Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12346
Title: การศึกษาผลของไวรัสวัคซีน พี อาร์ อาร์ เอส ต่อการสร้างไซโตคายน์ ของเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดโมโนนิวเคลียร์ที่แยกได้จากสุกร : รายงานผลการวิจัย
Other Titles: In vitro effect of the porcine reproductive and respiratory syndrome virus (PRRSV), vaccine strains, on cytokine productions by porcine peripheral blood mononuclear cells (PBMC)
Authors: สันนิภา สุรทัตต์
รุ่งโรจน์ ธนาวงษ์นุเวช
Email: Sanipa.S@Chula.ac.th
roongroje.t@chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์
Subjects: ไวรัสพีอาร์อาร์เอส
สุกร -- โรค
ไซโตคายน์
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ทำการศึกษาผลของเชื้อไวรัสวัคซีนพี อาร์ อาร์ เอส (In vitro effect) ต่อการสร้างไซโตคายน์ของเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดโมโนนิวเคลียร์ (PBMC) ที่แยกได้จากสุกร โดยทำการเพาะเลี้ยงเซลล์ PBMC ร่วมกับเชื้อไวรัสวัคซีนพี อาร์ อาร์ เอส ชนิดต่างๆ ในห้องปฏิบัติการณ์ ผลการศึกษาพบว่าเชื้อไวรัสวัคซีนพี อาร์ อาร์ เอส ชนิดสายพันธุ์ยุโรป (EU) สามารถกระตุ้นให้เซลล์ PBMC มีการสร้างสารอินเตอร์ลิวคิน 10 (IL-10) ซึ่งเป็นไซโตคายน์ที่มีฤทธิ์ในการกดการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันสูงขึ้นกว่าปกติ โดยทำการยืนยันผลการศึกษาทั้งในระดับการแสดงออกของยีน และโปรตีน IL-10 ที่หลั่งออกมาจากเซลล์ โดยทั้งนี้ไม่พบการกระตุ้นการสร้าง IL-10 ในเซลล์ที่ทำการกระตุ้นด้วยเชื้อไวรัสวัคซีนพี อาร์ อาร์ เอส ชนิดสายพันธุ์อเมริกา (US) อย่างไรก็ดีเชื้อไวรัสวัคซีนพี อาร์ อาร์ เอส ชนิดสายพันธุ์ยุโรป ต้องใช้เวลาที่นานกว่า (60 ชั่วโมง) ในการกระตุ้นการสร้าง IL-10 ในเซลล์ PBMC เมื่อเปรียบเทียบกับเชื้อพี อาร์ อาร์ เอส ชนิดรุนแรง (virulent strain) ซึ่งสามารถตรวจพบการสร้าง IL-10 ในเซลล์ที่ถูกกระตุ้นได้ตั้งแต่ 20 ชั่วโมง ในส่วนการศึกษาผลของเชื้อไวรัสวัคซีนต่อการตอบสนองต่อ recall antigen (เชื้ออหิวาต์สุกร) ของเซลล์ PBMC ที่แยกจากสุกรที่เคยได้ รับวัคซีนอหิวาต์สุกรมาก่อน พบว่าไม่มีความแตกต่างของการสร้างอินเตอร์เฟอรอนแกมม่า (IFN- ) ในระหว่างกลุ่มทดลอง แต่ทั้งนี้อาจเป็นเนื่องจากปัจจัยของเวลาที่ใช้ในการกระตุ้นเซลล์ (in vitro activation) ในการศึกษาครั้งนี้ โดยสรุปงานวิจัยนี้ยืนยันความสามารถของเชื้อไวรัสวัคซีนพี อาร์ อาร์ เอส ชนิดสายพันธุ์ยุโรป ในการกระตุ้นให้มีการสร้าง IL-10 โดยเซลล์ PBMC ในห้องปฏิบัติการณ์ และชี้ให้เห็นว่าควรที่จะต้องมีการศึกษาผลของเชื้อนี้ในตัวสุกรที่ได้รับวัคซีน (in vivo effect) ในแง่ของความปลอดภัยและผลข้างเคียงจากการให้วัคซีน รวมถึงการประเมินผลของการให้วัคซีนต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของสุกรที่ได้รับวัคซีนต่อไป
Other Abstract: In this study, effects of Porcine Reproductive and Respiratory Syndrome Virus (PRRSV) vaccine strains on cytokine productions by porcine peripheral blood mononuclear cells (PBMC) were investigated. Freshly isolated porcine PBMC from PRRSV-seronegative pigs were cultured in the presence of different PRRSV vaccine strains at different time periods, and cytokine productions were examined by measuring of the cytokine gene expressions and protein production. The result showed that the presence of PRRSV-European strain (EU) vaccine in the culture enhanced the interleukin-10 (IL-10) production by porcine PBMC. The effect was not seen in the cells cultured with the PRRSV-North American (US) vaccine strain. However, the PRRSV-EU vaccine strain required longer incubation time (60 hr) than the virulent PRRSV strain (20 hr) to induce the IL-10 production In a separate experiment, the effect of the PRRSV vaccines on the recall antigen response (Classical Swine Fever Virus; CSFV) was examined. Porcine PBMC isolated from CSFV-primed pigs were cultured with the recall antigen, CSFV, in the presence of different PRRSV vaccine strains. It was found that neither the virulent PRRSV strain, nor the PRRSV vaccine strains, had any effect on the level of interferon-gamma (IFN- ) production by the PBMC. However, it should be noted that the incubation period used in the in vitro activation for the recall antigen response was at 20 hr, which might significantly affect the readout. In summary, this work demonstrates that the PRRSV-EU vaccine strain retains the ability to enhance IL-10 production in the porcine PBMC, in vitro. The result implied that in vivo effects of the PRRSV vaccine virus, particularly the effect of the PRRSV vaccine on the function of the host immune system, should be further investigated.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12346
Type: Technical Report
Appears in Collections:Vet - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sanipa_Su.pdf2.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.