Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13263
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorธงชัย เฉลิมชัยกิจ-
dc.contributor.authorคนึงนิจ ก่อธรรมฤทธิ-
dc.contributor.authorส่งศักดิ์ ศรีสง่า-
dc.contributor.authorกนกดล สิริวัฒนชัย-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์-
dc.contributor.otherสำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2010-08-19T11:30:01Z-
dc.date.available2010-08-19T11:30:01Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13263-
dc.descriptionโครงการวิจัยงบประมาณ พ.ศ. 2549 (สัญญาเลขที่ งป 045/2549)en
dc.description.abstractในระหว่างเดือน ส.ค. 2548-ก.ค. 2549 ได้สุ่มเก็บตัวอย่างหอยแครง 376 ตัวอย่าง จากตลาดในจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสงครามและกรุงเทพมหานคร ตัวอย่างเนื้อไก่ เนื้อสุกร และเนื้อโคชนิดตัวอย่างละ 100 ตัวอย่าง จากตลาดและซุปเปอร์มาร์เก็ตในกรุงเทพมหานคร ตัวอย่างอาหารสำเร็จรูปชนิดเม็ดและชนิดเปียกบรรจุกระป๋องสำหรับสุนัข 107 ตัวอย่าง สำหรับแมว 100 ตัวอย่าง รวมทั้งตัวอย่างอาหารสำเร็จรูปสำหรับไก่ 112 ตัวอย่าง และสำหรับสุกร 126 ตัวอย่าง พบความชุกของเชื้อเอ็นเตอโรค็อคซัยที่ดื้อยาแวนโคมัยซิน (MIC 8 micro g/mL) ในตัวอย่างหอยแครง 6.6% เนื้อไก่ 5% เนื้อสุกร 3% เนื้อโค 13% อาหารสุนัข 0.93% อาหารไก่ 0.89% อาหารแมวและอาหารสุกร 0% โดยในตัวอย่างหอยแครงพบว่าเป็นเชื้อ E. faecium, E. faecalis, E. gallinarum และ E. casseliflavus จำนวน 15, 5, 3 และ 2 ตัวอย่าง ตามลำดับ ส่วนในตัวอย่างเนื้อไก่ เนื้อสุกร และเนื้อโคพบว่าเป็นเชื้อ E. gallinarum, E. faecalis และ E. faecium จำนวน 12, 7 และ 2 ตัวอย่าง ตามลำดับ สำหรับตัวอย่างอาหารสุนัขและอาหารไก่พบว่าเป็นเชื้อ E. gallinarum ชนิดละหนึ่งตัวอย่าง ทั้งนี้มีเพียง E. faecalis 2 ตัวอย่างเท่านั้น (ที่แยกได้จากตัวอย่างเนื้อไก่ในซุปเปอร์มาร์เก็ต) ที่พบว่ามีค่า MIC ต่อยาแวนโคมัยซิน 32 micro g/mL และจากผลการทดสอบความไวรับต่อยาไทโคพลานินสรุปได้ว่าเป็นชนิด vanA เพียง 1 ตัวอย่างเท่านั้น ดังนั้น เชื้อเอ็นเตอโรค็อคซัยที่ดื้อยาแวนโคมัยซินในสิ่งแวดล้อม อาหารสัตว์และเนื้อสัตว์จึงไม่น่าจะเป็นปัญหาทางสาธารณสุขในประเทศไทย อย่างไรก็ดียาต้านจุลชีพอื่นๆ ที่ทดสอบโดยภาพรวมพบว่าเชื้อเอ็นเตอโรค็อคซัยดื้อต่อยาอิริโทรมันซิน เตตร้าซัยคลิน และไทโลซินค่อนข้างสูง ดังนั้น ยังมีความจำเป็นต้องรณรงค์เรื่องการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างรอบคอบและเหมาะสมต่อไป ทั้งในคนและในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์en
dc.description.abstractalternativeDuring August 2005-July 2006, 376 samples of ark shell had been randomly collected from local-markets in Samutsakorn, Samutsongkram provinces and Bangkok. One-hundred samples each of chicken meat, pork and beef had been randomly collected from local-markets and supermarkets in Bangkok. As well as, 107 samples of commercial ready-to-eat feed for dog, 100 samples for cat, 112 samples for chicken and 126 samples for pig were tested for vancomycin-resistance enterococci (VRE). The results revealed that enterococci which had MIC 8 micro g/mL to vancomycin were found in Ark-shell samples 6.6%, chicken meat 5%, pork 3%, beef 13%, dog feed 0.93%, and chicken feed 0.89%. None of VRE were found in cat and pig feed samples. E. faecium, E. faecalis, E. gallinarum and E. casseliflavus were identified form Ark-shell samples 15, 5, 3 and 2 samples, respectively. While in chicken meat, pork, and beef samples were found E. gallinarum, E. faecalis and E. faecium 12, 7 and 2 samples, respectively. In dog and chicken feed samples, E. gallinarum was found one strain in each of sample group. In this study, only 2 samples of chicken meat collected from supermarkets had MIC 32 micro g/mL to vancomycin which only 1 strain revealed vanA type enterococci according to teicoplanin susceptibility test. The result from this study, it could be given the preliminary conclusion that VRE is not a public health threat in Thailand. However, the other antimicrobial susceptibility tests in this study revealed that the majority of VRE strains had shown high percentage of resistance to erythromycin, tetracycline, and tylosin. Therefore, the prudent use of antimicrobial in human and animal industries have to be continuing concerned.en
dc.description.sponsorshipได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากเงินงบประมาณแผ่นดินปีงบประมาณ พ.ศ. 2549en
dc.format.extent3479749 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectเอนเตอโรค็อกคัสen
dc.subjectแวนโคมัยซินen
dc.subjectการดื้อยาen
dc.subjectสารต้านจุลชีพตกค้างในอาหารen
dc.titleความชุกของเชื้อเอ็นเตอร์โรค็อคซัยที่ดื้อต่อยาแวนโคมัยซินในหอยแครง อาหารสัตว์ และเนื้อสัตว์ในประเทศไทย : รายงานผลการวิจัยฉบับสมบูรณ์en
dc.title.alternativePrevalence of vancomycin-resistant enterococci in ark shell, animal feeds, and raw meats in Thailanden
dc.typeTechnical Reportes
dc.email.authorThongchai.C@Chula.ac.th-
dc.email.authorไม่มีข้อมูล-
dc.email.authorSongsak.S@Chula.ac.th-
dc.email.authorKanokdon.S@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Vet - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thongchai_Vanco.pdf3.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.