Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14438
Title: การศึกษาการนำความรู้ทางเศรษฐศาสตร์จากกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ไปใช้ในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร
Other Titles: A study of secondary school students' application of economic knowledge from social studies, religions and culture subject areas in their daily lives, Bangkok Metropolis
Authors: ประมาณ โฆษิตตาพานิช
Advisors: วลัย พานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Walai.P@chula.ac.th
Subjects: นักเรียนมัธยมศึกษา -- ไทย -- กรุงเทพฯ
เศรษฐศาสตร์ -- แง่สังคมวิทยา -- การศึกษา
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการนำความรู้ทางเศรษฐศาสตร์จากกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ไปใช้ในชีวิตประจำวันของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร ตัวอย่างประชากรคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 469 คน จากโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพมหานคร และโรงเรียนในสังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต (X) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) แบบสัมภาษณ์วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ที่นักเรียนนำไปใช้ในชีวิตประจำวันในระดับมาก ได้แก่ ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ในเนื้อหาเรื่องการนำกลับมาใช้ใหม่และการประหยัดพลังงาน, ระบบและหลักการดำเนินงานในระบบสหกรณ์, ปรัชญาและแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง, หลักเกณฑ์ในการเลือกซื้อสินค้าและบริการ และความเข้าใจในกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค โดยมีเหตุผลที่สำคัญ คือ เพื่อรักษาสิทธิของตนเองในการเลือกซื้อสินค้าและบริการ และต้องการเป็นคนที่รู้จักพอ ส่วนความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ที่นักเรียนนำไปใช้ในชีวิตประจำวันในระดับค่อนข้างมากได้แก่ ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ในเนื้อหาเรื่องหลักเศรษฐศาตร์เบื้องต้น, แนวทางปฏิบัติของเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่, กลไกราคา และเศรษฐกิจระหว่างประเทศ โดยมีเหตุผลที่สำคัญ คือ เพื่อประหยัดเงินตนเองและประเทศชาติ และทำให้มีเงินเก็บ
Other Abstract: The purpose of this research was to study the secondary school students' application of economic knowledge from social social studies, religions and culture subject areas in their daily lives in Bangkok Metropolis. The subjects were totally 469 Mathayom Suksa Six students from the schools under the Office of the Basic Education Commission in Bangkok Metropolis and under the Office of the Private Education Commission in Bangkok Metropolis. The research instruments of this study were the questionnaire and interview forms. The data from questionnaire were analyzed by means of the percentage, arithmetic means and standard deviation. The data from interview were analyzed by content analysis. The results of this research were found that the application of economic knowledge which the students mostly applied was the content of recycling and saving the energy, the system and the principles in managing the cooperative system, the philosophy and the idea of the sufficiency economy, the principles of purchasing and understanding in the consumer protection law and their main reasons were to protect their rights in purchasing goods and services and to become a person who is sufficient. The economic knowledge that the students rather frequently applied in their daily lives was the principles of the fundamental economics, the guidelines for practice of sufficiency economy and the new theory, price mechanism and the international economy and their main reasons were to economize for benefit of themselves and the nation and to have saving money.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสอนสังคมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14438
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.773
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.773
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
pramarn.pdf1.56 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.