Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13672
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อุดมลักษณ์ กุลพิจิตร | - |
dc.contributor.advisor | ศิริเดช สุชีวะ | - |
dc.contributor.author | เพ็ญศรี แสวงเจริญ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2010-10-16T07:34:05Z | - |
dc.date.available | 2010-10-16T07:34:05Z | - |
dc.date.issued | 2549 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13672 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมพี่เลี้ยงเด็กในสถาน สงเคราะห์เกี่ยวกับการสร้างสัมพันธภาพความผูกพันในการเลี้ยงดูเด็ก 2) ประเมินผลหลักสูตรการฝึกอบรม พี่เลี้ยงเด็กในสถานสงเคราะห์เกี่ยวการสร้างสัมพันธภาพความผูกพันในการเลี้ยงดูเด็ก ดำเนินการโดย ศึกษาข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสัมพันธภาพความผูกพันในการเลี้ยงดูเด็ก นำข้อมูลที่ได้มาเป็น แนวคิดในการพัฒนาหลักสูตร การประเมินผลหลักสูตรใช้การวิจัยแบบกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือ พี่เลี้ยง เด็กในสถานสงเคราะห์เด็กอ่อนปากเกร็ดจำนวน 30 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบ แบ่งชั้นจากพี่เลี้ยงเด็กที่ เลี้ยงดูเด็กแต่ละกลุ่มอายุ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบวัดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ การสร้างสัมพันธภาพความผูกพันในการเลี้ยงดูเด็ก แบบสังเกตพฤติกรรม การเลี้ยงดูเด็กของพี่เลี้ยงเด็ก แบบสังเกตสัมพันธภาพความผูกพันที่เด็ก 6 เดือน - 3/11 ปีมีต่อพี่เลี้ยงเด็ก แบบสังเกตสัมพันธภาพความ ผูกพันที่เด็กอายุ 4-5 ปี มีต่อพี่เลี้ยงเด็ก และแบบประเมินความพึงพอใจ "การอบรมการสร้างสัมพันธภาพ ความผูกพันในการเลี้ยงดูเด็ก" การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. หลักสูตรการฝึกอบรมพี่เลี้ยง เด็กในสถานสงเคราะห์เกี่ยวกับการสร้างสัมพันธภาพความผูกพันในการเลี้ยงดูเด็กมี แนวคิดหลักที่เป็น พื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรคือแนวคิดการปฏิบัติบนพื้นฐานของการสร้างสัมพันธภาพความผูกพันใน การเลี้ยงดูเด็ก การส่งเสริมสัมพันธภาพความผูกพันในการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด-5 ปีตามพัฒนาการของเด็ก และแนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ ประกอบด้วย 4 กิจกรรมหลักคือ การสร้างความตระหนัก การให้ ความรู้ทางวิชาการ การประเมินผลการเรียนรู้ และการปฏิบัติการภาคสนาม แบ่งการฝึกอบรมเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การสร้างความตระหนักและให้ความรู้ทางวิชาการใช้เวลา 3 วัน ระยะที่ 2 การปฏิบัติการภาค สนามใช้เวลา 8 สัปดาห์ 2. ผลการประเมินหลักสูตรการฝึกอบรมพี่เลี้ยงเด็กในสถานสงเคราะห์เกี่ยวกับ การสร้างสัมพันธภาพความผูกพันในการเลี้ยงดูเด็กหลังการทดลองใช้หลักสูตรพบว่า 1) พี่เลี้ยงเด็กที่เป็น กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยร้อยละของคะแนนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างสัมพันธภาพความผูกพันใน การเลี้ยงดูเด็ก และคะแนนจากแบบสังเกตพฤติกรรมในการเลี้ยงดูเด็กของพี่เลี้ยงเด็กอยู่ในระดับดี ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ผู้วิจัยกำหนด 2) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างสัมพันธภาพความผูกพันในการเลี้ยงดูเด็กสูงกว่าก่อนการทดลองใช้หลักสูตรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) การปฏิบัติต่อเด็กของพี่เลี้ยงเด็กในสถานสงเคราะห์บนพื้นฐานของการสร้างสัมพันธภาพความผูกพันในการเลี้ยงดูเด็กสูงกว่าก่อนการทดลองใช้หลักสูตรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) สัมพันธภาพความผูกพันที่เด็กอายุ 6 เดือน - 3/11 ปี และเด็กอายุ 4-5 ปี มีต่อพี่เลี้ยงเด็กมากกว่าก่อนการทดลองใช้หลักสูตร 5) ความพึงพอใจของพี่เลี้ยงเด็กในการอบรมส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากและมากที่สุด และ เห็นว่าการเลี้ยงดูเด็กบนพื้นฐานของการสร้างสัมพันธภาพความผูกพันในการเลี้ยงดูเด็กทำให้สัมพันธภาพระหว่างพี่เลี้ยงเด็กกับเด็กดีขึ้น | en |
dc.description.abstractalternative | This study used research and development design, the objectives were: 1) to develop a curriculum for training caregivers in orphanages on building attachment-based relationships in child-rearing, and 2) to evaluate the curriculum. The research process was conducted by investigating basic information and concept of building attachment-based relationships in child-rearing. The curriculum was evaluated by using quasi-experimental research design. The research samples were 30 caregivers working in Pakkret Home for Children, selected through stratified sampling. Research instruments included an evaluation form to measure knowledge on building attachment-based relationships in child-rearing, an observation form of caregiver child-rearing behaviors, an observation form of relationships between children and caregivers, and an evaluation form of caregivers' satisfaction on curriculum training of building attachment-based relationships in child-rearing. Data were analyzed by means of mean of percentage, match-paired t-test, and content analysis. The research findings were as follows: 1. The curriculum for training caregivers in orphanages on building attachment-based relationships in child-rearing had its principle for curriculum development based on the concepts of building attachment-based relationships in child-rearing, developmentally appropriateness and adult education were used for enhancing attachment-based relationships in caring 0-5 years old, and consisted of 4 main activities: awareness building, theoretical knowledge instruction, evaluation, and field work. The curriculum training was divided into 2 phases: Phase one; to build up an awareness and theoretical knowledge instruction, laster for 3 days, phase two: field work, lasted 8 weeks. 2. The evaluation of a curriculum for training caregivers in orphanages on building attachment-based relationships in child-rearing after implementing curriculum were: 1) mean of percentage of caregivers' knowledge and child-rearing behavior were at the "good" level within the indicated criterion score, 2) the caregivers' knowledge in building attachment-based relationships in child-rearing is significantly higher than pre-test at the .01 level, 3) the caregivers' scores in observations on child-rearing behavior is significantly higher than pre-test at the .01 level, 4) the attachment of young children ages 6 months to 3/11 years and 4-5 years with the caregivers were higher than pre-test, and 5) the caregivers' satisfaction on the training were mostly found at the level of high and highest satisfaction and the caregivers agreed with the child-rearing practice based on attachment-based relationships to improve relationships between caregivers and children. | en |
dc.format.extent | 6950869 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.545 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | สถานสงเคราะห์เด็ก | en |
dc.subject | เด็ก -- การดูแล | en |
dc.subject | ผู้ดูแลเด็ก -- การฝึกอบรมในงาน | en |
dc.subject | การศึกษา -- หลักสูตร | en |
dc.title | การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมพี่เลี้ยงเด็กในสถานสงเคราะห์ เกี่ยวกับการสร้างสัมพันธภาพความผูกพันในการเลี้ยงดูเด็ก | en |
dc.title.alternative | Curriculum development for training caregivers in orphanages on building attachment-based relationships in child-rearing | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | es |
dc.degree.discipline | การศึกษาปฐมวัย | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Udomluck.K@Chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | Siridej.S@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2006.545 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
pensri.pdf | 6.79 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.