Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14391
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเพ็ญพักตร์ อุทิศ-
dc.contributor.authorอติญา โพธิ์ศรี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2011-01-11T06:08:55Z-
dc.date.available2011-01-11T06:08:55Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14391-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en
dc.description.abstractการวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ คือ 1) เพื่อเปรียบเทียบอาการทางลบของผู้ป่วยจิตเภทก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการสนับสนุนกลุ่มครอบครัวและ 2) เปรียบเทียบอาการทางลบของผู้ป่วยจิตเภท ระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการสนับสนุนกลุ่มครอบครัวกับกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยจิตเภทจำนวน 40 คน ซึ่งได้รับการคัดเลือกตามเกณฑ์คุณสมบัติจากแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลร้อยเอ็ดและ ได้รับการจับคู่ (Matched)ด้วยระยะเวลาในการเจ็บป่วยทางจิตและระดับคะแนนอาการทางจิต แล้วถูกสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน กลุ่มทดลองได้รับการดูแลตามโปรแกรมการสนับสนุนกลุ่มครอบครัวที่ผู้วิจัย สร้างขึ้น ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรมการสนับสนุนกลุ่มครอบครัวที่พัฒนาขึ้นตามแนวคิดกลุ่มสนับสนุนครอบครัวของ McFarlane (1995) ซึ่งได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินอาการทางลบ เครื่องมือที่ใช้ในการกำกับการทดลอง คือ แบบวัดสัมพันธภาพในครอบครัว ค่าความเที่ยงของแบบประเมินอาการทางลบและแบบวัดสัมพันธภาพในครอบครัว มีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค เท่ากับ.82 และ .88 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบที (t-test) ผลการวิจัยที่สำคัญ สรุปได้ดังนี้ 1. อาการทางลบของผู้ป่วยจิตเภท หลังได้รับโปรแกรมการสนุนกลุ่มครอบครัว น้อยกว่า ก่อนได้รับโปรแกรมการสนุนกลุ่มครอบครัว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. อาการทางลบของผู้ป่วยจิตเภท กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการสนับสนุนกลุ่มครอบครัว น้อยกว่า ผู้ป่วยจิตเภทกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05en
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this quasi - experimental research were twofold: 1) to compare the negative symptoms of schizophrenic patients before and after their participation in the multiple family support groups program, and 2) to compare the negative symptoms of schizophrenic patients who participated in the multiple family support groups program and those who participated in regular caring activities. Research samples of 40 schizophrenic patients, who met the inclusion criteria, were recruited form out-patient unit, Roi-Ed hospital. They were matched according to length of mental illness and level of brief psychiatric rating score and then randomly assigned to experimental group and control group, 20 subjects in each group. The experimental group received multiple family support groups program, whereas the control groups received regular caring activities. Research instrument was the multiple family support groups program developed base on McFarlane‘s family support group concept (1995) which was validated for content validity by 5 experts. Data was collected using the negative symptoms scale. The family relationship scale was used to monitor the intervention. The reliability of negative symptoms scale and family relationship scale were reported using Chronbach‘s Alpha coefficient as of .82 and .88, respectively. The t-test was used in data analysis. Major findings were as follows: 1. The negative symptoms of schizophrenic patients after participating in the multiple family support groups program was significantly lower than that before the experiment, at the 0.5 level. 2. The negative symptoms of schizophrenic patients who participated in the multiple family support groups program was significantly lower than those schizophrenic patients who received regular caring activities, at the 0.5 level.en
dc.format.extent1382430 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1046-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectผู้ป่วยจิตเภทen
dc.subjectสุขภาพจิต-
dc.titleผลของโปรแกรมการสนับสนุนกลุ่มครอบครัวต่ออาการทางลบของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนen
dc.title.alternativeThe effect of multiple family support groups program on negative symptoms of shizophrenic patients in communityen
dc.typeThesises
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.authorPenpaktr.U@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.1046-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
atiya_po.pdf1.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.