, 40.4% of patients received antibiotics prior to hospitalization, the mean duration of hospitalization was 8.6+-9.2 days and the median was 6.0 days. Fifty patients were cured and seven deaths because of their chronic diseases (4/7) and community-acquired pneumonia (3/7). Twenty-nine patients out of forty-four (65.9%) were followed up by the physician. The microbiologic testing revealed 68.4% sputum gram's stain, which gram positive diplococci were mostly found. Sputum bacterial cultures were sent 70.2%. The definite pathogens from blood cultures and sterile specimens were S. pneumoniae (40.0%) and Streptococcus gr.F (40.0%). The probable pathogen from serological method and polymerase chain reaction was M. pneumoniae. The possible pathogens that found mostly from sputum cultures were H. influenzae (27.3%), P. aeruginosa (18.2%) and E. coli (9.1%), respectively. The susceptibility tests of causative pathogens were: S. pneumoniae was susceptible to penicillin, vancomycin, cefotaxime and meropenem , Streptococcus gr.F was susceptible to penicillin, clindamycin, erythromycin, chloramphenicol, gentamicin, vancomycin, cefotaxime and meropenem, H. influenzae was susceptible to ampicillin, amoxicillin/clavulanate, ciprofloxacin, ceftriaxone, and imipenem, P. aeruginosa was susceptible to ciprofloxacin and E. coli was susceptible to gentamicin, sulperazon, tazocin, ceftriaxone, ceftazidime, imipenem, cefpirome, meropenem and cefepime. The mostly antibiotics had been used for empirical therapy were the third generation cephalosporins (33.3%), the third generation cephalosporins plus macrolides (19.3%) and macrolides (14.0%), respectively. The duration of antibiotics treatment was 14.6+-9.4 days and total cost of them were 6,086 baht per patient. Oral antibiotics for switch therapy were amoxicillin/clavulanate (21.7%) and cefdinir (21.7%). Drug therapy problems were occurred 21.0% that were: the patients were taking the inappropriate drug (33.3%) and the dosage was too high for the patients (33.3%). Although these DTPs had not changed the outcome of treatment but it was the pharmacist's role to monitoring and taking intervention with the physician to prevent these problems.en
dc.format.extent1063607 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectปอดอักเสบen
dc.subjectปฏิชีวนะen
dc.subjectการใช้ยาen
dc.titleการใช้ยาปฏิชีวนะในผู้ป่วยโรคปอดบวมที่เกิดในชุมชนที่เข้ารักษาในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์en
dc.title.alternativeAntibiotics utilization in community-acquired pneumonia inpatients at King Chulalongkorn Memorial Hospitalen
dc.typeThesises
dc.degree.nameเภสัชศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineเภสัชกรรมคลินิกes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorachara.u@chula.ac.th-
dc.email.advisorschusana@hotmail.com-
dc.email.advisorchanchai.s@chula.ac.th-
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pilunthana.pdf1.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.