Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13978
Title: Competitive equilibrium with quality uncertainty
Other Titles: ดุลยภาพการแข่งขันเมื่อมีความไม่แน่นอนในคุณภาพสินค้า
Authors: Papusson Chaiwat
Advisors: Pongsa Pornchaiwiseskul
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Economics
Advisor's Email: Pongsa.P@Chula.ac.th
Subjects: Equilibrium (Economics)
Quality of products
Competition
Issue Date: 2007
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: The product quality plays important role in modeling competition. This paper explains the behaviors of both consumers and firms by using Monte Carlo simulation when they face quality uncertainty during the competition. Quality uncertainty will lead to market failure, which decreases consumer welfare and distorts profits among firms. Uninformed consumers that face difficulty to recognize quality of each product are easily deceived by firms. Because consumers use price as a signal of product quality, deceiving firms set the high price with low quality (pooling price strategy) to deceive uninformed consumers. Model of simulation shows the Nash equilibrium results for three cases. In the first cases when all consumers are informed, all firms will set reasonable price with their quality (separating price strategy). The utility is the highest. In the second cases when the market has a small fraction of uninformed consumers and low deceiving power of firm, at the Nash equilibrium the lowest quality producing firm will use the pooling price strategy. The consumer utility decreases when the uninformed fraction increases. In the last case with more uninformed consumers or high power of deceiving, at the Nash equilibrium firms that produce the highest quality and the lowest quality will use the separating price strategy whereas the firms that produce medium quality products will use the pooling price strategy. The medium quality firms have incentives to create the unclear quality to consumers by using the pooling price strategy to increase profits. The utility of consumers in last two cases are not maximized because some consumers suffer from consuming low-quality products with high-priced. Consumers will adjust their taste to eliminate quality uncertainty. When no ones will be deceived, welfare of buyers is high but there are still some losses from deceiving attempt. This utility level is lower than in the case when there is no quality uncertainty. Policymakers can solve this problem by giving information about quality to buyers before they make a decision. Government should set up the regulation for the producer to reveal quality of their product in comparison with others opponents or make the consumers guide book to explain the feature of products to consumers. These measures will help eliminate the quality uncertainty to uninformed consumers and raises social welfare of market.
Other Abstract: ข้อมูลของคุณภาพสินค้าเป็นสิ่งจำเป็นและมีผลกระทบต่อการแข่งขันในปัจจุบัน การศึกษานี้มีจุดประสงค์ที่จะอธิบายพฤติกรรมของทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค เมื่อเกิดความไม่แน่นอนในคุณภาพสินค้าในการแข่งขัน โดยใช้วิธีการจำลองสถานการณ์แบบมอนติคาร์โล ความไม่แน่นอนในคุณภาพสินค้าจะก่อให้เกิดความล้มเหลวของตลาด อีกทั้งลดอรรถประโยชน์ของผู้บริโภคและบิดเบือนกำไรของผู้ผลิต ผู้บริโภคที่มีข่าวสารไม่ครบถ้วนนั้นจะถูกผู้ผลิตหลอกได้ง่าย เนื่องจากไม่สามารถแยกแยะคุณภาพสินค้าได้ เนื่องด้วยผู้บริโภคคาดเดาคุณภาพสินค้าผ่านทางราคา ดังนั้นผู้ผลิตจะพยายามหลอกลวงผู้บริโภคโดยตั้งราคาสินค้าของตนให้สูง แต่ผลิตสินค้าคุณภาพต่ำ (กลยุทธ์ตั้งราคาสินค้ารวม) ผลลัพธ์ของการศึกษานี้แสดงถึง ดุลยภาพแนช 3 รูปแบบ นั่นคือ 1. ถ้าผู้บริโภคทั้งหมดในตลาดมีข่างสารครบถ้วนผู้ผลิตจะตั้งราคาอย่างมีเหตุผล นั่นคือตั้งราคาตามคุณภาพสินค้าที่แท้จริง (กลยุทธ์ตั้งราคาแยกตามคุณภาพสินค้า) อรรถประโยชน์ของผู้บริโภคในกรณีนี้มีค่าสูงสุด 2. ถ้าผู้บริโภคส่วนมากเป็นผู้มีข่าวสารครบถ้วนหรือผู้ผลิตสามารถหลอกลวงผู้บริโภคได้น้อย ผู้ผลิตที่ผลิตสินค้าคุณภาพต่ำที่สุดในตลาด จะเลือกใช้กลยุทธ์ตั้งราคารวม ในขณะที่ผู้ผลิตรายอื่นเลือกใช้กลยุทธ์ตั้งราคาแยกตามคุณภาพสินค้า อรรถประโยชน์ของผู้บริโภคในกรณีนี้มีค่าลดลง 3. ถ้าผู้บริโภคส่วนมากมีข่าวสารไม่ครบถ้วนหรือผู้ผลิตสามารถหลอกลวงผู้บริโภคได้ง่ายมาก ผู้ที่ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพสูงที่สุดและต่ำที่สุดในตลาด จะเลือกใช้กลยุทธ์ตั้งราคาแยกตามคุณภาพสินค้า แต่ผู้ที่ผลิตสินค้าคุณภาพในระดับกลางจะเลือกใช้กลยุทธ์ตั้งราคารวมเพื่อหลอกลวงผู้บริโภค และเพิ่มผลกำไรอรรถประโยชน์ของผู้บริโภคในสองกรณีหลังนี้มีค่าลดลง เนื่องจากผู้บริโภคจะไม่พอใจที่บริโภคสินค้าที่มีราคาสูงแต่คุณภาพสินค้าต่ำ ดังนั้นผู้บริโภคจะปรับเปลี่ยนความพึงพอใจเพื่อกำจัดความไม่แน่นอนในคุณภาพสินค้า โดยพยายามปรับเปลี่ยนจนไม่เลือกซื้อสินค้าที่หลอกลวงและไปบริโภคสินค้าอื่นแทน อรรถประโยชน์ของผู้บริโภค ณ เวลาที่ไม่มีสินค้าหลอกลวงในตลาดนั้นจะมีค่าเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามอรรถประโยชน์นี้จะไม่มีค่าสูงเท่ากับกรณีแรก เนื่องจากมีการสูญเสียจากการถูกหลอกของผู้บริโภค ดังนั้นผู้กำหนดนโยบายจึงควรให้ข้อมูลแก่ผู้บริโภคอย่างครบถ้วนก่อนที่ผู้บริโภคจะซื้อสินค้า เพื่อป้องกันการสูญเสียอรรถประโยชน์ของผู้บริโภค โดยการให้ข้อมูลนั้นอาจทำได้โดยกำหนดเป็นกฎหมาย เพื่อบังคับผู้ผลิตให้ชี้แจงคุณภาพสินค้าตนเปรียบเทียบกับคู่แข่งขัน หรือทำหนังสือแนะนำข้อมูลแก่ผู้บริโภค มาตรการเหล่านี้จะช่วยกำจัดความไม่แน่นอนในคุณภาพสินค้า และเพิ่มสวัสดิการแก่สังคม
Description: Thesis (Ph.D.)--Chulalongkorn University, 2007
Degree Name: Doctor of Philosophy
Degree Level: Doctoral Degree
Degree Discipline: Economics
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13978
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.2071
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.2071
Type: Thesis
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Papusson_Ch.pdf1.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.