Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14210
Title: การใช้เยื่อหุ้มรกของสุนัขรักษาแผลหลุมของกระจกตาที่เกิดจากการเหนี่ยวนำและเกิดขึ้นเองในสุนัข
Other Titles: The use of homologous amniotic membrane to repair induced and clinical corneal ulcers in dogs
Authors: สิมณฑ์ วงษ์สกุล
Advisors: มาริษศักร์ กัลล์ประวิทธ์
สุดสรร ศิริไวทยพงศ์
ปราณี ตันติวนิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Marissak.K@Chula.ac.th
Sudson.S@Chula.ac.th
Pranee.T@Chula.ac.th
Subjects: กระจกตา
กระจกตา -- แผล
เยื่อหุ้มรก -- การใช้รักษา
สุนัข -- โรค
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาทำในสุนัขทดลอง 10 ตัวและสุนัขป่วย 10 ตัว ในการทำให้เกิดแผลหลุมของกระจกตาในสุนัขทดลองทุกตัวใช้ trephine ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5 เซนติเมตร เจาะที่บริเวณกึ่งกลางของกระจกตาลึกถึงชั้นส่วนพยุงทั้ง 2 ข้างแต่เว้นระยะห่างระหว่างข้าง 60 วัน หลังจากทำให้เกิดแผลหลุม ตา 4 ข้างของสุนัขทดลอง 4 ตัวได้รับการรักษาด้วยการเย็บหนังตาที่ 3 ปิด (กลุ่มที่ 1) ในขณะที่ตาอีก 4 ข้างได้รับการรักษาโดยใช้เยื่อหุ้มรกสดร่วมกับการเย็บหนังตาที่ 3 (กลุ่มที่ 2) แผลหลุมอีก 12 ตาของสุนัขทดลอง 6 ตัวได้รับการรักษาหลังเปิดแผลหลุมทิ้งไว้ 3 วัน โดยการเย็บหนังตาที่ 3 ในตา 6 ข้าง (กลุ่มที่ 3) และใช้เยื่อหุ้มรกเก็บถนอมร่วมกับการเย็บหนังตาที่ 3 ในตาอีก 6 ข้าง (กลุ่มที่ 4) สุนัขป่วยทุกตัวได้รับการรักษาโดยการใช้เยื่อหุ้มรกเก็บถนอมร่วมกับการเย็บหนังตาที่ 3 สังเกตระยะเวลาการหายไปของเยื่อหุ้มรก การสร้างเยื่อบุผิวเต็มแผลหลุม การขุ่นของกระจกตา การมองเห็นและอาการแทรกซ้อนเป็นระยะเวลา 60 วัน ในสุนัขทดลองพบว่าเยื่อหุ้มรกชนิดสด และชนิดเก็บถนอมหายไปที่ 10.50 ± 2.38 และ 7.33 ± 0.52 วัน ตามลำดับ ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) ระหว่างระยะเวลาการสร้างเยื่อบุผิวเต็มแผลหลุมและระยะเวลากระจกตาขุ่นของสุนัขกลุ่ม 1 และกลุ่ม 2 ในขณะที่กลุ่มที่ 4 มีระยะเวลาการสร้างเยื่อบุผิวเต็มแผลหลุมสั้นกว่ากลุ่มที่ 3 แต่พบการขุ่นของกระจกตายาวนานกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) สุนัขทุกตัวมองเห็นเป็นปกติและไม่มีแผลเป็นที่กระจกตา ถึงแม้จะพบการบวมน้ำเฉพาะแห่งของกระจกตาและเส้นเลือดชั้นผิว ในบริเวณที่มีไหมเย็บตกค้างในสุนัข 1 ตัว ซึ่งหายไปภายหลังตัดไหม เยื่อหุ้มรกในสุนัขป่วยหายไปในระยะเวลาประมาณ 11.40 ± 4.43 วัน พบการสร้างเยื่อบุผิวเต็มแผลหลุมภายใน 7 วัน จำนวน 3 ตัว และภายในวันที่ 21 ใน 7 ตัวที่เหลือกระจกตากลับใสภายใน 60 วัน (30.10 ± 12.80 วัน) สุนัข 9 ตัวมองเห็นเป็นปกติ
Other Abstract: The studies were performed in 10 experimental mongrels and 10 clinical dogs. In all mongrels, the corneal ulcers were created by trephining, 5 mm in diameter and deep to the stromal layer, at the center of both eyes at 60 days apart. Following trephining, the ulcers of 4 eyes of 4 mongrels were covered with third eyelid flaps (TEF) (group 1) while the other 4 eyes were covered with fresh CAM and TEF (group 2). The ulcers of 12 eyes of other 6 mongrels were left untreated for 3 days. Then, TEF was applied on 6 eyes of the 6 dogs (group 3) while preserved CAM together with TEF was applied on the other 6 eyes (group 4). The preserved CAM together with TEF was applied in all clinical dogs. Disappearance of the CAM, epithelialization and opacity of the cornea, visualization and complications were observed for 60 days. In experimental dogs, the fresh and preserved CAM was disappeared approximately at 10.50 ± 2.38 and 7.33 ± 0.52 days, respectively. There were no significant differences (P>0.05) in the durations of corneal epithelialization and corneal opacity between group 1 and 2. Group 4 showed significantly (P<0.05) shorter corneal epithelialization duration but longer corneal opacity duration than those of group 3. All experimental dogs had normal vision and no corneal scar though 1 dog revealed superficial vascularization and focal edema of the cornea until the remained suture was removed. In 10 dogs with clinical disorders of the cornea, the preserved CAM was disappeared approximately at 11.40 ± 4.43 days. Complete epithelialization of the cornea was found within 7 days in 3 eyes and 21 days in the other 7 dogs. Nine eyes regained normal vision.
Description: วิทยานิพนิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ศัลยศาสตร์ทางสัตวแพทย์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14210
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.959
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.959
Type: Thesis
Appears in Collections:Vet - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Simon_Vo.pdf1.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.