Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14338
Title: ความรับผิดทางอาญาของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม
Other Titles: Criminal liability of medical professional
Authors: ดวงกมล ภู่ลาย
Advisors: ปารีณา ศรีวนิชย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Pareena.S@Chula.ac.th
Subjects: ความรับผิดทางอาญา
บุคลากรทางการแพทย์ -- ทุเวชปฏิบัติ
กฎหมายทางการแพทย์
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: แม้ปัจจุบันประเทศไทยจะมีพระราชบัญญัติผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 ในการควบคุมการทำงานและจริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมอยู่ก็ตาม แต่พระราชบัญญัติดังกล่าวก็เป็นเพียงการกำหนดขอบเขตหน้าที่และจริยธรรม ที่จะปฏิบัติต่อผู้ป่วยไว้อย่างกว้างๆ เท่านั้น แต่ไม่ได้บัญญัติถึงความรับผิดทางอาญาไว้แต่อย่างใด ดังนั้น ความรับผิดทางอาญาของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม จึงต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายอาญามาพิจารณาต่อไป อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการประกอบวิชาชีพเวชกรรม เป็นกิจกรรมที่จะต้องกระทำต่อเนื้อตัวร่างกายของผู้ป่วย ซึ่งในการรักษาย่อมมีโอกาสเกิดความผิดพลาดหรือเกิดอุบัติเหตุในการปฏิบัติงาน และเกิดอันตรายแก่ชีวิตร่างกายและจิตใจของผู้ป่วยได้เสมอ ในการศึกษาวิจัยได้อาศัยแนวการวินิจฉัยในระบบกฎหมาย Common law มาวิเคราะห์ถึงความรับผิดทางอาญาของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม โดยในกฎหมายระบบ Common law การกระทำความผิดอาญากรณีประมาทนั้น ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมจะรับผิดต่อเมื่อเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเท่านั้น นอกจากนี้ยังได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาถึงการกระทำโดยประมาทของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมไว้ และมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาความยินยอมของผู้ป่วย ซึ่งอาจยกมาเป็นเหตุยกเว้นความรับผิดทางกฎหมายได้ ซึ่งหลักเกณฑ์เหล่านี้ทำให้เกิดความชัดเจน ในการพิจารณาความรับผิดทางอาญาของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมได้ ดังนั้นวิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงเสนอแนะให้มีหลักเกณฑ์ การพิจารณาความรับผิดทางอาญาของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมขึ้น โดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมจะรับผิดอาญาในกรณีการกระทำโดยเจตนา และประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเท่านั้น นอกจากนี้ ผู้เขียนยังได้เสนอแนะในเรื่องของการให้ความยินยอมในการรักษาว่า แพทย์จะต้องบอกกล่าวถึงสิ่งที่เป็นข้อเท็จจริงและสาระสำคัญในการรักษา เพื่อให้ความยินยอมนั้นเป็นเหตุยกเว้นความรับผิดทางอาญาของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมได้ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาความรับผิดในการทำงานของแพทย์ ซึ่งเป็นวิชาชีพที่จำเป็นในสังคมต่อไป
Other Abstract: Although Thailand has the Control of Medical Profession Act B.E. 2525 and the Medical Council of Thailand to monitor medical profession, it scopes, however, limit only to duty and morality of medical professional in general. Nor does it have any provisions on criminal liability specifically for medical professionals. Therefore, the Penal Code must be applied when determining criminal liability of medical professionals. By nature, the medical professionals must act on patient’s body, which mistakes can easily happen incidentally or negligently and cause injuries to patient’s life, body, or mind. This research found that in common law system, medical professionals will be criminally liable only when they act with gross negligence. In addition, there are criteria to determine patient’s “informed consent” which might be raised to exempt criminal liability of medical professionals. These laws and criteria could help criminal liability of medical professions be determined more clearly. Therefore, this thesis proposed that Thailand should set a criteria to punish only medical professionals, during a usual treatment, who act with gross negligence. A guideline that explicitly accept the concept of informed consent should also be introduced as an exemption of criminal liability for the benefits of security for medical professionals, which is one of the most significant profession in the society.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14338
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1369
ISBN: 9741434448
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.1369
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
DuangKamon_Pu.pdf1.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.