Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14305
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกนกศักดิ์ แก้วเทพ-
dc.contributor.authorสกลฤทธิ์ จันทร์พุ่ม-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์-
dc.date.accessioned2010-12-27T14:16:40Z-
dc.date.available2010-12-27T14:16:40Z-
dc.date.issued2549-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14305-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549en
dc.description.abstractกระบวนการกลายเป็นสินค้าหมายถึง การเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ทางสังคมให้กลายเป็นความสัมพันธ์แบบการค้า แบบการแลกเปลี่ยนผ่านผู้ซื้อกับผู้ขาย โดยมีเงินตราและตลาดเป็นตัวกำหนดความสัมพันธ์นี้ เช่นเดียวกันกับสินค้าชนิดอื่นๆ ความรู้ได้ถูกทำให้เป็นสินค้า จากเดิมที่ความรู้สามารถเรียนรู้ได้จากประสบการณ์ของตนเอง หรือผ่านการอบรมสั่งสอนจากครอบครัวชุมชน หรือในบริบทของสังคมไทยวัดจะมีบทบาทสำคัญในการถ่ายทอดความรู้ แต่เมื่อโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมเปลี่ยนแปลงไป เกิดมีการศึกษาในระบบโรงเรียนขึ้น ทำให้การเรียนรู้ หรือความรู้ถูกแยกออกมาจากการเรียนรู้ด้วยตนเอง หรือเรียนรู้ผ่านชุมชน มาสู่การเรียนรู้ในห้องเรียน ผ่านความรู้ตามหลักสูตร และรายวิชา ผู้ผลิตความรู้หรือครูอาจารย์มิได้เป็นเจ้าของความรู้นั้นๆ โดยตรง แต่เป็นการเรียนการสอนตามหลักสูตรที่ถูกกำหนดมา ทำให้เกิดการแยกความรู้ออกจากผู้มีความรู้ และเมื่อความรู้นั้นถูกทำให้เป็นหลักสูตร เป็นรายวิชา ก็สามารถนำความรู้นั้นมาขายเป็นสินค้าได้เช่นเดียวกับสินค้าชนิดอื่นๆ ในขณะที่สังคมไทยมีค่านิยมในเรื่องการศึกษาต่อ ในระดับอุดมศึกษาในมหาวิทยาลัยปิดของรัฐอย่างมาก ซึ่งระบบการคัดเลือกผู้ที่จะมีสิทธ์เข้าศึกษาต่อเป็นระบบสอบคัดเลือกแบบแพ้คัดออก ทำให้เกิดการแข่งขันกันอย่างมากในการเตรียมตัวสอบเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย ก่อให้เกิดการกวดวิชาและโรงเรียนกวดวิชาขึ้น เพื่อผลิตความรู้เฉพาะสำหรับใช้ในการสอบเข้าศึกษาต่อขึ้น ความรู้ในการกวดวิชาได้กลายเป็นสินค้าความรู้ชนิดหนึ่งที่มีการผลิตเพื่อขาย และตอบสนองความต้องการของตลาด โดยมีนักเรียนทุกระดับชั้นกลายมาเป็นผู้บริโภค เพื่อหวังว่าจะนำความรู้ที่ได้จากการกวดวิชาในโรงเรียนกวดวิชา ไปใช้ในการสอบเข้าศึกษาต่อในคณะหรือมหาวิทยาลัยที่ตนต้องการ และสามารถออกมาทำงานในตลาดแรงงานที่ตนใฝ่ฝันได้ เมื่อการกวดวิชาในโรงเรียนกวดวิชากลายเป็นสินค้าชนิดหนึ่งแล้วนั้น ผู้ผลิตได้มีกระบวนการการดำเนินธุรกิจไม่แตกต่างไปจากการดำเนินธุรกิจในการผลิตสินค้าชนิดอื่นๆ กล่าวคือ มีการสะสมมูลค่าส่วนเกินจากพลังแรงงานของครูอาจารย์ท่านอื่น และอาศัยพลังการผลิตหรือเทคโนโลยีในการที่จะทำให้สามารถผลิตความรู้กวดวิชาออกมาได้เป็นจำนวนมาก ขณะเดียวกันก็มีการทำให้การเรียนการสอนมีมาตรฐานเดียวกัน เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างทั่วถึง และอาศัยการดำเนินกิจกรรมทางการตลาด เพื่อก่อให้เกิดการสะสมทุนและขยายกิจการต่อไปเรื่อยๆen
dc.description.abstractalternativeThe change of social relation into commercial one, a relationship determined by money and market and typified by the exchange relationship between buyer and seller, is a process of commodification. As with other commodities, knowledge has also been transformed into a commodity. Formerly, knowledge was acquired from personal experiences of a certain individual, or instructed by family or community. In the context of Thai society, temples had an important role in education. Yet, when the socio-economic structure changed, modern education system was created and subsequently separated knowledge from self-learning and community to rigid learning within the classroom according to specified curriculum and subjects. Knowledge producers, or teachers, are no longer the “owner” of such knowledge. Education becomes the learning according to designed curriculum, thereby separating knowledge from the knowledgeable, and when such knowledge is made into curriculum or course, it can be sold just like other commodities. At the time when Thai society has a strong preference for higher educational pursuit in close public universities, whose selection process is a winner-take-it-all, high competition between those, who wish to pursue their university education, emerges and contributes to an increasing quantity of tutoring and tutoring school. The knowledge provided there is very specific and aimed to exclusively achieve success in the university entrance exam. Such knowledge becomes a commodity, which is produced for selling and actively responds to market demand. Students at all levels become the consumers in hope that they will be able to utilize such knowledge in the entrance examination for an admission into the faculty or university of their choice. The consequent result is predictable: a dream job after college. When the tutorial schools have become a commodity, the producers proceed to conduct their businesses similarly to other businesses, which produce regular commodities and merchandise for the market. Particularly, there is an accumulative process of labor surplus from the labor power of teachers at such schools, and the schools employ technologies that would produce a particular kind of knowledge in an expansive manner, which is aimed at an increase in quantity. At the same time, method of learning and teaching is standardized in order to effectively respond to consumer demand. Marketing activities are also employed for capital accumulation and business expansion.en
dc.format.extent1411533 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2006.141-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectเศรษฐศาสตร์การเมืองen
dc.subjectสังคมนิยมen
dc.titleเศรษฐศาสตร์การเมืองว่าด้วยโรงเรียนกวดวิชาen
dc.title.alternativePolitical economy of private tutoringen
dc.typeThesises
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineเศรษฐศาสตร์การเมืองes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorKanoksak.K@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2006.141-
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sakolrit_Ch.pdf1.38 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.