Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13947
Title: วิเคราะห์การขับร้องเพลงทยอยเดี่ยว : กรณีศึกษา ครูสุรางค์ ดุริยพันธุ์
Other Titles: An analysis of singing techniques for Thayoi Diao : case study of Khru Surang Duriyapan
Authors: ภรภัทธ์ กุลศรี
Advisors: ปกรณ์ รอดช้างเผื่อน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Advisor's Email: pakorn.jk@hotmail.com
Subjects: สุรางค์ ดุริยพันธุ์
เพลงทะยอยเดี่ยว
การร้องเพลง
เพลงไทยเดิม
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เพลงทยอยเดี่ยวทางร้อง ประพันธ์ขึ้นโดยพระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) ในราวสมัยรัชกาลที่ 6 โดยยึดหลักทำนองของเพลงดนตรีส่วนหนึ่ง และมีบางส่วนที่นำทำนองร้องมาจากทำนองเพลงทยอยใน ผูกร้อยเป็นทำนองเอื้อนในเพลงทยอยเดี่ยวอีกด้วยจากการวิเคราะห์เพลงทยอยเดี่ยวทางร้อง ทางของครูสุรางค์ ดุริยพันธุ์ ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประมวลบริบทที่เกี่ยวข้องกับเพลงทยอยเดี่ยวทางร้องโดยวิเคราะห์โครงสร้างของทำนองเพลง และการใช้กลวิธีพิเศษในการขับร้องของครู สุรางค์ ดุริยพันธุ์ เพลงทยอยเดี่ยวทางร้องเป็นเพลงเดี่ยวขั้นสูงของทางขับร้อง ปัจจุบันเป็นเพลงที่เกือบจะสูญหายไปจากวงการขับร้องเพลงไทย เพลงทยอยเดี่ยวนี้ มีคุณลักษณะพิเศษในด้านความเชื่อและข้อห้ามต่างๆ เช่น ผู้ที่จะสามารถสืบทอดจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ มีคุณสมบัติถึงพร้อม อาจเป็นลูกศิษย์หรือผู้สืบสายตระกูลในสำนักดนตรีนั้นๆ ในการวิเคราะห์เพลงทยอยเดี่ยวครั้งนี้ ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบของทำนองเพลงแบ่งออกเป็น 5 ส่วน คือ ส่วนทำนองขึ้นต้นเพลง ส่วนการร้องเอื้อนลอยครวญ ส่วนการดำเนินเนื้อทำนองเพลง ส่วนที่เป็นการเอื้อนลงทำนองเพลง และส่วนทำนองลงจบ ลักษณะของท่วงทำนอง หลักการประพันธ์พบว่า มีส่วนของทำนองเพลงทยอยใน ปรากฏอยู่ในเพลงทยอยเดี่ยว ระเบียบวิธีการบรรเลง ใช้หน้าทับประเภทสองไม้ตีประกอบ แต่ทั้งนี้ไม่นิยมนำมาร้องในงานพิธีกรรมใดๆ และไม่นำมาเผยแพร่สู่สาธารณชนอย่างเปิดเผย ซึ่งเป็นเพลงที่ถือว่าลึกลับในการศึกษาวิจัยกลวิธีการขับร้องเพลงทยอยเดี่ยว ทางครูสุรางค์ ดุริยพันธุ์ โดยมีศัพท์ที่ใช้แทนกลวิธีเฉพาะคือ "ร่อนผิวลม" และ "ร่อนน้ำลึก" ใช้กลุ่มเสียงปัญจมูล ดรมXซลX(ทางเพลงเป็นทางเพียงออล่าง) และกลุ่มเสียงปัญจมูล ซลทXรมX(ทางเพียงออบน) มีทั้งหมด 30 จังหวะหน้าทับ มีการใช้เสียงที่เป็นเสียงในหลุมช่วยให้ทำนองเพลงมีความไพเราะยิ่งขึ้น มีการร้องโยนลงกลางจังหวะหน้าทับ และลงตรงจังหวะหน้าทับพอดี
Other Abstract: "Thayoi Diao Thang Rong" is refered to the singing melodies and techniques of the masterpiece "Thayoi Diao". It was created by Phraya Prasan Duriyasap (Plaek Prasansap) during the period of King Vajiravudh (King Rama VI: 1910 -1924). The vocal melodies, which is very much imitated the "Thayoi Diao Thang Pi" (an oboe style of Thayoi Diao), is based on the main melodies for musical instruments of "Thayoi Diao" combined with some melodies from the piece "Thayoi Nai". According to the drum pattern, "Song Mai" pattern is used to accompany the piece. In Thai music society, it is claimed that "Thayoi Diao Thang Rong" is one of the most significant singing repertoires, which is hardly performed and taught. Those who learn the piece must be advanced students in singing. Traditionally, vocalists do not perform the piece in public.In this thesis, it focuses on the melodic structure of "Thayoi Diao Thang Rong" and the special singing techniques by Khru Surang Duriyapan. From the musical analysis, there are 5 patterns of the singing melodyies of "Thayoi Diao Thang Rong" which are the followings; (1) Beginning melody, (2) "Uean Loi Khruan" melody (special wordless ornamentation), (3) Main melody , (4) "Uean" melody which leads to the ending melody, and (5) Ending melody The singing techniques for pleng Thayoi Diao of Khru Surang Duriyapan. has specific techniques that are "Ron phiew Lom" and "Ron nam Luk. "The musical melodies are Thang Phiang Au bon and Thang Phiang Aulang. The singing " Yon " in Na Thab that shows the unity of the song. It is realized that the " Thayoi Diao " Thang Rong needs to be taught and preserved for the next generation as much as possible before disappearing according to the tradition of transmission.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ดุริยางค์ไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13947
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1769
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.1769
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ponnpat_Ku.pdf2.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.