Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13831
Title: ผลกระทบของการประกาศผลการประชุมนโยบายการเงิน ต่อความผันผวนของตลาดตราสารหนี้ไทย
Other Titles: Effect of monetary policy announcement on volatility of Thai bond market
Authors: สาริศา โคตะวีระ
Advisors: ชัยรัตน์ เอี่ยมกุลวัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
Advisor's Email: Chairat.A@Chula.ac.th
Subjects: ตลาดพันธบัตร -- ไทย
ตราสารหนี้
นโยบายการเงิน
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาในครั้งนี้ใช้แบบจำลอง Markov regime switching ในการอธิบายผลกระทบจากการประกาศอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย ต่อความผันผวนของตลาดตราสารหนี้ไทย เพื่อทราบผลกระทบจากการดำเนินนโยบายการเงินผ่านเครื่องมือทางการเงิน อัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรระยะเวลา 14 วัน (RP 14 วัน) อันจะนำไปสู่การช่วยตัดสินใจและการคาดการณ์ของนักลงทุนในตราสารหนี้ไทย ในภาวะเศรษฐกิจช่วงความผันผวนของการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ทั้งนี้ยังได้ศึกษาการชี้นำของอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา ว่ามีผลชี้นำต่อตลาดตราสารหนี้ไทยหรือไม่ จากการทดสอบกลุ่มตราสารหนี้ตัวอย่าง ได้แก่ ตราสารหนี้ระยะสั้น ตั๋วเงินคลังระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี และตราสารหนี้ระยะยาว พันธบัตรรัฐบาลระยะเวลา 10 ปี โดยใช้ข้อมูลตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2545-2549 รวมทั้งสิ้น 5 ปี พบว่า ตราสารหนี้ระยะยาว พันธบัตรรัฐบาลระยะเวลา 10 ปี มีนัยสำคัญทางสถิติในช่วงอัตราดอกเบี้ยคงที่ ซึ่งเป็นช่วงที่เศรษฐกิจมีความผันผวนต่ำ แต่ไม่พบนัยสำคัญทางสถิติของตราสารหนี้ระยะยาวในช่วงความผันผวนสูง ที่มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย อาจเนื่องจากในช่วงความผันผวนต่ำ อัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มคงที่ส่งผลถึงอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในตราสารหนี้ระยะยาว ที่ให้ผลตอบแทนสูงตามความเสี่ยงที่อาจะเกิดขึ้นตลอดระยะเวลาการถือครอง ทำให้นักลงทุนหันมาถือครองตราสารหนี้ระยะยาวเพิ่มมากขึ้น แต่ทั้งนี้ในตราสารหนี้ระยะสั้น ตั๋วเงินคลังระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี พบว่า มีนัยสำคัญทางสถิติในทั้งสองช่วงเวลาความผันผวน แสดงให้เห็นว่า ไม่ว่าภาวะเศรษฐกิจจะเป็นเช่นไร นักลงทุนต่างให้ความสนใจกับตราสารหนี้ระยะสั้น ส่วนผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐอเมริกานั้น ยังไม่พบผลกระทบที่ชัดเจนต่อตลาดตราสารหนี้ไทย อาจเนื่องมาจาก ตลาดตราสารหนี้ไทยเป็นช่องทางการระดมเงินทุนที่สำคัญของธนาคารแห่งประเทศไทย ทำให้นักลงทุนให้ความสำคัญกับเครื่องมือทางการเงิน ของธนาคารแห่งประเทศไทยมากกว่าธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา แต่ไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกามีส่วนชี้นำทิศทางการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ของตลาดเงินทั่วโลก
Other Abstract: This study uses Markov regime switching model to demonstrate the effect of monetary policy announcements on the volatility of the Thai bond market. The objective of this study is to consider the effect of monetary policy implementation by monetary instruments via the 14-day repurchase rate (RP 14 day) which will help investors make decision and forecast before putting their investment in Thai bonds in low and high fluctuation periods. In addition, this study also analyses an impact of Fed interest rate policy on the Thai bond market. Using data on Thai treasury bills and bonds collected over 2002-2006, the results show that the announcement has an statistically significant effect on ten year government bonds and debentures in low fluctuation period but has an statistically insignificant effect in high fluctuation period. In the low fluctuation period, the interest rates tend to constant resulting in higher bond yields and decreased bonds prices; therefore, more and more investors turn to bond holding. Nevertheless, the announcement has a statistically significant on one year treasury bills are in both low and high fluctuation periods. This implies that in any economic conditions investors are focusing more on short term bills than on other longer term instruments. On the other hand, Fed interest rate policy has no direct effect on the Thai bond market. An important reason is that the Thai bond market is an important channel that the Bank of Thailand uses to sell its bonds, so investors put more emphasize on the Bank of Thailand’s monetary instruments than the Fed interest rate. Nevertheless, it is undeniable that Fed interest rate policy has an impact on the global financial market.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13831
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1746
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.1746
Type: Thesis
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sarisa_Ko.pdf1.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.