Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14258
Title: วิเคราะห์เดี่ยวฆ้องวงใหญ่เพลงทยอยเดี่ยว ทางครูสอน วงฆ้อง
Other Titles: Musical analysis of Khru Sorn Wongkhong's Tayoi Diao solo for Khong Wong Yai
Authors: นพดล คลำทั่ง
Advisors: บุษกร สำโรงทอง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Bussakorn.S@Chula.ac.th
Subjects: สอน วงฆ้อง, 2445-2518
เพลงไทยเดิม
เพลงทะยอยเดี่ยว
ดนตรีไทย
ฆ้องวง
ฆ้องวงใหญ่
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาทางเดี่ยวสำหรับฆ้องวงใหญ่เพลงทยอยเดี่ยวทางครูสอน วงฆ้อง วิเคราะห์ศึกษาตามหลักวิชาทางดุริยางคศิลป์ไทย โดยศึกษาจากเอกสารทางวิชาการดนตรีไทยและสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ แล้วจึงบันทึกโน้ตเพลงเพื่อวิเคราะห์ จากการวิเคราะห์เดี่ยวฆ้องวงใหญ่เพลงทยอยเดี่ยวทางครูสอน วงฆ้อง พบว่าโครงสร้างของเพลงสามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วนสำคัญ ได้แก่ ทำนองในเที่ยวโอดและทำนองในเที่ยวพัน โดยทำนองในเที่ยวโอดเป็นการนำเค้าโครงจากเพลงทยอยในมาสร้างสรรค์ทำนองเดี่ยว ส่วนทำนองในเที่ยวพันประกอบไปด้วยกลุ่มทำนองโยนกลุ่มต่างๆ ที่มุ่งไปหาเสียงสำคัญตามบันไดเสียงหลักที่ใช้ในทำนองเดี่ยวเพลงนี้ คือ บันไดเสียงทางใน ซึ่งมีกลุ่มเสียงปัญจมูลคือ ซ ล ท X ร ม X ทำนองมีการฉายให้เห็นถึงทำนองที่มีเค้าโครงที่มาจากเพลงทยอยในอีกครั้งในช่วงท้าย และทำนองลงจบเป็นทำนองที่มีลักษณะเดี่ยวกันกับการลงจบของเพลงพญาโศก ทำนองเดี่ยวเพลงทยอยเดี่ยวทางนี้มีการใช้ศักยภาพของการผลิตเสียงของฆ้องวงใหญ่ได้เต็มตามศักยภาพ ที่ฆ้องวงใหญ่จะสามารถผลิตเสียงต่างๆ ออกมาได้และยังทำให้ทำนองเดี่ยวเพลงทยอยเดี่ยวทางนี้ มีความกลมกลืนของเสียงเป็นอย่างมาก ในส่วนของอัตลักษณ์เฉพาะของทำนองเดี่ยวเพลงทยอยเดี่ยวทางนี้ มีการใช้กลวิธีพิเศษต่างๆ ในการดำเนินทำนองแต่ละช่วงทั้งการใช้คู่ประสาน การสะบัดในลักษณะต่างๆ การตีไขว้มือ การตีกรอเสียง การตีดูดเสียง ทำนองโยนแต่ละช่วงมีการประดับประดาทำนองโยนอย่างแยบยลคมคาย อีกทั้งทำนองเพลงยังสามารถสะท้อนอารมณ์เศร้าในรูปแบบต่างๆ อันเป็นไปตามลักษณะเฉพาะของเพลงทยอยออกมาได้อย่างสมบูรณ์ ทำให้ภาพลักษณ์ของเดี่ยวฆ้องวงใหญ่เพลงทยอยเดี่ยวทางครูสอน วงฆ้อง มีความสะอาดกระจ่างแจ่มชัดและสมบูรณ์เป็นอย่างยิ่ง
Other Abstract: To analyse the musical form and advanced technigues of Khru Sorn Wongkhong's Tayoi Diao Solo for Khong Wong Yai. This research was carried out by gualitative methods of academic Thai Music research methodologies interview of specialists, observations., and transcription analysis. The research findings reveal that the musical form was consisted of two main parts which were the Tiao Oad melodies and Tiao Pan melodies. The Tiao Oad melodies were derived from the Tayoi song but it was adapted into solo tune. The Tiao Pan tune comprises of "Yon" sections, which are comprised of pillar tones in the pentacentric mode of Tang Nai. The tune depicted the derivation from Tayoi song again in the latter part and the ending part is the same solo piece as that of the ending part of the "PhayaSok" song. The Diao tune of this Tayoi Diao song demonstrated the full potentiality of the sound production of Khong Wong Yai and enriched the harmony of the tonal timber perfectly. The uniqueness of the Diao tune of this Tayoi Diao song is that it employs advanced technigues in each phase, for example, the use of interval, trills, cross hand strumming, gliding strumming, sound sucking strumming. Each tune is decorated with "Yon" melodies beautifully. In addition the tunes reflected various melanchol emotions which is a unique aspect of Tayoi song. As a result, it clearly created an image for the Khru Sorn Wongkhong's Tayoi Diao solo of Khong Wong Yai.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ดุริยางค์ไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14258
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1022
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.1022
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
noppadon_kl.pdf2.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.