Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13697
Title: | การพัฒนาตัวบ่งชี้ของคุณภาพการวัดและประเมินผลของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน |
Other Titles: | The development of indicators for the quality of the measurement and evaluation of teachers in basic education schools |
Authors: | สุธาสินี แสงมุกดา |
Advisors: | ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Lawthong_n@hotmail.com |
Subjects: | การวัดผลทางการศึกษา การประเมินผลทางการศึกษา ตัวบ่งชี้ทางการศึกษา ครู -- การประเมิน |
Issue Date: | 2549 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | พัฒนาตัวบ่งชี้ของคุณภาพการวัดและประเมินผลของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และตรวจสอบความสอดคล้องของตัวบ่งชี้ของคุณภาพการวัดและประเมินผลของครู ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามความคิดเห็นของบุคลากรทางการศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ครูและผู้บริหารในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในกรุงเทพมหานครที่มีการจัดการศึกษาในระดับช่วงชั้นที่ 4 จำนวน 476 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ และแบบสอบถามตัวบ่งชี้ของคุณภาพการวัดและประเมินผลของครู วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS ในการหาค่าสถิติพื้นฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และใช้โปรแกรม LISREL ในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง ผลการวิจัยพบว่า 1. ตัวบ่งชี้ของคุณภาพการวัดและประเมินผลมีจำนวน 11 ตัวบ่งชี้ แบ่งเป็น 2 องค์ประกอบ คือ 1) ด้านครู ซึ่งประกอบด้วยตัวบ่งชี้จำนวน 6 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ ครูมีการรายงานผลการประเมิน ครูนำผลการประเมินไปใช้ ครูมีการสร้างเครื่องมือและบริหารการวัดผล ครูมีการวางแผนการประเมินผล ครุมีความรู้เรื่องการวัดและประเมินผล และครูมีการตัดสินและประเมินผลการเรียนรู้ 2) ด้านผู้บริหารและสถานศึกษา ประกอบด้วยตัวบ่งชี้จำนวน 5 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ ผู้บริหารมีการส่งเสริมครูและติดตามผลการประเมิน สถานศึกษามีการกำหนดเกณฑ์การประเมินและนำผลการประเมินไปใช้ สถานศึกษามีการจัดระเบียบบริหารงานด้านการวัดและประเมินผล ผู้บริหารมีความรู้และความเป็นผู้นำ และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีการกำหนดนโยบายและติดตามการประเมินผล 2. โมเดลสมการโครงสร้างตัวบ่งชี้ของคุณภาพการวัดและประเมินผล สอดคล้องตามความคิดเห็นของบุคลากรทางการศึกษา โดยมีค่าไค-สแควร์ (Chi-square) เท่ากับ 13.08 ค่าความน่าจะเป็นเท่ากับ 0.95 ที่องศาอิสระ (df) เท่ากับ 23 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 1.00 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) มีค่าเท่ากับ 0.99 และค่าดัชนีรากกำลังสองของส่วนที่เหลือ (RMR) มีค่าเท่ากับ 0.00 |
Other Abstract: | To develop and validate the indicators for the quality of the measurement and evaluation of teachers in basic education schools with opinion of educators. There were 476 teachers and administrator in basic education schools in Bangkok participated in this study which were down by stratified random sampling. The research instruments were the interview and the questionnaire about the indicators for the quality of the measurement and evaluation. Data were analyzed by descriptive statistics, exploratory factor analysis through SPSS, and second order confirmatory factor analysis through LISREL. The research findings showed that. 1. There were 11 indicators for the quality of the measurement and evaluation which can be grouped under 2 facfors. 1) The teacher consisted of 6 indicators; the evaluation report, the implementation of the evaluation, the design for the measurement procedures and the management of the measurement and evaluation, the planning for the measurement procedures, the knowledge of the measurement and evaluation, and the evaluation of learning achievement. 2) The administrators and the educational institutions consisted of 5 indicators; the administrators supporting the teacher development and the administrators monitoring the results of the evaluation, the educational institutions set the criteria of evaluation based on basic education curriculum standard, the educational institutions set the policies for the measurement and evaluation management and the educational institutions implement the results of evaluation, the administrators have the knowledge of the measurement and evaluation and the administrators have the leadership in an academic field and the Office of the Basic Education set the policies of evaluation and the Office of the Basic Education monitor and evaluate the educational institutions. 2. The structural equation models of the indicators for the quality of the measurement and evaluation were consistent with opinion of educators. The fitted model provided the chi-square = 13.08, P = 0.95, df = 23, GFI = 1.00, AGFI = 0.99 and RMR = 0.00. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การวัดและประเมินผลการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13697 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
suthasinee.pdf | 1.62 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.