Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13179
Title: ปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มอาการเมแทบอลิซึมในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช
Other Titles: Risk factors associated with metabolic syndrome in type 2 diabetic patients at Bhumibol Adulyadej Hospital
Authors: กมลวรรณ อ่อนละมัย
Advisors: อัจฉรา อุทิศวรรณกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์
Advisor's Email: Achara.U@Chula.ac.th
Subjects: เบาหวาน
กลุ่มอาการเผาผลาญผิดปกติ
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มอาการเมแทบอลิซึมมีความสำคัญในการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด ในประเทศไทยมีการศึกษาความชุกของกลุ่มอาการเมแทบอลิซึมแต่ข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มอาการเมแทบอลิซึมยังมีอยู่อย่างจำกัด วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความชุกและประเมินความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเสี่ยงกับกลุ่มอาการเมแทบอลิซึมในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 วิธีการดำเนินการวิจัย : เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวางในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป ที่เข้ารับการรักษาที่ห้องตรวจผู้ป่วยนอก กองอายุรกรรม โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช โดยทำการเก็บข้อมูลจากเวชระเบียน และการสัมภาษณ์ผู้ป่วยระหว่างเดือนตุลาคม 2550 ถึง ธันวาคม 2550 ผลการวิจัย: มีผู้ป่วยเข้าร่วมการศึกษาจำนวน 185 คน แบ่งเป็นผู้ชาย 62 คน และ ผู้หญิง 123 คน พบว่าความชุกของกลุ่มอาการเมแทบอลิซึมในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เท่ากับร้อยละ 77.3 (ร้อยละ 62.9 ในผู้ป่วยชาย และร้อยละ 84.6 ในผู้ป่วยหญิง) โดยใช้เกณฑ์การวินิจฉัยของ International Diabetes Federation เมื่อใช้เกณฑ์ของ NCEP ATP III (ปรับเส้นรอบเอวตามเกณฑ์เอเชีย) พบว่ามีผู้ป่วยกลุ่มอาการเมแทบอลิซึมร้อยละ 93.5 ความถี่สูงสุดของกลุ่มอาการเมแทบอลิซึมในการวิจัยนี้นอกจากพบในผู้ป่วยที่มีเส้นรอบเอวเกินและระดับกลูโคสเมื่ออดอาหารสูงแล้ว ยังพบในผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูง (ร้อยละ 93.71) และ ระดับเอช-ดีแอล โคเลสเตอรอลต่ำ (ร้อยละ 89.51) ในการศึกษานี้ พบว่าปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของการเกิดกลุ่มอาการเมแทบอลิซึม ได้แก่ อายุที่เพิ่มขึ้น (OR 1.10, P=0.005) ดัชนีมวลกาย (1.66, P=0.000) และเพศหญิง (OR 3.70, P=0.026) ปัจจัยอื่นๆ ได้แก่ การสูบบุหรี่ สภาพทางเศรษฐานะ พฤติกรรมการรับประทานอาหาร การดื่มแอลกอฮอล์ การออกกำลังกาย อาชีพ ระดับการศึกษา และ สถานภาพการสมรส ไม่พบความสัมพันธ์กับกลุ่มอาการเมแทบอลิซึม สรุป: กลุ่มอาการเมแทบอลิซึมพบว่ากำลังกลายเป็นปัญหาสำคัญของของชุมชนในเมือง โดยพบความชุกในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ถึงร้อยละ 77.3 ซึ่งปัจจัยดัชนีมวลกายเป็นปัจจัยที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ การวินิจฉัยและการรักษาผู้ป่วยกลุ่มอาการเมแทบอลิซึม โดยเฉพาะการเฝ้าระวังปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับกลุ่มอาการเมแทบอลิซึมเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติประจำในโรงพยาบาลเพื่อช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจต่อไป
Other Abstract: The importance of managing the metabolic syndrome has been emphasized in the prevention of cardiovascular disease. Although in Thailand, there have been studies about the prevalence of metabolic syndrome, little information is available about its associated risk factors. Objectives : To assess the prevalence and the association between risk factors and metabolic syndrome in Type 2 diabetic patients. Methods: A cross-sectional study of type 2 diabetic patients aged 20 and older that visited the Medicine Department’s outpatient service of Bhumibol Adulyadej Hospital during October to December 2007. The prevalence of the metabolic syndrome, as defined by International Diabetes Federation (IDF), was determined, and risk factors associated with predisposition to the metabolic syndrome were analyzed. Results: A total of 185 type 2 diabetic patients, 62 men and 123 women, were enrolled in this study. The prevalence of the metabolic syndrome was 77.3% (62.9% in men and 84.6% in women) when using the IDF criteria. By using NCEP ATP III criteria adjusted for Asians, the prevalence was 93.5% Besides the large waist circumference and high FBS, other metabolic syndrome components with highest distributions were the high blood pressure (93.71%) and low HDL cholesterol (89.51%). The factors associated with the metabolic syndrome were age (OR 1.10, P=0.005), higher BMI (1.66, P=0.000), and female gender (OR 3.70, P=0.026). Other factors including smoking, household income, eating behavior, alcohol consumption, exercise, occupation, marital status and education levels were not associated with the metabolic syndrome. Conclusions: Metabolic syndrome is present in 77.3% of type 2 diabetic patients. Higher BMI were identified as independent modifiable risk factors of the metabolic syndrome. By the high prevalence in this study, therefore, suggested that the management of risk factors should be routinely done in the hospital to prevent patients from cardiovascular diseases.
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เภสัชกรรมคลินิก
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13179
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1687
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.1687
Type: Thesis
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kamonwan_on.pdf1.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.