Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12696
Title: The effects of vitamin E in crude palm oil on growth performance, lipid peroxidation and tissue vitamin E concentration of broilers
Other Titles: ผลของวิตามินอีในน้ำมันปาล์มดิบต่อประสิทธิภาพการเจริญเติบโต การเกิดกระบวนการออกซิเดชั่นของไขมันและความเข้มข้นของวิตามินอีในเนื้อเยื่อของไก่เนื้อ
Authors: Banjong Ura
Advisors: Suwanna Kijparkorn
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Veterinary Science
Advisor's Email: Suwanna.Ki@Chula.ac.th
Subjects: Vitamin E
Palm oil
Lipids -- Peroxidation
Issue Date: 2007
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: An experiment was studied to investigate the effects of vitamin E in crude palm oil on growth performance, lipid peroxidation and tissue vitamin E concentration of broilers. Total 576 day old male Ross 308 broiler chicks were randomly allocated into 6 treatments which composed of 6 replicates of 16 birds each. Corn-soybean meal basal diets with 8% lard which was adjusted vitamin E level according to the recommended requirement (50 mg/kg diet) by adding [alpha]-tocopheryl acetate, was used as a control diet. Crude palm oil (CPO) was substituted to lard at the level of 0, 2, 4, 6, and 8 % respectively. Positive control was conducted to evaluate vitamin E efficacy in CPO by supplementation of [alpha]-tocopheryl acetate 100 mg/kg control diet. Diets were calculated to meet Ross requirement. On day 21 and 42 of the experiment, body weight and feed intake were recorded and six broilers in each treatment group of each period were randomly selected. On day 21, blood and liver were collected while blood, liver, breast and thigh meat were collected on day 42. Thiobarbituric acid-reactive substances (TBARS) and vitamin E concentration of all forms were analyzed in plasma, liver, breast and thigh meat. Relationship between vitamin E concentration in diet and tissues were calculated by linear regression. TBARS were determined on days 4 and 7 and drip loss was measured on day 2, 4, 6 and 8 day in breast and thigh meat in controlled-chilled room at 8 degree celcius. The results demonstrated that growth rate and feed conversion ratio were not significant difference among treatment groups in both periods (P>0.05). An increasing of CPO level increased tocopherol and tocotrienol concentration in liver breast and thigh meat when compared to control group (P<0.05). Broilers fed with CPO 8% had highest deposition of tocotrienol while the positive control group has highest tocopherol concentration in tissue. Form of vitamin E deposition in tissues, [alpha]-tocopherol had highest follow by [alpha]-tocotrienol, [gamma]-tocopherol and [gamma]-tocotrienol respectively. The tocopherols, tocotrienols and total vitamin E concentration in all tissues showed the positive relationship with crude palm oil level in diet (P<0.05). Inclusion of CPO as a vitamin E source at the level of 4% or more in diet decreased TBARS in plasma at the age of 21 and 42 day (P<0.001) when compare to control and CPO at the level of 6 and 8% fed group were not difference with positive control group. No significant difference of TBARS was found in liver and breast meat while thigh meat of CPO fed groups were significant difference when compared to control group(P<0.001) but not significant difference with positive control group. During storage, inclusion of CPO as a vitamin E source in diet decreased TBARS and CPO from the level of 4% and onward decreased drip loss in breast and thigh meat when compare to control group and not significant difference with positive control group.
Other Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของวิตามินอีในน้ำมันปาล์มดิบต่อประสิทธิภาพการเจริญเติบโต การเกิดกระบวนการออกซิเดชั่นของไขมัน และความเข้มข้นของวิตามินอีในเนื้อเยื่อของไก่เนื้อ โดยใช้ไก่เนื้อ เพศผู้ พันธุ์ ROSS 308 อายุ 1 วัน จำนวน 576 ตัว แบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม กลุ่มละ 6 ซ้ำ ซ้ำละ 16 ตัว โดยใช้ข้าวโพด และกากถั่วเหลืองเป็นวัตถุดิบพื้นฐานร่วมกับไขมันหมูในระดับ 8% และปรับระดับวิตามินอีในสูตรอาหารด้วย [alpha]-tocopheryl acetate เพื่อให้ได้วิตามินอีเท่ากับความต้องการของไก่เนื้อที่ระดับ 50 มก/กก. อาหาร เป็นกลุ่มควบคุม จากนั้นใช้น้ำมันปาล์มดิบทดแทนไขมันหมูในระดับ 0, 2, 4, 6 และ 8 % ตามลำดับ และกลุ่มควบคุมที่เสริมวิตามินอี ([alpha]-tocopheryl acetate) 100 มก/กก. ของอาหาร เพื่อใช้ประเมินประสิทธิภาพของวิตามินอีในน้ำมันปาล์มดิบ อาหารทุกสูตรถูกคำนวนให้มีสารอาหารตามความต้องการของพันธุ์ บันทึกน้ำหนักไก่และปริมาณอาหารที่กินในวันที่ 21 และ 42 ของการทดลอง สุ่มไก่ทดลองมากลุ่มละ 6 ตัว เก็บตัวอย่างเลือดและ ตับในวันที่ 21 และเก็บตัวอย่างเลือด ตับ เนื้ออกและเนื้อสะโพกในวันที่ 42 เพื่อตรวจวัดการเกิดกระบวนการออกซิเดชั่นของไขมัน(TBARS) และความเข้มข้นของวิตามินอีทุกรูปแบบ หาความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้นของวิตามินอีในเนื้อเยื่อกับอาหาร ตรวจวัดค่าTBARS ในเนื้ออกและเนื้อสะโพกในวันที่ 4 และ 7 และหาค่าการสูญเสียน้ำในเนื้ออกและเนื้อสะโพกในวันที่ 2, 4, 6 และ 8 ในระหว่างการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 8 องศาเซลเซียส จากการศึกษาพบว่าอัตราการเจริญเติบโตและอัตราการแลกเนื้อทั้ง 2 ระยะของทุกกลุ่มไม่มีความแตกต่างกัน(P>0.05)การใช้น้ำมันปาล์มดิบเพิ่มขึ้น สามารถเพิ่มปริมาณโทโคฟีรอลและโทโคไตรอีนอลในตับ เนื้ออก และเนื้อสะโพกเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม(P<0.05) ไก่เนื้อที่ได้รับน้ำมันปาล์มดิบในระดับ 8% มีการสะสมวิตามินอีโทโคไตรอีนอลสูงสุดในทุกเนื้อเยื่อ ขณะที่กลุ่มที่เสริมวิตามินอี อะซิเตทให้ค่าการสะสมวิตามินอีโทโคฟีรอลสูงที่สุด สำหรับรูปแบบของวิตามินอีที่สะสมในเนื้อเยื่อ พบว่าแอลฟ่า-โทโคฟีรอลสูงที่สุด ตามด้วย แอลฟ่า-โทโคไตรอีนอล แกรมม่า-โทโคฟีรอล และ แกรมม่า-โทโคไตรอีนอล ตามลำดับ และความเข้นข้นของวิตามินอีในตับ เนื้ออก และเนื้อสะโพกมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับปริมาณน้ำมันปาล์มดิบในอาหาร(P<0.05) การใช้น้ำมันปาล์มดิบเป็นแหล่งวิตามินอีที่ระดับตั้งแต่ 4% ขึ้นไป ในอาหารสามารถช่วยลดการเกิดการออกซิเดชั่นของไขมันในน้ำเลือดไก่ที่อายุ 21 และ 42 วัน (P<0.001) เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม และที่ระดับน้ำมันปาล์มดิบ 6 และ 8 % ให้ผลไม่แตกต่างจากกลุ่มที่เสริมวิตามินอี ในส่วนของตับและเนื้ออกไม่พบความแตกต่างขณะที่เนื้อสะโพกของกลุ่มที่ได้รับน้ำมันปาล์มดิบทุกระดับให้ค่าTBARSไม่แตกต่างจากกลุ่มที่เสริมวิตามินอี แต่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม (P<0.001) การใช้น้ำมันปาล์มดิบเป็นแหล่งวิตามินอีสามารถช่วยลดการเกิดการออกซิเดชั่นของไขมัน และการใช้น้ำมันปาล์มดิบที่ระดับตั้งแต่ 4%ขึ้นไปลดการสูญเสียน้ำในเนื้ออกและเนื้อสะโพกระหว่างเก็บรักษา เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมและไม่แตกต่างจากกลุ่มที่เสริมวิตามินอี
Description: Thesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 2007
Degree Name: Master of Science
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Animal Nutrition
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12696
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.2034
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.2034
Type: Thesis
Appears in Collections:Vet - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Banjong_ur.pdf795.12 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.