Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13570
Title: Pharmacoeconomic evaluation of efavirenz-based antiretroviral therary compared with nevirapine-based therapy among Thai HIV/AIDS Patients
Other Titles: การประเมินผลเภสัชเศรษฐศาสตร์การใช้ยาต้านไวรัสที่มียาเอฟฟาวิเรนซเป็นองค์ประกอบ เปรียบเทียบกับยาต้านไวรัสที่มียาเนวิราปีนเป็นองค์ประกอบ สำหรับผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ในประเทศไทย
Authors: Usawadee Maleewong
Advisors: Vithaya Kulsomboon
Thanarak Plipat
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Pharmaceutical Sciences
Advisor's Email: Vithaya.K@Chula.ac.th
No information provided
Subjects: Pharmacy -- Economic aspects
Antiviral agents
HIV infections
AIDS (Disease)
Cost effectiveness
Issue Date: 2006
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: NVP-based or GPO-VIR has been recommended for the first line therapy for Thai HIV/AIDS patients. Negative consequences from serious adverse drug reactions such as Hepatotoxicity, Steven Johnson Syndrome (SJS), Toxic Epidermal Necrolysis (TEN) raised concern among health care providers. The aim of this study was to evaluate cost-effectiveness of the treatment starting with EFV-based therapy as compared with NVP-based therapy in Thai HIV/AIDS patients. A probabilistic Markov model applied to HIV/AIDS patients aged 15 to 65 years was developed to compare the marginal cost and marginal benefit of starting with EFV-based regimens and NVP-based regimens. Input parameters were extracted from cohort study of the four regional hospitals under this study. Only relative risk of death of the two medications from published article was used in the survival rate calculation. The study explored the effects of uncertainty around input parameters, presented as cost-effectiveness plane and cost-effectiveness acceptability (AC) curves. The results indicated that starting with NVP-based increase the risk of having serious adverse events such as hepatitis, cirrhosis, SJS, and TEN (11.3, 5.2, 3.5, 0.9 per 1,000 person-year, respectively), compared with EFV-based regimens. Using a health care provider perspective, the lifetime treatment cost of patients who started with EFV-based was less costly than NVP-based regimens in all age groups except for those who were 20 years. Starting with NVP-based had slightly higher LY gain than EFV-based in aged-group of 30 to 60 years, but had less DALY averted than EFV-based regimens. The findings from AC curves revealed that in patients 20 years, starting with NVP-based was the preferable choice at no extra budget available, however, starting with EFV-based was preferred when the WTP was above 3,000,000 Baht/LY gained. In each group of patient aged 30, 40, 50, and 60 years, the initial therapy using EFV-based was the preferable choice. In terms of cost-utility (baht per DALY averted), starting with EFV-based regimens was the preferable choice in all age groups except those who were 20 years. In this group, starting with EFV-based was preferable when the WTP was above 1,000,000 Baht/LY gained. Given a maximum acceptable willingness to pay threshold of 270,000 Baht/DALY starting with EFV-based was cost effective in all aged group except those who were 20 years. It can be concluded that EFV-based was a preferable choice in terms of cost per DALY averted as well as cost per LY gained, except in patients with 20 years. Presently, due to the decrease of the cost of EFV resulting from the compulsory licensing by the Ministry of Public Health, starting with EFV-based is more cost-effective than NVP-based. It is recommended that EFV-based should be used as the first line regimen for Thai HIV/AIDS patients.
Other Abstract: ในประเทศไทย ยาต้านไวรัสที่มีเนวิราปีนเป็นองค์ประกอบ หรือชื่อทางการค้าว่า “จีพีโอเวอร์” เป็นยาที่รัฐกำหนดให้ใช้ในการเริ่มต้นการรักษาผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ อย่างไรก็ตามผลข้างเคียงที่รุนแรงจากการใช้ยาดังกล่าว เช่น การเกิดภาวะเป็นพิษต่อตับ การเกิด SJS และ TEN ก็เป็นสิ่งที่บุคลากรทางการแพทย์คำนึงถึง วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้คือ การประเมินความคุ้มค่าของการเริ่มต้นการรักษาผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ในประเทศไทย ระหว่างยาต้านไวรัสที่มียาเอฟฟาวิเรนซเป็นองค์ประกอบเปรียบเทียบกับยาต้านไวรัสที่มีเนวิราปีนเป็นประกอบ ในการศึกษาครั้งนี้ ได้ประยุกต์ใช้แบบจำลอง Markov และมีการวิเคราะห์ความไม่แน่นอนแบบ Probabilistic sensitivity กับผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ อายุระหว่าง 15 ถึง 65 ปี เพื่อเปรียบเทียบส่วนเพิ่มของต้นทุนและอรรถประโยชน์ ที่ได้จากการเริ่มต้นการรักษาด้วยยาต้านไวรัสที่มียาเอฟฟาวิเรนซเป็นองค์ประกอบ กับยาต้านไวรัสที่มีเนวิราปีนเป็นประกอบ ตัวแปรที่ใช้ในแบบจำลองได้ข้อมูลจากโรงพยาบาลศูนย์ 4 แห่ง มีเพียงค่าอัตราการตายของผู้ที่เริ่มต้นการรักษาด้วยยาต้านไวรัส ที่มีเอฟฟาวิเรนซเป็นองค์ประกอบเท่านั้นที่มาจากการศึกษาอื่น การศึกษานี้ได้วิเคราะห์ความไม่แน่นอนของตัวแปรและนำเสนอผลการศึกษาในรูปแบบของ Cost-effectiveness (CE) planes และ Cost-effectiveness acceptability (AC) curves ผลการศึกษาสรุปว่า การเริ่มต้นการรักษาด้วยยาต้านไวรัสที่มีเนวิราปีนเป็นประกอบเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรง เช่น ภาวะตับอักเสบ ภาวะเป็นพิษต่อตับ SJS และ TEN โดยมีอัตราอุบัติการณ์ที่ 11.3, 5.2, 3.5 และ 0.9 ต่อ 1000 ประชากร-ปี ตามลำดับ จากมุมมองของการให้บริการของภาครัฐ ค่าใช้จ่ายในการรักษาตลอดชีวิตของผู้ป่วยที่เริ่มต้นการรักษาด้วยยาต้านไวรัสที่มีเอฟฟาวิเรนซเป็นองค์ประกอบ จะน้อยกว่าการเริ่มต้นการรักษาด้วยยาต้านไวรัสที่มีเนวิราปีนเป็นองค์ประกอบในทุกกลุ่มอายุ ยกเว้นผู้ป่วยที่เริ่มต้นการรักษาเมื่ออายุ 20 ปี การเริ่มต้นการรักษาด้วยยาต้านไวรัสที่มีเนวิราปีนเป็นองค์ประกอบจะทำให้อายุขัย (Life-year) ของผู้ป่วยในกลุ่มอายุ 30 ถึง 60 ปี เพิ่มขึ้น มากกว่ากลุ่มที่เริ่มต้นการรักษาด้วยยาต้านไวรัสที่มีเอฟฟาวิเรนซเป็นองค์ประกอบเพียงเล็กน้อย แต่ให้ปีสุขภาวะของภาระโรคที่กลับคืนมา (DALY averted) น้อยกว่าในทุกกลุ่มอายุ ผลการศึกษาจาก AC curves ของต้นทุน-อายุขัยที่เพิ่มขึ้น (cost/ LY gained) พบว่า ในผู้ป่วยที่มีอายุเมื่อเริ่มต้นการรักษาอยู่ในช่วง 20 ปี การเริ่มต้นการรักษาด้วยยาต้านไวรัสที่มีเนวิราปีนเป็นองค์ประกอบมีต้นทุนประสิทธิผลดีกว่า อย่างไรก็ตามการเริ่มต้นการรักษาด้วยยาต้านไวรัสที่มีเอฟฟาวิเรนซเป็นองค์ประกอบจะมีต้นทุน-ประสิทธิผลดีกว่า เมื่อผู้บริหารเต็มใจที่จะจ่ายมากกว่า 3 ล้านบาทต่อ 1 ปีอายุขัยที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่กลุ่มที่ผู้ป่วยที่มีอายุเริ่มต้นการรักษาในช่วง 30 ถึง 60 ปี การเริ่มต้นการรักษาด้วยยาต้านไวรัสที่มีเอฟฟาวิเรนซเป็นประกอบมีต้นทุน-ประสิทธิผลดีกว่า ในการวิเคราะห์ต้นทุน-ปีสุขภาวะของภาระโรคที่กลับคืนมา (cost/ DALY averted) พบว่า การเริ่มต้นการรักษาด้วยยาต้านไวรัสที่มีเอฟฟาวิเรนซเป็นประกอบมีต้นทุน-ประสิทธิผลดีกว่าในทุกกลุ่มอายุ ยกเว้นในกลุ่มอายุ 20 ปีที่จะมีความคุ้มค่าเมื่อผู้บริหารเต็มใจที่จะจ่ายมากกว่า 1 ล้านบาทต่อ 1 ปีสุขภาวะของภาระโรคที่กลับคืนมา หากกำหนดให้ประเทศไทยมีค่าสูงสุดที่ยอมจ่ายสำหรับคุณภาพชีวิตเท่ากับ 2.7 แสนบาท ต่อ 1 ปีสุขภาวะของภาระโรคที่กลับคืนมา จะพบว่า การเริ่มต้นการรักษาด้วยยาต้านไวรัสที่มีเอฟฟาวิเรนซเป็นองค์ประกอบมีต้นทุน-ประสิทธิผลดีกว่าในทุกกลุ่มอายุ ยกเว้นในกลุ่มอายุ 20 ปีเช่นเดียวกัน จากผลการศึกษาดังกล่าวสรุปได้ว่า การเริ่มต้นการรักษาด้วยยาต้านไวรัสที่มีเอฟฟาวิเรนซเป็นประกอบมีต้นทุน-ประสิทธิผลดีกว่าในทุกกลุ่มอายุ ยกเว้นในกลุ่มอายุ 20 ปี ทั้งในส่วนของต้นทุน-อายุขัยที่เพิ่มขึ้น และต้นทุน-ปีสุขภาวะของภาระโรคที่กลับคืนมา ในปัจจุบันมีการใช้สิทธิ (Compulsory Licensing) กับยาเอฟฟาวิเรนซ โดยกระทรวงสาธารณสุข ทำให้ราคายาลดลง การเริ่มต้นการรักษาด้วยยาต้านไวรัสที่มีเอฟฟาวิเรนซเป็นองค์ประกอบจึงยิ่งมีต้นทุน-ประสิทธิผลดีกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับการเริ่มต้นการรักษาด้วยยาต้านไวรัสที่มีเนวิราปีนเป็นองค์ประกอบ จากเหตุผลดังกล่าว จึงควรพิจารณาให้ยาต้านไวรัสที่มีเอฟฟาวิเรนซเป็นองค์ประกอบเป็นยาเริ่มต้นในการรักษาผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ในประเทศไทย
Description: Thesis (Ph.D.)--Chulalongkorn University, 2006
Degree Name: Doctor of Philosophy
Degree Level: Doctoral Degree
Degree Discipline: Social and Administrative Pharmacy
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13570
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1695
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.1695
Type: Thesis
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Usawadee_Ma.pdf1.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.