Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13505
Title: ผลของคำสั่งทางปกครองที่ไม่ได้ปฏิบัติตามหลักความไม่มีส่วนได้เสีย
Other Titles: Effect of an administrative act in violation of the principle of impartiality
Authors: จักรพันธ์ เชี่ยวพานิช
Advisors: นันทวัฒน์ บรมานันท์
บุญอนันต์ วรรณพานิชย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Nantawat.B@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: นิติกรรมทางการปกครอง
ความไม่มีส่วนได้เสีย
พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
กฎหมายปกครอง
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในการใช้อำนาจของฝ่ายปกครองนั้น หลักความไม่มีส่วนได้เสียเป็นหลักสำคัญที่มีขึ้นเพื่อควบคุมและกำกับการใช้อำนาจรัฐ ซึ่งหลักความไม่มีส่วนได้เสียมีความหมาย ขอบเขต และผลทางกฎหมายที่มีลักษณะเฉพาะ สำหรับหลักดังกล่าวในประเทศไทยนั้น ได้รับการบัญญัติรับรองไว้อย่างชัดแจ้งในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 รวมทั้งปรากฎในกฎหมายเฉพาะบางฉบับ แต่การรับรองโดยกฎหมายลายลักษณ์อักษรไทยยังดูเสมือนเป็นเรื่องใหม่ การนำหลักความไม่มีส่วนได้เสียมาปรับใช้จึงเกิดความไม่ชัดเจนทั้งในด้านความหมาย ขอบเขต และผลทางกฎหมาย ดังนั้นจึงควรศึกษาหลักดังกล่าวให้ชัดเจน จากการศึกษาพบว่า หลักความไม่มีส่วนได้เสียมีความยืดหยุ่นในการปรับใช้ อันสอดคล้องกับลักษณะของกฎหมายปกครองในการรักษาสมดุลย์ระหว่างประโยชน์สาธารณะและประโยชน์ของเอกชน โดยหากเจ้าหน้าที่ที่พิจารณาทางปกครองอาจเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ไม่ว่าจะเกิดจากเหตุที่กระทบต่อความไม่มีส่วนได้เสียทางภาวะวิสัยหรืออัตตะวิสัยก็ตาม แต่เป็นกรณีที่ยังไม่มีคำสั่งทางปกครองที่เกิดจากการพิจารณาทางปกครองดังกล่าว และเจ้าหน้าที่ได้หยุดการพิจารณาไว้ตามมาตรการทางกฎหมายในการป้องกัน หรือแก้ไขกรณีที่อาจมีเหตุที่กระทบต่อความไม่มีส่วนได้เสีย กระบวนการพิจารณาทางปกครองที่ได้ดำเนินมาแล้วย่อมไม่เสียไป เว้นแต่เจ้าหน้าที่ที่เข้าทำการพิจารณาแทนเห็นสมควรดำเนินการส่วนใดส่วนหนึ่งใหม่ สำหรับกรณีที่มีการออกคำสั่งทางปกครองอันเกิดจากการพิจารณาทางปกครอง โดยเจ้าหน้าที่ที่มีเหตุที่กระทบต่อความไม่มีส่วนได้เสียแล้ว หากเจ้าหน้าที่ดังกล่าวเป็นคู่กรณีเองหรือออกคำสั่งทางปกครองให้ตนเอง ตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 13 (1) ถือเป็นกรณีที่มีความบกพร่องอย่างร้ายแรงและเห็นได้ชัดแจ้ง คำสั่งทางปกครองในกรณีนี้ถือว่าไม่มีผลทางกฎหมายเสียเปล่าตั้งแต่ต้น แต่หากเจ้าหน้าที่ดังกล่าวมีเหตุที่กระทบต่อความไม่มีส่วนได้เสียด้วยเหตุอื่น ตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 13 (2) ถึงมาตรา 13 (6) และมาตรา 16 คำสั่งทางปกครองในกรณีนี้มีผลบังคับตามกฎหมายจนกว่าจะถูกทำให้สิ้นผลทางกฎหมายด้วยการยกเลิกเพิกถอน ซึ่งการจะทำให้คำสั่งทางปกครองนี้สิ้นผลทางกฎหมายต้องพิจารณาถึงการคุ้มครองความเชื่อโดยสุจริต ในความคงอยู่ของคำสั่งทางปกครองของผู้รับคำสั่งทางปกครองด้วย และจะทำให้สิ้นผลทางกฎหมายได้ในกรณีที่ประโยชน์ส่วนรวมถูกกระทบมากกว่าการคุ้มครองความเชื่อโดยสุจริต ในความคงอยู่ของคำสั่งทางปกครองของผู้รับคำสั่งทางปกครอง แต่หากการคุ้มครองความเชื่อโดยสุจริตในความคงอยู่ของคำสั่งทางปกครองของผู้รับคำสั่งทางปกครอง จะถูกกระทบมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม กฎหมายก็ยอมรับให้คำสั่งทางปกครองนี้มีผลบังคับต่อไป ทั้งนี้ ในกรณีที่คำสั่งทางปกครองเกิดจากการพิจารณาทางปกครองขององค์กรกลุ่มหรือคณะกรรมการ ซึ่งมีกรรมการผู้หนึ่งผู้ใดมีเหตุที่กระทบต่อความไม่มีส่วนได้เสียนั้น ถ้าความเห็นของกรรมการที่มีเหตุที่กระทบต่อความไม่มีส่วนได้เสีย ส่งผลกระทบต่อการวินิจฉัยหรือลงมติของคณะกรรมการหรือไม่อาจแยกความเห็นของกรรมการผู้มีเหตุที่กระทบต่อความไม่มีส่วนได้เสีย ออกจากความเห็นของคณะกรรมการได้ คำสั่งทางปกครองที่เกิดจากการพิจารณาทางปกครองของคณะกรรมการดังกล่าวย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อพิจารณาถึงปัญหาดังกล่าวแล้ว อาจแยกข้อเสนอในการแก้ปัญหาได้เป็น 2 ส่วนคือ ในส่วนของบทบัญญัติของกฎหมายนั้น ควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 โดยบัญญัติเรื่องผลทางกฎหมายของคำสั่งทางปกครอง และการทำให้คำสั่งทางปกครองสิ้นผลทางกฎหมายลงไว้อย่างชัดเจน และสอดคล้องกับบทบัญญัติส่วนอื่นๆ ในส่วนของการปรับใช้กฎหมายนั้น ควรมีการศึกษาและเผยแพร่แนวทางในการปรับใช้หลักความไม่มีส่วนได้เสีย ที่สอดคล้องกับหลักกฎหมายมหาชนและกฎหมายปกครองให้มากยิ่งขึ้น เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเหมาะสมในการปรับใช้กฎหมาย
Other Abstract: The rule against bias or nemo judex in causa sua is one of the key principle for the control and supervision of the exercise of administrative power. The principle expresses its specific meaning, scope as well as legal consequences. As for Thailand, the rule against bias has been explicitly set forth in the Administrative Procedure Act, B.E. 2539 (1996), and also in other specific laws. However, the application of the rule against bias under the Act is still unclear in terms of its definition, scope and legal effects. Therefore, it is essential to study this principle in dept for the better understanding. It has been demonstrated in the study that the rule against bias offers the flexibility in its application which is in conformity with the nature of administrative law in upholding the equilibrium of public interests and those of private individual. According to the Act, where an official engaging in an administrative process may have an interest arising from either subjective or objective causes, and neither of the issuance of an administrative act, nor the administrative process has been made, any administrative process done shall not be void, unless the substitute official deems it expedient to proceed otherwise with any part thereof. In contrast, where the issuance of an administrative act has been made by an official engaging in an administrative process who has an interest therein according to Section 13 (1) of the Administrative Procedure Act, B.E. 2539 (1996), such the administrative act shall be void ab initio. However, in the case where an administrative act is issued by an official engaging in an administrative process pursuant to Section 13 (3)-(6) and Section 16 of the Act, the administrative act shall remain in effect as long as it has not yet been revoked. In revoking the administrative act, the bona fide reliance of the beneficiary on the continued existence of the administrative act and the public interest shall be taken into account, or in other words, the revocation shall be made when the failure to revoke would jeopardize the public interest. Furthermore, regarding an administrative act made by a committee having the power in an administrative process of which a member has an interest therein, where the member’s opinion has an influence on the decision or the passing of a resolution of the committee, or his/her opinion cannot be distinguished from that of the committee, the administrative act of such committee shall be deemed unlawful. It has been suggested in this thesis that the amendment of the Administrative Procedure Act, B.E. 2539 (1996) should be made. Particularly, the provisions relating to the legal effect and the revocation of an administrative act should be clearly defined and consistent with other parts of the Act. In addition, the study and dissemination of the guidelines on the application of the rule against bias should also be carried out in order to be more consistent with other principles of public law and administrative law for the proper and appropriate application of this principle.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13505
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1724
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.1724
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jakaphand_ch.pdf1.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.