Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12286
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุธาชัย ยิ้มประเสริฐ-
dc.contributor.advisorสุภางค์ จันทวานิช-
dc.contributor.authorเพ็ญพิสุทธิ์ อินทรภิรมย์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.date.accessioned2010-03-17T06:58:45Z-
dc.date.available2010-03-17T06:58:45Z-
dc.date.issued2549-
dc.identifier.isbn9741429487-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12286-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549en
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ต้องการที่จะศึกษาถึงการดำเนินการของรัฐไทยที่มีต่อคนจีนตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จนถึงสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม (พ.ศ. 2481- 2487) เพื่อที่จะศึกษาถึงสาเหตุและปัจจัยที่ ทำให้รัฐไทย ดำเนินการกับคนจีน และศึกษาถึงลักษณะการดำเนินการกับจีนของรัฐไทยรวมถึงผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการ ของรัฐที่มีต่อจีน โดยการศึกษาในครั้งนี้มีสมมุติฐานว่า รัฐไทยได้มีแนวคิด “ชาตินิยมไทย” จึงทำให้รัฐมีการดำเนิน การกับคนจีนเข้มงวดและจริงจังมากยิ่งขึ้น โดยที่การดำเนินการของรัฐไทยต่อคนจีนนั้นจะมีความแตกต่าง หลากหลาย อันสัมพันธ์กับทัศนะและนโยบายของรัฐ ซึ่งได้ส่งผลให้คนจีนมีปฏิกิริยาและการแสดงออกที่แตกต่างกัน ออกไปตามผลประโยชน์ของคนจีนแต่ละคน ผลการวิจัยพบว่า สาเหตุและปัจจัยที่ทำให้รัฐไทยตั้งแต่เปลี่ยนแปลง การปกครองจนถึงสมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามมีการดำเนินการกับคนจีนที่มีความเข้มงวดและจริงจังมากยิ่งขึ้นนั้น เนื่องมาจากการที่รัฐไทยมีแนวความคิดเกี่ยวกับ “ชาติ” และ “ชาตินิยมไทย” ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมโดยรัฐได้มี การใช้ “สัญชาติไทย” เป็นตัวกำหนดการเป็น “คนไทย” ทำให้ “คนจีน” ถูกแบ่งแยกออกไปจากการเป็นคนไทย อย่างชัดเจน จึงทำให้คนจีนไม่ได้รับสิทธิต่างๆ ที่คนไทยพึงจะได้รับ ประกอบกับการที่รัฐไทยได้มีการใช้นโยบาย “ชาตินิยมไทยทางเศรษฐกิจ” ซึ่งทำให้คนจีนได้รับผลกระทบจากการที่รัฐได้ดำเนินการเพื่อลดบทบาททาง เศรษฐกิจของคนจีน นอกจากนั้นการที่รัฐเห็นว่าคนจีนเป็นปัญหาที่ยังมิได้รับการแก้ไขอย่างจริงจังทั้งในเรื่องจำนวน การครอบงำทางเศรษฐกิจของไทย และการที่คนจีนได้มีการปลุกกระแส “ชาตินิยมจีน” ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการ ผสมกลมกลืนคนจีนเข้าสู่สังคมไทยก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้รัฐไทยมีการดำเนินการกับคนจีน อย่างไรก็ตาม รัฐไทยก็มิได้มีการดำเนินการกับคนจีนในลักษณะที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่รัฐได้มีการดำเนินการกับคนจีน ในลักษณะที่แตกต่างกัน กล่าวคือ รัฐจะมีความเข้มงวดกับคนจีนในทางการเมือง แต่จะมีการผ่อนผันให้กับคนจีน ในทางเศรษฐกิจ และแทบจะไม่ดำเนินการกับคนจีนในทางสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งได้ส่งผลให้คนจีนมีปฏิกิริยา ตอบสนองในลักษณะที่แตกต่างกันออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มที่แสดงออกถึงการเป็น “คนไทย” ตามแนวทาง ที่รัฐต้องการ และกลุ่มที่ยังคงรักษาลักษณะคนจีนทางการเมืองเอาไว้en
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this dissertation are to study the actions of the Thai state which had affected the Chinese from the period of the revolution in 1932 to Prime minister Phibul Songkhram’s administration (1938 - 1944) ; to understand causes and factors which the Thai state did on the Chinese ; and to understand the nature of the Thai State’s actions on the Chinese as well as the result as such actions. The assumption of this study is that, due to the Thai state in this period had the “Nationalism” idea, it treated the Chinese more strictly and seriously. Since the Thai state’s actions on the Chinese were various and depended on the state’s attitude and policy, the Chinese reacted and reflected differently on the benefit of each Chinese. The findings reveal that Thai state from 1932 revolution to the era of General Piboonsongkham treated the Chinese more strictly and seriously because the Thai state during this period had the ideas of “Nation” and “Thai Nationalism” in the different way ; the Thai state employed the “Thai Nationality” to distinguish the “Thai”, from the Chinese. The Chinese were not only unable to acquire the same rights as the Thais, but also were they affected from the Thai state’s Economic Nationalism” policy which aimed to decrease the role of Chinese in Thai economics, which aimed to decrease the role of Chinese in Thai economics. Futhermore, the fact, that the Thai state considered the Chinese as the seriously unresolved problem because of their quality, their domination on economics, and their “Chinese Nationalism” raising which are difficulties on harmonizing the Chinese with Thai society. However, the Thai state during that time did not treat all Chinese in the same way. It was strict to the Chinese in political, flexible to the Chinese in economics, and almost did nothing to the Chinese in social and cultural ways. According to the said action, the Chinese’s reactions were dinided into 2 main groups which were the group expressing “Thai" and the group maintaining character of the Chinese in politic.en
dc.format.extent4132539 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectไทย -- การเมืองและการปกครอง -- 2475-2490en
dc.subjectไทย -- ประวัติศาสตร์ -- 2475-2490en
dc.subjectชาวจีน -- ไทยen
dc.subjectชาตินิยม -- ไทยen
dc.titleรัฐไทยกับคนจีน (พ.ศ. 2475-2487)en
dc.title.alternativeThe Thai state and the Chinese, 193 -1944en
dc.typeThesises
dc.degree.nameอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาเอกes
dc.degree.disciplineประวัติศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSuthachai.Y@Chula.ac.th-
dc.email.advisorSupang.C@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
penpisut.pdf4.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.