Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14342
Title: Influences of full fat soybean diets on ovarian follicular development and concentration of progesterone in the postpartum crossbred diary cows
Other Titles: อิทธิพลของการใช้ถั่วเหลืองไขมันเต็มในสูตรอาหาร ต่อการพัฒนาของฟอลลิเคิล และความเข้มข้นของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ในโคนมพันธุ์ผสมหลังคลอด
Authors: Supalak Tunprayoon
Advisors: Somchai Chanpongsang
Narongsak Chaiyabutr
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Veterinary Science
Advisor's Email: Somchai.C@Chula.ac.th
Narongsak.C@Chula.ac.th
Subjects: Feeds
Estrus
Dairy cattle -- Food
Soybean
Progesterone
Issue Date: 2008
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: An experiment was studied to investigate influences of full fat soybean (FFS) diets on follicular development and concentration of progesterone in the postpartum crossbred dairy cows. Six multiparous and nine primiparous 87.5% crossbred Friesian cows were assigned randomly to a 3 x 2 factorial arrangement to evaluate 3 groups of diets which began after calving to 8 weeks postpartum. Cows received total mixed ration consisted of a 39:61 corn silage:concentrate ratio with 0, 18 or 24% of DM diet as FFS. All diets which were isonitrogenous and isoenergetic and contained 1.4, 4.5 or 5.9%EE, respectively. Dry matter intake (DMI), milk yield, body condition score (BCS) and body weight (BW) were recorded. Milk samples and rumen fluid were collected to analyze milk composition and volatile fatty acids (VFA). Blood plasma was analyzed for glucose, non esterified fatty acid (NEFA) and progesterone (P4) concentrations. Follicular development was monitored by ultrasonography. Results of the experiment showed that average DMI, BCS, BW, milk composition, ruminal pH and VFA concentration were not significantly different (p>0.05) among dietary groups. Average milk yield during the 2nd month postpartum and all experiment period were significant difference (p<0.05) among dietary groups. Average milk yield of 0, 18%FFS versus 24%FFS groups were 16.8, 17.8 versus 20.9 and 16.3, 17.1 versus 19.4 kg/d, respectively. Average EB was more negative (P<0.05) in multiparous cows fed 18%FFS diet than multiparous cows fed 0%FFS diet. The concentration of plasma glucose, NEFA and follicular development did not differ (p>0.05) among dietary groups. However the concentration of plasma P4 in 0 and 18%FFS groups were greater (p<0.01) than 24%FFS group. Augmentation fat supply in form of oilseed from FFS did not influence on follicular development in crossbred Friesian cows but supplementation FFS at 24% of diet apparently led to increase milk yield while it enhanced negative EB (NEB). This greater NEB led to reduce plasma P4 significantly when compared to cows fed 0 and 18% FFS diets.
Other Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของการใช้ถั่วเหลืองไขมันเต็มในสูตรอาหาร ต่อการพัฒนาของฟอลลิเคิล และระดับความเข้มข้นของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ในโคนมพันธุ์ผสมหลังคลอด สัตว์ทดลองเป็นแม่โค จำนวน 6 ตัว และโคสาว จำนวน 9 ตัว ซึ่งเป็นพันธุ์ผสมฟรีเชียน ระดับสายเลือด 87.5% จะถูกสุ่มเข้าการทดลองซึ่งมีการจัดแบบ 3 x 2 แฟคทอเรียล อาหารมี 3 สูตร ได้แก่ อาหารที่ไม่ใช้ถั่วเหลืองไขมันเต็ม (กลุ่มควบคุม) อาหารที่ใช้ถั่วเหลืองไขมันเต็มระดับ 18 และ 24% ของวัตถุแห้ง โดยอาหารทั้ง 3 สูตรนี้มีระดับโปรตีน และระดับพลังงานเท่ากัน มีระดับไขมันเท่ากับ 1.4 4.5 และ 5.9% ตามลำดับ เริ่มทำการวิจัยตั้งแต่คลอดถึง 8 สัปดาห์หลังคลอด โคทุกตัวที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้รับอาหารผสมรวมที่มีอัตราส่วนของ ต้นข้าวโพดหมัก:อาหารข้น เท่ากับ 39:61 การวิจัยครั้งนี้ได้ทำการบันทึกหาปริมาณการกินได้ ปริมาณน้ำนม คะแนนความสมบูรณ์ของร่างกาย และน้ำหนักตัว มีการเก็บอย่างน้ำนม เพื่อนำไปวิเคราะห์หาองค์ประกอบน้ำนม มีการเก็บตัวอย่างของเหลวในกระเพาะรูเมน เพื่อวิเคราะห์หากรดไขมันระเหยได้ มีการเก็บตัวอย่างน้ำเลือด เพื่อนำไปวิเคราะห์หาระดับความเข้มข้นของกลูโคส non esterified fatty acid (NEFA) และฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน มีการวัดการพัฒนาของฟอลลิเคิลโดยใช้เครื่องอัลตร้าซาวนด์ จากการศึกษาครั้งนี้พบว่า โคที่ได้รับอาหารในแต่ละสูตร มีค่าเฉลี่ยปริมาณการกินได้ คะแนนความสมบูรณ์ของร่างกาย น้ำหนักตัว องค์ประกอบน้ำนม ค่า pH ของของเหลวในกระเพาะรูเมน และกรดไขมันระเหยได้ ไม่มีความแตกต่างกัน (p>0.05) แต่การใช้ถั่วเหลืองไขมันเต็มที่ 24% ของวัตถุแห้ง สามารถเพิ่มปริมาณน้ำนม(p<0.05) ในช่วงเดือนที่สองหลังคลอด และตลอดการทดลองเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม และกลุ่มที่ใช้ถั่วเหลืองไขมันเต็มที่ 18% ของวัตถุแห้ง โดยค่าเฉลี่ยปริมาณน้ำนมของกลุ่มควบคุม และกลุ่มที่ใช้ถั่วเหลืองไขมันเต็มที่ 18% และ 24% ของวัตถุแห้ง ในช่วงเดือนที่สองหลังคลอด และตลอดการทดลอง เท่ากับ 16.8 17.8 เปรียบเทียบ 20.9 และ 16.3 17.1 เปรียบเทียบ 19.4 กก/วัน ตามลำดับ แม่โคที่ได้รับถั่วเหลืองไขมันเต็มที่ 18% ของวัตถุแห้ง มีระดับสมดุลพลังงานเป็นลบเพิ่มขึ้น (p<0.05) เปรียบเทียบกลุ่มควบคุม ระดับความเข้มข้นของกลูโคส และ NEFA ในพลาสม่า และการพัฒนาของฟอลลิเคิลไม่มีความแตกต่างกัน (p>0.05) แต่ระดับโปรเจสเตอโรนในพลาสม่าเพิ่มขึ้น (p<0.01) ในกลุ่มควบคุม และกลุ่มที่ใช้ถั่วเหลืองไขมันเต็มที่ 18% ของวัตถุแห้ง เปรียบเทียบการใช้ถั่วเหลืองไขมันเต็มที่ 24% ของวัตถุแห้ง การใช้ไขมันในรูปเมล็ดน้ำมันจากถั่วเหลืองไขมันเต็ม เพื่อเป็นแหล่งพลังงานนั้น ไม่มีผลต่อการพัฒนาของฟอลลิเคิล ในโคนมพันธุ์ผสม แต่การใช้ถั่วเหลืองไขมันเต็มที่ 24% ของวัตถุแห้ง ทำให้ปริมาณน้ำนมเพิ่มขึ้นซึ่งงนำไปสู่ภาวะสมดุลพลังงานเป็นลบเพิ่มขึ้น ทำให้ระดับโปรเจสเตอโรนในพลาสม่าลดลง
Description: Thesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 2008
Degree Name: Master of Science
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Animal Nutrition
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14342
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1570
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.1570
Type: Thesis
Appears in Collections:Vet - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supalak_tu.pdf968.61 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.