Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14160
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุวิณี วิวัฒน์วานิช-
dc.contributor.authorกาญจนี โอภาสทิพากร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2010-12-17T07:49:51Z-
dc.date.available2010-12-17T07:49:51Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14160-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en
dc.description.abstractศึกษาการรับรู้การปฏิบัติบทบาทพยาบาลวิชาชีพผู้มีความรู้ความชำนาญเฉพาะทาง ของพยาบาลวิชาชีพที่ได้รับวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญเฉพาะทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยการรับรู้การปฏิบัติบทบาท จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ ประสบการณ์การปฏิบัติงานก่อนได้รับการรับรองวุฒิบัตร สถานที่ปฏิบัติงาน ตำแหน่งงานหลังได้รับการรับรองวุฒิบัตร สาขาการพยาบาลที่ได้รับการรับรอง กลุ่มตัวอย่างคือพยาบาลวิชาชีพที่ได้รับวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญเฉพาะทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รุ่นที่ 1, 2 และ 3 จำนวน 157 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยใช้แนวคิดบทบาทผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงของสภาการพยาบาล (Advance practice nursing) (2544) ประกอบด้วยบทบาท 6 ด้านคือ 1) ด้านการปฏิบัติการพยาบาล 2) ด้านการให้ความรู้ 3) ด้านการวิจัย 4) ด้านการให้คำปรึกษา 5) ด้านบริหารจัดการและเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง และ 6) ด้านคุณธรรมจริยธรรมและกฎหมาย ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ .80 และหาค่าความเที่ยง โดยทดสอบค่าสัมประสิทธ์แอลฟ่าของครอนบาค ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ .96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติทดสอบ เอฟ (F-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. พยาบาลวิชาชีพที่ได้รับวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญเฉพาะทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ มีค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้การปฏิบัติบทบาทพยาบาลวิชาชีพ ผู้มีความรู้ความชำนาญเฉพาะทางโดยรวมอยู่ในระดับสูงทุกด้าน (X mean = 3.93, SD = .06) โดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือการรับรู้ด้านการปฏิบัติการพยาบาล (X mean = 4.15, SD = .53 ) รองลงมาคือด้านการเป็นที่ปรึกษา (X mean = 4.01, SD = .65) ด้านการให้ความรู้ (X mean = 3.93, SD = 0.72 ) ด้านคุณธรรมจริยธรรมและกฎหมาย (X mean = 3.89, SD = .65) ด้านการบริหารจัดการและเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (X mean = 3.87, SD = .72 ) และค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านการวิจัย (X mean = 3.77, SD = 0.73) 2. พยาบาลวิชาชีพที่ได้รับวุฒิบัตรความรู้ความชำนาญเฉพาะทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ที่มีความแตกต่างของปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุ ประสบการณ์การปฏิบัติงานก่อนได้รับการรับรองวุฒิบัตร สถานที่ปฏิบัติงาน ตำแหน่งงาน วุฒิบัตรสาขาการพยาบาลพบว่า มีค่าเฉลี่ยการรับรู้การปฏิบัติบทบาทแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P<.05)en
dc.description.abstractalternativeTo study the level of clinical nurse specialist role performances such as clinical practice role, educator role, researcher role, consulting role, leadership role and ethical decision making roles, perceived by certified advanced practice nurse and compared perception of the CNS role performances by certified advanced practice nurse who had different personal factor in age, workplace, work position, work experience after CNS certified and certified nursing specialist. The sample consisted of 157 cases of advanced practice nurses. The questionnaire was developed by the researcher using concept of advanced practice nursing role. The questionnaire comprises of 40 questions of CNS role performances (6 dimensions) and verified content validity by 5 experts was .80, and the coefficient of Cronbach’s alpha reliability was .96. Statistical techniques used for data analysis by frequency, percentage, mean, standard deviation and F-test. Major finding : 1. Mean score of CNS role performances perceived by certified advanced practice nurse was at the high level (X mean = 3.93, SD = .60). The highest level is clinical practice role (X mean = 4.15, SD = .53). The higher level is consultant role (X mean = 4.01, SD = .65). Educator role (X mean = 3.93, SD = .72). Advocate role (X mean = 3.89, SD = .65). Administrative/Change agent role (X mean = 3.87, SD = .72) and the lowest level is researcher role (X mean = 3.77, S.D = .73) 2. There is no significant different of role performance at level 0.5 by certified advanced practice nurse who different in age, workplace, work position, work experience after CNS certified and certified nursing specialist.en
dc.format.extent2283106 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1939-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectสภาพยาบาลแห่งประเทศไทยen
dc.subjectพยาบาลวิชาชีพen
dc.subjectการพยาบาลen
dc.titleการปฏิบัติบทบาทของพยาบาลวิชาชีพผู้มีความรู้ความชำนาญเฉพาะทางen
dc.title.alternativeRole performance of advanced practice nurseen
dc.typeThesises
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการบริหารการพยาบาลes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSuvinee.W@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.1939-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kanjanee_Op.pdf2.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.